“การเงิน” สิ่งขับเคลื่อนประเทศแต่กลับเป็นวิชาที่ถูกละเลย

A A
Jun 1, 2022
Jun 1, 2022
A A

“การเงิน” สิ่งขับเคลื่อนประเทศแต่เป็นวิชาที่ถูกละเลย

 

 

ตอนเด็ก ๆ เราทุกคนวางแผนการเงินกันบ้างไหม ? แล้วเราเริ่มเรียนสิ่งนี้กันเมื่อไหร่ ? ใครจะไปคิดว่าเด็ก ๆ ควรจะวางแผนทางด้านการเงินในเมื่อเขาเองก็ยังไม่จำเป็นจะต้องเริ่มลงทุนหรือทำธุรกรรมทางการเงินใด ๆ

 

 

  • การโตของหนี้นอกระบบหยั่งรากลึกลงในประเทศไทยมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำเพิ่มมากขึ้น การให้ความรู้ทางการเงินตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะให้ลดช่องว่างทางความเหลื่อมล้ำ เป็นเกราะป้องกัน และเป็นการวางแผนกับอนาคตที่ความเสี่ยงทางการเงินที่จะเพิ่มมากขึ้น
  •  รัฐฟลอริดาได้ประกาศให้กำหนดหลักสูตรความรู้ทางการเงินสำหรับการศึกษาระดับมัธยมปลาย โดยบังคับใช้เป็นกฎหมายโดยบังคับให้นักเรียนที่เข้าเรียนในเกรด 9 ในปีการศึกษา 2566-2567 ต้องเรียนหลักสูตรการเงินส่วนบุคคลครึ่งหน่วยกิตก่อนที่จะสำเร็จการศึกษาอังกฤษ ไอร์แลนด์เหนือ สกอตแลนด์ เวลส์ ได้มีการศึกษาด้านการเงินรวมอยู่ในหลักสูตรระดับชาติในโรงเรียน เช่นกัน
  • การศึกษาทางการเงินสามารถรวมเข้ากับหลักสูตรที่มีอยู่ของโรงเรียนได้ เพื่อให้เด็ก ๆ ได้สนุกกับชีวิตและรู้เท่าทันการใช้เงินอย่างปลอดภัย สามารถผนวกเข้ากับชีวิตประจำวันของนักเรียนเพื่อให้เขาจัดการรายได้ของตนเอง 

 

เมื่อการเงินเป็นตัวขับเคลื่อนประเทศ แล้วเรามีความรู้เรื่อง “การเงิน”มากแค่ไหน ?

        ตอนเด็ก  ๆ เราทุกคนวางแผนการเงินกันบ้างไหม ? แล้วเราเริ่มเรียนสิ่งนี้กันเมื่อไหร่ ? ใครจะไปคิดว่าเด็ก ๆ ควรจะวางแผนทางด้านการเงินในเมื่อเขาเองก็ยังไม่จำเป็นจะต้องเริ่มลงทุนหรือทำธุรกรรมทางการเงินใด ๆ แต่อายุอาจไม่สำคัญอย่างที่เราคิดอีกต่อไปเมื่อโลกเปลี่ยนไป  AI เข้ามามีบทบาททางการเงินมากขึ้น พวกเขาสามารถเข้าถึงการทำธุรกรรมได้อย่างรวดเร็ว และยิ่งในยุคนี้เด็ก ๆ เองก็สามารถสร้างสรรค์ผลงานของตัวเองได้ผ่านช่องทางออนไลน์และเริ่มหารายได้ได้เร็วขึ้น ประกอบกับวิกฤติที่ถาโถมทั้งโรคระบาด สงครามระหว่างประเทศ ภาวะเงินเฟ้อพุ่งทะยานอย่างรวดเร็ว การโจรกรรมมาในรูปแบบที่หลากหลาย เด็กในอนาคตอาจต้องเจอกับความซับซ้อนทางการเงินมากขึ้น ความผันผวนทางการเงินที่ไม่แน่นอนยากคาดเดา การเริ่มสอนการวางแผนทางการเงินในมหาวิทยาลัยหรือสอนเฉพาะคนที่สนใจอาจเป็นวิธีคิดที่สายไป จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่าหนี้นอกระบบของภาคครัวเรือนไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2021 เท่ากับ 8.5 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงก่อน COVID-19 ในปี 2019 อยู่ที่ 4.8 หมื่นล้านบาท ข้อมูลนี้ยังไม่ได้รวมกับหนี้ที่อยู่นอกระบบที่ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ซึ่งแน่นอนว่ามีเป็นจำนวนมาก เมื่อโควิดกินระยะเวลายาวนานแน่นอนว่าการโตของหนี้นอกระบบยังยิ่งโตและหยั่งรากลึกลงในประเทศไทยมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำเพิ่มมากขึ้น การให้ความรู้ทางการเงินตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะให้ลดช่องว่างทางความเหลื่อมล้ำ เป็นเกราะป้องกัน และเป็นการวางแผนกับอนาคตที่ความเสี่ยงทางการเงินที่จะเพิ่มมากขึ้น

 

การเงินมีผลต่อทุกประเทศไม่เว้นประเทศมหาอำนาจ

จากผลสำรวจพบว่าชาวอเมริกันเกือบครึ่งไม่มีเงินสดเพียงพอสำหรับกรณีฉุกเฉินเช่น การถูกเลิกจ้างหรือเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ การไม่มีเงินออมใด ๆ จะส่งผลเสียเมื่อเวลานั้นมาถึง 1ใน 3 ของชาวอเมริกันไม่มีเงินออมเพื่อการเกษียณ 23% มีเงินเก็บน้อยกว่า 10,000 ดอลลาร์ จึงส่งผลให้เมื่อไม่นานมานี้ที่สหรัฐอเมริกา รัฐฟลอริดาได้ประกาศให้กำหนดหลักสูตรความรู้ทางการเงินสำหรับการศึกษาระดับมัธยมปลาย โดยบังคับใช้เป็นกฎหมายโดยบังคับให้นักเรียนที่เข้าเรียนในเกรด 9 ในปีการศึกษา 2566-2567 ต้องเรียนหลักสูตรการเงินส่วนบุคคลครึ่งหน่วยกิตก่อนที่จะสำเร็จการศึกษา ผู้ว่าการรัฐฟลอริดา Ron DeSantis ได้กล่าวว่าความรู้ทางการเงินสามารถเป็นพื้นฐานสำหรับนักเรียนเพื่อไปปรับใช้ในชีวิตได้จริง ๆ ไม่ว่าพวกเขาจะเดินไปทางไหนเข้าเรียนคณะอะไรไม่ว่าจะเป็น ศิลปะหรือทหาร นักเรียนทุกคนสมควรได้รับการศึกษาและความรู้เพื่อเป็นรากฐานสำหรับนักเรียนในการเรียนรู้พื้นฐานของการจัดการเงิน ทำความเข้าใจเกี่ยวกับหนี้ และพื้นฐานการลงทุน Yanely Espinal ผู้อำนวยการฝ่ายการศึกษาของ Next Gen Personal Finance กล่าวว่า “โลกของเงินกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว หากเราไม่ช่วยให้นักเรียนของเราตามทัน คนรุ่นต่อไปก็จะวนเวียนซ้ำวงจรของการขาดความรู้ทางการเงินต่อไป”

ภาพประกอบจาก https://www.cnbc.com/

การศึกษาโดยสภาการศึกษาเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาพบว่ามีเพียง 21 รัฐทั่วสหรัฐฯ ที่สอนวิชาการเงินส่วนบุคคลแยกต่างหากตามข้อกำหนดสำหรับการสำเร็จการศึกษา เนื่องจากโรงเรียนของรัฐไม่ได้สอนเรื่องการเงินส่วนบุคคล วิธีเดียวที่นักเรียนจะเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการเงินก็คือจากพ่อแม่ แต่การหวังว่าพ่อแม่จะสอนลูก ๆ ในเรื่องที่ซับซ้อนเหล่านี้ก็อาจจะยากไป นอกจากนี้ ผู้ปกครองหลายคนอาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะจัดงบประมาณหรือจัดการเงินอย่างไร

 

นโยบายการศึกษาด้านการเงินของสหราชอาณาจักร

อังกฤษ

การศึกษาด้านการเงินรวมอยู่ในหลักสูตรระดับชาติในโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยเป็นส่วนหนึ่งของวิชาพลเมืองและคณิตศาสตร์ เป็นการสอนนักเรียนเกี่ยวกับหน้าที่และการใช้เงิน การจัดทำงบประมาณ การจัดการความเสี่ยง เครดิตและหนี้สิน การประกันภัย การออมและเงินบำนาญ การใช้คณิตศาสตร์กับบริบททางการเงิน (เช่น การคำนวณดอกเบี้ย) การคำนวณค่าเงินปอนด์ 

ไอร์แลนด์เหนือ

ในไอร์แลนด์เหนือ ความสามารถทางการเงินรวมอยู่ในหลักสูตรระดับชาติตั้งแต่อายุ 4 ถึง 14 ปี เมื่ออายุ 11 ปีนักเรียนควรจะสามารถคำนวณด้วยเงินได้ และได้เรียนรู้เกี่ยวกับการรักษาเงินให้ปลอดภัย การจัดทำงบประมาณ การออม การวางแผนล่วงหน้า และการเลือกใช้จ่ายเงิน เมื่ออายุ 14 ปี นักเรียนควรแสดงความสามารถทางการเงินในบริบทประจำวัน โดยใช้ทักษะทางคณิตศาสตร์เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการเงินส่วนบุคคลและการตัดสินใจทางการเงินนอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบของการศึกษาทางการเงินที่สอดแทรกไว้ในวิชาระดับมัธยมศึกษาอื่น ๆ เช่น ภาษาหรือดนตรี

สกอตแลนด์

ในสกอตแลนด์ ความสามารถทางการเงินรวมอยู่ในหลักสูตรขั้นการศึกษาทั่วไปสำหรับนักเรียนอายุ 3 ปี ถึง 14 ปี เมื่ออายุ 11 ปีเด็ก ๆ ควรมีความตระหนักรู้ถึงวิธีการใช้เงิน คำนวณการเปลี่ยนแปลง จัดการเงิน งบประมาณ และเปรียบเทียบค่าใช้จ่าย และเข้าใจต้นทุน อายุ 14 ปี พวกเขาควรได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณขั้นสูง เครดิตและหนี้สิน รายได้และภาษี และการเปรียบเทียบและเลือกผลิตภัณฑ์การเงินส่วนบุคคล และยังแทรกเรื่องการเงินในวิชาสังคมศึกษาที่เกี่ยวข้องกับร้านค้า การบริการ การค้าขายอย่างมีจริยธรรมอีกด้วย

เวลส์

ในเวลส์การศึกษาด้านการเงินรวมอยู่ในหลักสูตรทั้งในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โดยเป็นส่วนหนึ่งของวิชาคณิตศาสตร์และPersonal and Social Education เมื่อจบชั้นประถมศึกษานักเรียนควรเรียนรู้การคำนวณโดยใช้เงินเปรียบเทียบค่าใช้จ่าย วางแผนติดตามเงินและเงินออม คำนวณกำไรขาดทุน และประเมินความคุ้มค่า อายุ 16 ปี เด็ก ๆ ควรรู้เกี่ยวกับสกุลเงินและอัตราแลกเปลี่ยนที่แตกต่างกัน สามารถคำนวณที่ซับซ้อนมากขึ้น เปรียบเทียบและเลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงิน และได้ฝึกฝนการจัดการงบประมาณของครัวเรือน

ประเทศไทยเองปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูงถึงร้อยละ 89.3 ต่อ GDP ในไตรมาส 3 ปี 2564 พร้อมกับครัวเรือนไทยมีเงินออมที่ลดลงจากผลกระทบทางด้านโควิด ซึ่งการสร้างความตระหนักรู้ทางด้านการเงินเป็นเรื่องสำคัญ รวมถึงควรให้ความรู้และฝึกวินัยทางด้านการเงินเพื่อไม่ให้ติดกับดักในการสร้างหนี้และใช้จ่ายเงินเกินตัว 

การเงินเป็นทักษะชีวิตที่จำเป็น

เมื่อเงินเกี่ยวข้องกับทุกอย่าง วันหนึ่งเด็ก ๆ จะถูกผลักเข้าสู่โลกที่ทุกย่างก้าวต้องอาศัยทักษะการจัดการทางการเงิน เงินล้วนมีบทบาทสำคัญในแต่ละเหตุการณ์ในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นของที่กิน ของใช้ ไปเที่ยวกับเพื่อน หรือต่อรองราคา พวกเขาต้องเผชิญกับการตัดสินใจทางการเงินในทุกวัน แต่เด็ก ๆ ยังขาดประสบการณ์และการตัดสินใจเรื่องนี้ ทักษะทางการเงินจะมีผลต่อทัศนคติในการใช้ชีวิตของพวกเขาเมื่อพวกเขาโตขึ้น และการขาดความรู้ทางการเงินก็มีผลที่เจ็บปวดไม่น้อยเพราะเงินเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของความเครียดสำหรับผู้ใหญ่ ทุกคนสามารถเกี่ยวข้องกับความเครียดนี้ได้ แม้แต่คนที่ร่ำรวยที่สุดก็มีความเครียดด้านการเงิน นอกจากนี้ปัญหาทางการเงินอาจนำไปสู่การหย่าร้าง สุขภาพจิต ล้มละลาย และถึงแก่ชีวิต สำหรับประเทศไทยเองปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูงถึงร้อยละ 89.3 ต่อ GDP ในไตรมาส 3 ปี 2564 พร้อมกับครัวเรือนไทยมีเงินออมที่ลดลงจากผลกระทบทางด้านโควิด ซึ่งการสร้างความตระหนักรู้ทางด้านการเงินเป็นเรื่องสำคัญ รวมถึงควรให้ความรู้และฝึกวินัยทางด้านการเงินเพื่อไม่ให้ติดกับดักในการสร้างหนี้และใช้จ่ายเงินเกินตัว

 

ความรู้ทางการเงินนำไปสู่ชีวิตที่ดีขึ้น

การส่งเสริมนิสัยการออมที่ดีจะทำให้รู้จักในการดูแลรายจ่าย ตระหนักถึงการเงินที่มีอยู่และนำไปสู่การตัดสินใจในการใช้จ่ายที่ดีขึ้นการตัดสินใจทางการเงินที่ชาญฉลาดส่งผลดีต่อทั้งชีวิต เช่น การงาน การขอบัตรเครดิต  ซื้อบ้านหรือรถยนต์ การมีเงินไว้ใช้ยามฉุกเฉินหรือเกษียณอายุ จากผลสำรวจของชาวอเมริกันพบว่า 63% คิดว่าการศึกษาด้านการเงินส่วนบุคคลควรได้รับการสอนในโรงเรียน โดยควรเริ่มตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา แต่คนส่วนใหญ่จากการศึกษาพบว่าพวกเขาศึกษาเรื่องการเงินด้วยตัวเอง 41% ขณะที่ 37% บอกว่าพ่อแม่สอนเรื่องการเงิน เพียง 12% ที่บอกว่าเรียนเรื่องการเงินจากครู

วิธีการรวมการศึกษาทางการเงินเข้ากับหลักสูตรที่มีอยู่

การศึกษาทางการเงินสามารถรวมเข้ากับหลักสูตรที่มีอยู่ของโรงเรียนได้ เพื่อให้เด็ก ๆ ได้สนุกกับชีวิตและรู้เท่าทันการใช้เงินอย่างปลอดภัย สามารถผนวกเข้ากับชีวิตประจำวันของนักเรียนเพื่อให้เขาจัดการรายได้ของตนเอง 

    • เริ่มเร็ว ทัศนคติของเด็กเกี่ยวกับเงินนั้นพัฒนาได้ดีเมื่ออายุเจ็ดขวบ ดังนั้น ควรนำการเรียนรู้เกี่ยวกับเงินมาอยู่ในการสอนตั้งแต่ก่อนวัยเรียนขึ้นไป
    • นำการเรียนรู้ไปปฏิบัติ การให้นักเรียนมีการผสมผสานระหว่างการเรียนรู้ในชั้นเรียนและจากประสบการณ์เพื่อให้มีประสิทธิภาพที่สุดใช้ประโยชน์จากกิจกรรมประจำวัน โดยในโรงเรียนสามารถจัดตั้งธนาคารออมสินของโรงเรียน สนับสนุนนักเรียนในการเปิดบัญชีธนาคาร หรือให้โอกาสเด็ก ๆ จัดการงบประมาณ
    • ให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม เช่นเดียวกับในด้านอื่น ๆ ของการเรียน การเรียนรู้ในโรงเรียนจะประสบความสำเร็จมากที่สุดเมื่อผู้ปกครองมีส่วนร่วมด้วย ควรสนับสนุนให้นักเรียนและผู้ปกครองเรียนรู้ร่วมกันที่บ้าน หรือพ่อแม่ควรให้ข้อมูลด้าน ๆ อื่น ๆ เพื่อให้พวกเขาเรียนรู้ตัดสินใจใช้จ่ายอย่างชาญฉลาด และเป็นแบบอย่างพฤติกรรมด้านการเงินที่ดี

 

 

อ้างอิง
https://www.forbes.com/sites/lizfrazierpeck/
https://www.cnbc.com/2022/03/23/
https://www.foxbusiness.com/lifestyle/
https://thedailycougar.com/2022/01/13/personal-finance-classes-should-be-taught-in-high-school/ bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_1Mar2022.aspx
https://www.fincap.org.uk/en/articles/schools

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS