เมื่อโรงเรียนเปิด!

A A
Nov 2, 2021
Nov 2, 2021
A A

วันแรกของการเปิดเรียนคือความหวังที่ทุกคนต่างก็ตั้งตารอคอย 

เพราะนั่นหมายถึงสัญญาณที่ดีของวิกฤติในประเทศ 

และยังหมายถึงอนาคตด้านการศึกษา อารมณ์ และสังคมของเด็กในแต่ละช่วงวัย 

และเมื่อแต่ละคนต้องเผชิญกับความท้าทายของการเรียนรู้ที่ขาดหายไปในช่วงเรียนออนไลน์ 

โรงเรียนหลายแห่งจึงอยากหาวิธีแก้ไขเพื่อไล่ตามความรู้ที่เด็ก ๆ ขาดไปให้ทัน 

 

ในรายงาน The Acceleration Imperative ซึ่งเป็นรายงานที่เผยแพร่โดย Fordham Institute นักวิจัยแนะนำว่าโรงเรียนควรเน้นที่การเรียนรู้แบบเร่งรัดมากกว่าการแก้ไขความรู้ที่ขาดหายไป โดยมีหลักการเบื้องต้นดังนี้

  1. เด็กเล็กควรได้รับการขยายเวลาในการเรียนรู้ เพิ่มการสอนพิเศษ และการดูแลด้านสุขภาพจิตที่เพิ่มขึ้น
  2. เพิ่มความช่วยเหลืออื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้หลักในโรงเรียน เช่น หลักสูตรเสริมอื่น ๆ ที่มีคุณภาพและสภาพแวดล้อมที่เอื้อในการเรียนรู้
  3. ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ในห้องเรียน และมีคุณภาพในทุก ๆ วิชา ไม่ว่าจะเป็น ศิลปะ ภาษา คณิตศาสตร์ หรือวิชาอื่น ๆ

     โรงเรียนต้องกำหนดเป้าหมายสำหรับนักเรียนแต่ละคน การสอนตัวต่อตัวเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับเด็กบางคนที่เรียนไม่ทันเพื่อน แต่อย่างไรก็ตามประสบการณ์การเรียนรู้ในห้องเรียนก็ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับนักเรียนในแต่ละวัน ดังนั้นครูจึงจำเป็นต้องเร่งประสิทธิภาพการสอนให้นักเรียนเข้าใจได้ง่ายที่สุด

     ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมามีโมเดลหนึ่งชื่อว่า ศาสตร์แห่งการเรียนรู้ cognitive science  เป็นศาสตร์ที่เอาใจใส่ต่อกระบวนการที่ซ่อนอยู่ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ที่ยั่งยืน เช่น การตั้งคำถาม ปรับปรุง และการประเมิน โดยนำแนวความคิดเหล่านี้มาช่วยเสริมสร้างความจำและการตั้งคำถามเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ โดยมีวิธีการดังนี้

การฝึกดึงข้อมูลเพื่อเสริมการเรียนรู้ 

     แนวคิดนี้ไม่ได้เน้นที่วิธีที่ครูส่งข้อมูลเข้าสู่สมองของนักเรียน แต่เน้นที่วิธีที่นักเรียนดึงข้อมูลออกจากสมองของตัวเอง เช่น ทำแบบทดสอบหรือบัตรคำ บัตรภาพ เพราะนักเรียนจะใช้ความจำมากขึ้นเมื่อพยายามดึงข้อมูล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ให้กับนักเรียน เมื่อครูพยายามดึงข้อมูลหรือการถามย้อนเวลา จะช่วยให้สมองด้านการจดจำของเด็กพัฒนาขึ้น เพราะสมองทำงานเหมือนกล้ามเนื้อ การฝึกบ่อย ๆ จะทำให้สมองในส่วนนั้นแข็งแรงมากยิ่งขึ้น กิจกรรมการดึงข้อมูลจะสร้างนิสัยที่นำไปสู่การเรียนรู้ในระยะยาว ในแต่ละสัปดาห์ให้ครูถามคำถามนักเรียน 3-5 คำถามเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียนไปก่อนหน้า ท้าทายให้นักเรียนจำสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เดือนที่แล้ว หรือแม้แต่ต้นปี แบบทดสอบสั้น ๆ จะช่วยให้ครูเร่งการเรียนรู้โดยเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดึงความรู้ที่พึ่งเรียนไปก่อนหน้านี้ขึ้นมาใช้ ส่งผลให้การเรียนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ถามคำถามเชิงลึก

     การวิจัยของ Rosenshine ชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่ทำให้การสอนมีประสิทธิภาพและได้ผลมากที่สุด คือ ใช้เวลามากกว่าครึ่งของชั้นเรียนในการถามคำถามเพื่อพิจารณาว่านักเรียนได้เรียนรู้บางสิ่งได้ดีเพียงใด การเรียนการสอนที่ดีคือการสอนที่สามารถให้นักเรียนอธิบายกระบวนการวิธีการคิดที่ใช้ในการตอบคำถามได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การให้นักเรียนอธิบายวิธีคิดที่มาของคำตอบนั้นสำคัญพอ ๆ กับการถามนักเรียนว่า คำตอบคืออะไร

     ในการศึกษาทดลองในห้องเรียนแห่งหนึ่งพบว่า การให้นักเรียนถามคำถามระหว่างการเรียน ผลการทดสอบพบว่า นักเรียนที่ได้ฝึกถามคำถามบ่อย ๆ ได้คะแนนสูงกว่า นักเรียนที่ไม่ได้ถามคำถามเลย

     จุดประสงค์ของกระบวนการนี้คือเพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง และเพื่อให้ครูเห็นว่านักเรียนมีความเข้าใจมากน้อยเพียงใด หรือครูอาจจะต้องสอนเนื้อหาบางอย่างซ้ำเพิ่มเติมหากจำเป็น นอกจากนี้ยังเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มาของคำตอบระหว่างกัน หรือครูสามารถสอดแทรกเกมเพื่อเพิ่มความสนุกในการเรียนมากยิ่งขึ้น นอกจากเทคนิคการตั้งคำถามสามารถนำเครื่องมืออื่น ๆ เข้ามามีส่วนร่วม เช่น กระดานไวท์บอร์ด หรือเครื่องมือออนไลน์อย่าง Kahoot  และ  Plickers ก็สามารถทำให้นักเรียนทุกคนในห้องมีส่วนร่วมกับคำถามได้เหมือนกัน

     เมื่อโรงเรียนกลับมาเปิดได้อีกครั้ง อาจไม่ได้หมายถึงการเรียนการสอนทั่วไปแบบที่เคยสอนมาอีกแล้ว ทั้งนักเรียนและครูอาจต้องทำการบ้านอย่างหนัก ในการเผชิญปัญหาจากการหยุดเรียนนาน 1 ปี  ครูควรสร้างประสบการณ์เรียนรู้ที่ดีให้แก่เด็ก ๆ เพื่อให้พวกเขารู้สึกได้รับความเอาใจใส่ การดูแลเหมือนเดิมอีกครั้งหนึ่ง รวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ดีเพื่อการเรียนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

อ้างอิง

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS