IKEA Effect ยิ่งยากยิ่งสร้างคุณค่า
- IKEA Effect นักวิจัยได้พบว่าผู้คนให้ความสำคัญกับสิ่งที่พวกเขามีส่วนร่วมในการสร้าง ซึ่งหลักคิดนี้ได้นำมาถูกใช้ในห้องเรียนเช่นกัน ครูสามารถใช้ IKEA Effect เพิ่มความเป็นเจ้าของการเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้เป็นคนตัดสินการเรียนรู้ ปล่อยให้เด็ก ๆ ได้วางแผนเพื่อบรรลุเป้าหมายได้
- IKEA Effect ที่จะทำให้เรามีความสุขกับการเรียนรู้ได้โดยผู้เรียนมีสิทธิ์ที่จะแสวงหาสิทธิเสรีภาพในการเรียนรู้รวมถึงวิธีการสร้างให้เกิดการเรียนรู้นั้น
- ในห้องเรียนไม่ควรทำอะไรที่ง่ายเกินไป ครูต้องทำให้ชั้นเรียนของครูรู้สึกเหมือนกำลังทำงานอยู่ แต่ก็อย่าทำให้งานยากเกินไป ให้มุ่งเป้าไปที่ระดับความท้าทายที่กำลังพอดีคล้ายการต่อเฟอร์นิเจอร์ของ IKEA
เราภูมิใจมากแค่ไหนเมื่อได้ทำอะไรด้วยตัวเอง ? Michael Norton Daniel Mochon และ Dan Ariely นักวิชาการและนักวิจัยชื่อดัง จึงได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับปรากฏการณ์ ‘IKEA Effect’ ใช่แล้วเรากำลังพูดถึงเฟอร์นิเจอร์ IKEA ที่ให้ผู้บริโภคเลือกซื้อส่วนประกอบต่าง ๆ ด้วยตัวเอง และนำมาประกอบสร้างเป็นเฟอร์นิเจอร์เอง นักวิจัยได้พบว่าผู้คนให้ความสำคัญกับสิ่งที่พวกเขามีส่วนร่วมในการสร้าง ซึ่งหลักคิดนี้ได้นำมาถูกใช้ในห้องเรียนเช่นกัน ครูสามารถใช้ IKEA Effect เพิ่มความเป็นเจ้าของการเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้เป็นคนตัดสินการเรียนรู้ ปล่อยให้เด็ก ๆ ได้วางแผนเพื่อบรรลุเป้าหมายได้
IKEA Effect คืออะไร
หากคุณเคยประกอบเฟอร์นิเจอร์สักชิ้นต่อให้มันไม่สมบูรณ์แบบ คุณก็จะให้คุณค่ากับสิ่งที่คุณทำ สิ่งนี้เรียกว่าIKEA Effect ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเราเห็นคุณค่าของสิ่งที่เราผลิตและคาดหวังให้ผู้อื่นมองมันในลักษณะเดียวกัน หากผนวกเข้ากับการเรียนรู้ IKEA Effect นับว่าเป็นวิธีการที่น่าสนใจในการที่จะให้เด็ก ๆ ได้เป็นผู้ตัดสินใจว่าพวกเขาจะต้องทำอย่างไรกับการเรียนรู้นั้น
Jennifer Davis Poon ได้เขียนไว้ใน Education Reimagined ว่าองค์ประกอบหลัก 4 ข้อจาก IKEA Effect ที่จะทำให้เรามีความสุขกับการเรียนรู้ได้โดยผู้เรียนมีสิทธิ์ที่จะแสวงหาสิทธิเสรีภาพในการเรียนรู้รวมถึงวิธีการสร้างให้เกิดการเรียนรู้นั้น
องค์ประกอบของ IKEA Effect มีอะไรบ้าง
1.การตั้งเป้าหมาย
IKEA Effect ทำให้ผู้คนให้ความสำคัญกับเป้าหมาย หรือ ภารกิจที่ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ครูสามารถช่วยให้นักเรียนตั้งเป้าหมายออกแบบเส้นทางการเรียนรู้ ส่งเสริมให้พวกเขารู้ถึงจุดอ่อนจุดแข็ง ให้โอกาสเด็ก ๆ ในการพัฒนาฝึกฝน เพื่อให้พวกเขาได้เป็นเจ้าของการเรียนรู้ของตนเอง การกำหนดเป้าหมายที่สำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาต้องทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
2.เริ่มต้นทำ
เมื่อกำหนดเป้าหมายแล้ว การเริ่มลงมือทำจะช่วยให้นักเรียนมีทางเลือกหรือโอกาสในการหาวิธีที่จะบรรลุเป้าหมายของนักเรียน โดยครูสามารถเริ่มสอนกลยุทธ์ในการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ เช่น การจดบันทึก การฝึกซ้อมและอื่นๆ ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์โดยการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เพิ่มประสิทธิภาพแรงจูงใจและการมีส่วนร่วม ครูสามารถช่วยให้นักเรียนพัฒนาการเรียนรู้ และตัดสินใจด้วยตัวเอง
วิธีที่ครูสามารถให้นักเรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้ของพวกเขาได้:
เวลา: ให้เวลาเด็ก ๆ ให้พวกเขาได้ตัดสินใจว่าเวลาใดที่พวกเขาจะทำงาน และเรียนรู้อย่างปลอดภัย
งาน: อนุญาตให้เด็ก ๆ เลือกงานที่พวกเขาต้องการจะทำ
เทคนิค: หาเทคนิคที่ให้พวกเขาได้เป็นเจ้าของการเรียนรู้
ทีม: การเรียนรู้บางอย่างการทำงานเป็นทีมอาจจะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ให้เด็ก ๆ ได้
นอกจากนี้การสอนให้เด็ก ๆ หัดจดบันทึกเพื่อให้เขาได้เห็นความก้าวหน้าที่พวกเขาทำไป เพื่อให้พวกเขาได้เห็นจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ชัดเจนขึ้น
3.การสะท้อนการเรียนรู้
การเรียนรู้ไม่ได้จบลงเมื่อการเรียนรู้นั้นเสร็จสิ้น การสะท้อนการเรียนรู้นั้นรวมไปถึงโอกาสในการได้รับคำติชม โดยการให้การสะท้อนการเรียนรู้หรือ feedback นั้นต้องเชื่อมโยงกับบทเรียน ความเป็นเจ้าของการเรียนรู้จะช่วยให้เขาสะท้อนการเรียนรู้นี้เช่น เพื่อนประเมินเพื่อน การสะท้อน feedback ด้วยคำพูด
เพื่อเป็นโอกาสที่จะมุ่งเน้นไปที่วิธีการประเมินประสิทธิภาพ เพื่อให้เขาได้พัฒนาการเรียนรู้ไปสู่เป้าหมายที่ใหญ่ขึ้น การสะท้อนการเรียนรู้นี้จะเป็นการสร้างทักษะเชิงวิพากษ์อีกด้วย
4.การตระหนักรู้ในตนเอง
นักเรียนที่มีความตระหนักการเรียนรู้ในตัวเองต่ำ จะมองเห็นว่าตัวเองไม่มีความสามารถในการเรียนรู้ของตัวเอง แต่หากนักเรียนเข้าใจว่าพวกเขาไม่ได้เกิดมา “ฉลาด” หรือ “โง่” แต่ทุกอย่างสามารถพัฒนาได้ เด็ก ๆ จะทุ่มเทความพยายามเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จมากขึ้น ครูควรช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ของนักเรียนผลวิธีการที่หลากหลาย เพื่อให้เด็ก ๆ ได้แสดงความเชี่ยวชาญในการเรียนรู้ของตนเอง
ในห้องเรียนไม่ควรทำอะไรที่ง่ายเกินไป ครูต้องทำให้ชั้นเรียนของครูรู้สึกเหมือนกำลังทำงานอยู่ แต่ก็อย่าทำให้งานยากเกินไป ให้มุ่งเป้าไปที่ระดับความท้าทายที่กำลังพอดีคล้ายการต่อเฟอร์นิเจอร์ของ IKEA ให้ทางเลือกในการเรียนรู้ ฝึกฝน และพัฒนา เพื่อผลลัพธ์ที่ได้คือเด็ก ๆ จะได้เห็นคุณค่าของงานที่เขาได้ทำผ่านบทเรียนที่เขาได้ฝึกฝนเพื่อส่งเสริมให้พวกเขาเห็นว่าความสำเร็จขึ้นอยู่กับความพยายามและความอุตสาหะ ไม่ใช่ความสามารถโดยกำเนิด
อ้างอิง
https://education-reimagined.org/what-do-you-mean-when-you-say-student-agency/
https://mathsnoproblem.com/blog/learner-focus/How-to-use-the-Ikea-effect-to-engage-learners
https://tailoredthinking.co.uk/blog/2019/7/3/building-better-work-the-ikea-effect