TCAS64 ข้อมูลการศึกษาที่รั่วไหล กับความปลอดภัยพื้นฐานที่หายไป

A A
Feb 4, 2022
Feb 4, 2022
A A

TCAS64 ข้อมูลการศึกษาที่รั่วไหล กับความปลอดภัยพื้นฐานที่หายไป

 

จากข่าวการรั่วไหลข้อมูลของระบบกลางในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยของไทยจำนวน 23,000 รายชื่อในการสอบ TCAS ซึ่งทางทปอ. เองยอมรับว่าเป็นข้อมูล TCAS64 รอบ 3 จริง ซึ่งข้อมูลที่หลุดออกมานั้น มีทั้ง ชื่อ นามสกุล ไทยอังกฤษ เลขบัตรประจำตัวประชาชน คะแนนรอบที่สมัคร โปรแกรมที่เลือกและอันดับที่วางไว้ โดยคาดว่าเป็นข้อมูลของนักศึกษาที่อยู่ปี 1 ตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ โดยผลกระทบที่ตามมาจากการรั่วไหลของข้อมูลนี้เอง โดยเฉพาะเลขบัตรประชาชนที่สามารถนำไปทำธุรกรรมต่าง ๆ รวมถึงปลอมแปลงตัวตนในการทำผิดกฎหมาย โจรกรรมทางการเงิน ข่มขู่ หรือ Blackmail เป็นต้น การพาดหัวข่าวเกี่ยวกับการละเมิดข้อมูลทางด้านความเป็นส่วนตัวมีให้เห็นบ่อย ๆ และมักมาในรูปแบบของผู้ใหญ่ที่มีรายได้แต่จริง ๆ แล้วผู้ใหญ่ไม่ใช่เป้าหมายเดียวของการขโมยข้อมูลประจำตัว เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีก็สามารถตกเป็นเหยื่อได้เช่นกัน

ทำไมการโจรกรรม TCAS64 ข้อมูลของเด็กถึงง่ายกว่า?

เด็ก ๆ ตกเป็นเป้าหมายมากขึ้นเนื่องจากข้อมูลของเด็กยากต่อการตรวจจับ โดยสามารถใช้ข้อมูลของเด็กได้ตั้งแต่แรกเกิดและนานจนกว่าที่เด็กจะรู้ว่าเขาตกเป็นเหยื่อ เพราะเด็กยังไม่ต้องใช้หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนเพื่อทำธุรกรรมใด ๆ ทำให้ไม่สามารถตรวจพบได้เป็นเวลาหลายปี จนกว่าเด็กคนนั้นจะขอสินเชื่อหรือทำธุรกรรมด้านการเงิน

ตามรายงานจาก Javelin Strategy & Research พบว่า เด็กมากกว่า 1 ล้านคน หรือ 1.48 เปอร์เซ็นต์ของเด็กตกเป็นเหยื่อของการขโมยข้อมูลส่วนตัวหรือการฉ้อโกงในปี 2560 2 ใน 3 ของผู้ได้รับผลกระทบมีอายุ 7 ปีหรือน้อยกว่า ขณะที่ 20 เปอร์เซ็นต์อยู่ในช่วงอายุ 8 ถึง 12 ปี นอกจากนี้ยังมีข้อมูลที่น่าตกใจจาก GIZMODO พบว่าการโจรกรรมข้อมูลในเด็กมีความเสียหายมากกว่า 2.6 พันล้านดอลลาร์ในปี 2560 และค่าใช้จ่ายของเหตุการณ์เหล่านี้มากกว่า 540 ล้านดอลลาร์ ในขณะที่เหตุการณ์การโจรกรรมข้อมูลนี้มีเหยื่อที่เป็นผู้ใหญ่เพียง 7% และเกิดขึ้นกับเด็กมากถึง 60%

เปอร์เซ็นต์ของเด็กตกเป็นเหยื่อของการขโมยข้อมูลส่วนตัว

เรากำลังตกเป็นส่วนหนึ่งในการโจรกรรมข้อมูลของเด็ก ๆ อยู่รึเปล่า?

รายงานจาก Javelin Strategy & Research พบว่าเด็ก 6 ใน 10 คนที่ตกเป็นเหยื่อรู้จักกับผู้กระทำความผิด ซึ่งหมายความว่าอาจเป็นคนในครอบครัวหรือคนใกล้ชิดกับเด็กเอง อาจจะเป็นผู้เปิดเผยข้อมูลเหล่านี้ในแบบที่ไม่ได้ตั้งใจก็เป็นได้ เนื่องจากมีข้อมูลได้ระบุว่า ผู้ปกครองและเด็กประมาณ 6 ล้านคนแชร์ข้อมูลที่ไม่เหมาะสมเป็นประจำในแต่ละปี ประเด็นอยู่ตรงนี้ เราได้เผอเรอหรือป้องกันข้อมูลของเด็ก ๆ หรือ ลูก ๆ ของเรามากแค่ไหน

  • จำได้ไหมว่าคุณอ่าน (และทิ้ง) จดหมายที่มีข้อมูลระบุชื่อลูก ๆ ของคุณไว้ที่ไหน คุณควรระมัดระวังและทำลายทุกอย่างที่ส่งถึงคุณหรือเด็ก ๆ ก่อนทิ้ง ไม่ว่าจะเป็นบิลเรียกเก็บเงินหรือเอกสารจดหมายใด ๆ ที่ระบุชื่อลูก ๆ ของคุณ
  • คุณเคยตรวจสอบการใช้โซเชียลมีเดียทั้งของตัวคุณเองหรือของลูก ๆ คุณบ้างรึเปล่า ผู้ปกครองควรตรวจสอบการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของโซเชียลมีเดียสำหรับทั้งบัญชีตนเองและบัญชีของเด็ก ๆ นอกจากนี้เรื่องภายในครอบครัวเป็นสิ่งที่ไม่ควรแชร์อย่างเป็นสาธารณะ และไม่ควรเปิดเผยชื่อเต็ม วันเกิด หมายเลขโทรศัพท์ หรือที่อยู่บ้านทางออนไลน์ ควรหมั่นเปลี่ยนรหัสผ่านทั้งหมดที่ใช้อยู่เป็นระยะ
  • คุณเคยตั้งค่าซอฟต์แวร์ หรือ คอมพิวเตอร์ของคุณบ้างไหม เราควรดูแลการเข้าถึงคอมพิวเตอร์ติดตั้งซอฟต์แวร์เพื่อป้องกันแฮกเกอร์ หลีกเลี่ยงการเก็บข้อมูลที่สำคัญบนคอมพิวเตอร์ของคุณหรือควรมีการเข้ารหัสในการเข้าถึงข้อมูล
  • มีใครรู้รหัสผ่านการเข้า Smartphone ของคุณบ้าง ใช้ smartphone อย่างระมัดระวัง โดยตั้งรหัสผ่าน ติดตั้งแอปที่มีตัวติดตาม GPS หรือตัวลบข้อมูลระยะไกลที่สามารถล้างข้อมูลใด ๆ ที่จัดเก็บไว้ในอุปกรณ์
  • ลูก ๆ ของคุณมีความรู้เกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวบนโลกออนไลน์มากแค่ไหน ให้ความรู้เด็ก ๆ เกี่ยวกับพฤติกรรมออนไลน์เมื่อพวกเขาโตขึ้น ทั้งเรื่องความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ ตั้งกฎเกณฑ์สำหรับข้อมูลที่ไม่สามารถแบ่งปันทางออนไลน์ได้ สอนวิธีการรับมือเมื่อถูกขอให้แชร์ข้อมูลส่วนบุคคลทางออนไลน์หรือต่อหน้าในแบบที่สุภาพ

 

อ้างอิง
https://www.lifelock.com/learn/identity-theft-resources/child-identity-theft-facts-you-need-to-know
https://us.norton.com/internetsecurity-id-theft-child-identity-theft-what-parents-need-to-know.html
https://www.cnbc.com/2018/04/24/child-identity-theft-is-a-growing-and-expensive-problem.html
https://www.sas.com/en_hk/news/press-releases/2020/september/sas-helps-promote-child-Identity-theft-awareness.html
https://www.beartai.com/news/it-thai-news/937457
https://www.parents.com/kids/safety/other-safety-issues/how-to-protect-your-childs-identity/

Tag

Share

Tag

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS