เรียนรู้ทักษะการรับมือกับเรื่องแย่ ๆ ผ่านหนังระทึกขวัญอันดับหนึ่งของโลก

A A
Dec 9, 2021
Dec 9, 2021
A A

        ตามการศึกษาของทีมนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัย Cambridge ทำการทดสอบกลุ่มชายหญิงที่กำลังดูภาพยนตร์ระทึกขวัญ ผลปรากฏว่า การทำงานของสมองส่วนควบคุมอารมณ์หรือ Amygdala เกิดการตื่นตัวขึ้นมาทันที ต่อมามีการสั่งการไปที่สมองส่วน Hypothalamus ส่งผลให้เกิดเป็นอาการกลัวขึ้นนั่นเอง

        ลองจินตนาการเล่น ๆว่าคุณกำลังเดินอยู่คนเดียวไปตามซอยแคบในเวลากลางคืนและคุณได้ยินเสียงอะไรบางอย่างที่ไม่สามารถระบุที่มาได้ การตอบสนองแรกของคุณของคือคิดว่าไม่ว่าเสียงนั่นจะเป็นเสียงอะไรมันจะสามารถทำร้ายคุณได้และคุณต้องเตรียมพร้อมจะตั้งรับมันทันที เพราะความกลัวเป็นอารมณ์ที่สำคัญที่สุดในแง่ของการเอาชีวิตรอด วิวัฒนาการทางสมองของเราจึงเป็นไปเพื่อตั้งรับอันตรายในสถานการณ์ที่คลุมเครือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมองที่ผ่านประสบการณ์ภาพยนตร์แนวระทึกขวัญ

The Shining
        ต้นตำรับหนังระทึกขวัญชั้นครูในตำนานจากปลายปากกานักเขียนชื่อดัง “สตีเฟ่น คิง” ได้รับคำชมจากนักวิจารณ์อย่างล้นหลามและกวาดคะแนนจากผู้ชมในเว็บไซต์ Rottentomatoes เว็บไซต์วิจารณ์หนังที่มีคุณภาพและน่าเชื่อถือที่ไปมากถึง 93% จนถูกจัดให้เป็นหนึ่งในภาพยนตร์ระทึกขวัญที่ดีที่สุดในโลก กับเรื่องราวของ แจ๊ค ทอร์แรนซ์ นักเขียนผู้เสพติดเหล้าและความรุนแรง ได้ตอบรับทำงานพิเศษเป็นผู้ดูแลโรงแรมแห่งหนึ่งบนเทือกเขาสูงช่วงฤดูหนาว มีภูมิหลังเกี่ยวกับการก่อสร้างที่ดันไปสร้างทับสุสานโบราณของชาวอินเดียนแดง ด้วยความหวังจะทำให้ครอบครัวมีสภาพคล่องทางการเงินมากขึ้น บวกกับได้มีสมาธิสำหรับงานเขียนชิ้นต่อไป ส่วน “แดนนี่” ลูกชายของแจ๊ค เป็นเด็กมีพลังวิเศษ สามารถสื่อสารกับวิญญาณของ“โทนี่”เพื่อนในจินตนการที่คอยกระซิบภัยเตือนอันตรายในรูปแบบของความฝัน หลังเข้าพักได้เพียงแค่เดือนเศษ หลายสิ่งหลายอย่างเริ่มเปลี่ยนไป พลังงานบางอย่างในโรงแรมแห่งนี้เริ่มส่งผลต่อจิตใจครอบครัวทอแรนซ์ นำไปสู่เหตุการณ์ที่เลวร้าย ด้วยความที่การเดินเรื่องสร้างความหลอกหลอนของผีเพียงน้อยนิดแต่สร้างความน่ากลัวผ่านบรรยากาศในระดับที่สะพรึงมาก ความลึกลับที่อบอวลอยู่ภายในภาพยนตร์เรื่องนี้ แสดงให้เห็นว่าความกลัวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เราสามารถอธิบายได้ไม่ได้มาจากสิ่งมีชีวิตที่ชั่วร้ายบนหน้าจอ แต่มาจากจินตนาการของเราเอง ฉากการเอาตัวรอดในสถานการณ์ต่างๆ ทำให้คนดูเกิดอาการที่เรียกว่า การรตอบสนองแบบสู้หรือหนี(Fight-or-Flight Response) คือปฏิกิริยาทางสรีระ ที่เกิดตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่รู้สึกว่าเป็นอันตราย เช่น การกัดฟัน การกริ๊ดออกมา เกิดขึ้นเมื่อเรารู้สึกถึงอันตรายจึงเกิดขึ้นระหว่างเราดูหนัง ทำให้เราตื่นเต้นและสนุกแบบไม่ต้องไปเผชิญเหตุการณ์น่ากลัวจริง ๆ

The Shining

ภาพประกอบจากหนังเรื่อง The Shining

ความผิดพลาดของตัวละคร = ส่วนผสมสำคัญ
ทำไมไม่ซ่อนให้ที่อื่น? ทำไมไม่หนีไปอีกทาง? ทำไมไม่เงียบเสียง?
การที่ตัวละครทำเรื่องผิดพลาดบ้างทำให้การดำเนินเรื่องเป็นไปอย่างมหัศจรรย์
แต่สำหรับมุมมองแบบคนดู ทำให้เรารู้สึกว่าเราฉลาดกว่า เกิดการประมวลความคิดในสมองว่าทำอย่างไรไม่ให้พลาดแบบคนเหล่านี้ สร้างโอกาสให้เราได้จินตนาการสำหรับการรับมือเหตุการณ์และความน่าจะเป็นแบบนี้ในชีวิตจริง

แล้วหนังระทึกขวัญช่วยให้เรารับมือกับเรื่องแย่ๆอย่างไร?
       งานวิจัยนี้นอกจากค้นหาจุดกำเนิดความกลัวในสมองคนแล้ว ลึกลงไปยังค้นพบว่าคนที่ชื่นชอบภาพยนตร์แนวนี้ส่วนใหญ่นี้เปรียบเทียบความสยองขวัญความระทึกขวัญเป็นกีฬาเอ็กซ์ตรีมอย่างหนึ่ง เมื่อร่างกายได้สัมผัสความหวาดเสียวจะหลั่งสาร adrenaline และ endophine ส่วนผสมสำคัญที่ทำให้ร่างกายของคุณรู้สึกดี

        ศาสตราจารย์ ฮาร์เวย์ มิลด์เมน ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาจาก Metropolitan State University มีคำอธิบายไว้ว่า ความกลัว สำหรับแฟนหนังเป็นเรื่องของความท้าทายที่น่าเอาชนะ จากการเผชิญหน้าฉากสยองขวัญแบบซ้ำแล้วซ้ำเล่าในทุกรูปแบบ สมองจะสร้างเกราะบางอย่างขึ้นมาเพื่อควบคุมความกลัวของตัวเอง หนังสยองขวัญให้เราได้เรียนรู้และจินตนาการว่าหากเกิดสถานการณ์เลวร้ายขึ้นจริง ๆเราจะหาทางออกอย่างไร เหมือนเป็นการได้เตรียมตัวล่วงหน้าไปในตัว ทำให้คนกลุ่มนี้มีทักษะการรับมือกับเรื่องแย่ๆในสถานการณ์ต่างๆในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี

       สุดท้ายแล้วภาพยนตร์ระทึกขวัญให้อะไรมากกว่าพล็อตเรื่องชวนขนลุกและจังหวะหลอนแบบสะดุ้งตุ้งแช่ มันอาจช่วยให้เราค้นพบสกิลบางอย่าง กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น ปลุกแรงบันดาลใจให้เรากล้าที่จะเผชิญความท้าทายกับการตัดสินใจเรื่องยาก ๆ ที่อาจมีผลลัพธ์อันน่ากลัว เพื่อพิสูจน์ว่าไม่มีอะไรยากเกินไปหากเราตัดสินใจมันอย่างมีสติ เช่นเดียวกับตอนจบของนิยายที่แจ๊คสามารถหวนคืนกลับสู่ภาวะปกติ สามารถขับไล่เอาชนะ ผีร้ายได้สำเร็จ

อ้างอิง
http://bitly.ws/jCgB
http://bitly.ws/jCgE
http://bitly.ws/jCjg
http://bitly.ws/jCjj

Tag

Share

Tag

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS