คิดอย่าง “เยอรมัน” ภารกิจถอนคำสาปอาชญากรสงครามสู่ผู้วางระเบียบใหม่ในโลกวิทยาศาสตร์

A A
Mar 13, 2024
Mar 13, 2024
A A

คิดอย่าง “เยอรมัน” ภารกิจถอนคำสาปอาชญากรสงครามสู่ผู้วางระเบียบใหม่ในโลกวิทยาศาสตร์

 

เยอรมัน เป็นอะไรได้อย่างบนโลกใบนี้
นับตั้งแต่การสถาปนาจักรวรรดิเยอรมันอย่างเป็นทางการในปี 1871 สหพันธ์สาธารณรัฐแห่งนี้ผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายบทบาทบนหน้าประวัติศาสตร์…จนกระทั่งผงาดเป็นขุมพลังเศรษฐกิจเบอร์ 3 โลก

นับเฉพาะช่วงศตวรรษนี้ เยอรมัน จะรายชื่อที่ถูกกล่าวถึงในข่าวเศรษฐกิจมากที่สุดก็ว่าได้ บวกกับอิทธิพลเดิมด้านยุทโธปกรณ์ทางการทหารเป็นอันดับต้นๆของโลกมาอย่างยาวนานหลายร้อยปี ชาวเยอรมันมีความก้าวหน้าและพัฒนาการระดับสูงในแทบทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านวิทยาศาสตร์ มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆของโลกหลายต่อหลายอย่างถือกำเนิดจากประเทศเยอรมัน พวกเขามีนักวิทยาศาสตร์ระดับแนวหน้าของโลกจำนวนมากในทุกยุคทุกสมัย อันเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เยอรมันมีความเจริญก้าวหน้าและเป็นผู้นำของโลกตลอดมาจนถึงทุกวันนี้

จากหน้ามือเป็นหลังมือภายในหนึ่งชั่วอายุคน
มีเบื้องหลังอยู่เพียง 3 อย่างเท่านั้น

 

เยอรมัน : ความเก่งที่มาจาก..สงคราม น้ำตา และความพ่ายแพ้

แน่นอนว่าการพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 กับความไม่เป็นธรรมในสนธิสัญญาแวร์ซายน์ ทำให้สาธาณรัฐแห่งนี้ถดถอยจนแทบสิ้นตัว จนกระทั่งความหวังใหม่ปลุกไฟให้ฮึกเหิมอีกครั้ง คำโฆษณาชวนเชื่อที่จะพาความยิ่งใหญ่คืนมาตุภูมิอีกครั้งภายใต้การนำของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์  นำกองกำลังการบุกยึดโปแลนด์ใน ปี 1939 เป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ ว่าเยอรมันจะไม่ยอมอยู่ใต้ความกดขี่อีกต่อไป พร้อมชักธงรบกับนานาชาติ จนเกิดเป็นสงครามครั้งที่ 2  ด้วยภาวะสงครามที่กดดันแบบนี้ ไม่มีความคิด ไม่มีไอเดียเป็นเรื่องไร้สาระ นักคิดนักประดิษฐ์จึงมีโอกาสได้แจ้งเกิด วิทยาการต่าง ๆ ได้ผลิดอกออกผล เพื่อเป้าหมายสู่ชัยชนะ ลบภาพจำความเป็นอาชญากรสงครามให้ได้ เพราะเหตุนี้เราจึงได้เห็นวิทยาการล้ำหน้าใหม่ ๆ อย่างที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน และบางครั้งเราก็ไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันเกิดขึ้นได้เพราะสงครามครั้งนี้ 

ตัวอย่างเช่น Heinkel He 178 เครื่องบินไอพ่นที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยกองทัพนาซีเยอรมันและได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนเป็นเครื่องบินเชิงพาณิชย์สำหรับขนส่งผู้โดยสารข้ามทวีปในปัจจุบัน 

รถสปอร์ตสุดปราดเปรียวชื่อดังอย่าง Porsch และรถเต่าสุดคลาสสิกอย่าง Volkswagen ที่มีโมเดลตั้งต้นจาก Ferdinand Porsche  นักคิดนักประดิษฐ์หนึ่งในทีมวิศวกรที่ออกแบบรถถังและอาวุธให้กับกองทัพเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2 

และแน่นอนที่ขาดไม่ได้เลยคือ Albert Einstein นักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้รากฐานของฟิสิกส์ยุคใหม่ และปิดฉากสงครามโลกด้วยระเบิดปรมาณู

 

สงครามโลกกับการคิดแบบเยอรมัน

 

เยอรมัน : ความเก่งนี้ที่มาจาก…ภูมิประเทศ

ต้องบอกก่อนว่ายุทธศาสตร์การตั้งภูมิประเทศของชาติเยอรมัน เป็นภูมิประเทศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการติดต่อค้าขายซักเท่าไหร่ เนื่องจากไม่มีทางออกสู่ทะเล จึงเป็นเรื่องยากหากจะติดต่อกับค้าขายกับดินแดนอีกฟากโพ้นทะเล แต่ด้วยความที่เยอรมนีตั้งอยู่ในใจกลางของทวีปยุโรป และมีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านถึง 9 ประเทศ ทำให้เยอรมนีมีบทบาทสำคัญในภาคพื้นทวีปยุโรปมาโดยตลอด

 

เยอรมัน : ความเก่งนี้มี่มาจาก…ภาษา

ภาษาเยอรมัน  ที่พื้นที่ใน Top 10 ทุกครั้งที่มีการจัดอันดับภาษาที่เรียนรู้ยากที่สุดในโลก 

ซึ่งกว่าจะเรียนรู้เพื่อสื่อสารแบบง่าย ๆ ก็ต้องใช้เวลากว่า 1 ปีเลยทีเดียว ด้วยธรรมชาติของภาษาที่มีการแยกเพศชายหญิง ระบบการประสมคำและไวยากรณ์ที่ผันรูปยากกว่าภาษาอื่น แต่ถ้าเรามีพื้นฐานภาษาอังกฤษแน่นมาพอ การเรียนรู้ภาษาเยอรมันที่มีรากศัพท์เดียวกัน ก็อาจทำให้เราจับจุดเดาทางได้ไม่ยาก ยกตัวอย่างเช่น คำว่า คาง ในภาษาอังกฤษเขียนว่า “chin” ส่วนในภาษาเยอรมัน เรียกว่า “kinn” หรือคำว่า น้ำ ในภาษาอังกฤษคือ “water” ส่วนเยอรมันเรียกว่า “wasser” 

ประเทศแห่งนักกวีและนักคิด คือ อีกฉายาหนึ่งที่แวดวงกวีขนานนามให้เยอรมัน เพราะเมื่อเราลองลิสต์รายชื่อเล่น ๆ ของนักเขียนเจ้าของบทกวีงานประพันธ์ต่าง ๆ นักคิดนักเขียนเจ้าของรางวัลโนเบลฟิสิกส์ เคมี การแพทย์ ไปจนถึงวรรณกรรม ตลอดระยะเวลาการมอบรางวัลอันทรงเกียรตินี้ ชาวอารยันเยอรมันนี กวาดรางวัลไปแล้วกว่าหนึ่งร้อยคน ตำแหน่งประเทศผู้นำแห่งแวดวงวิทยาการจึงตกเป็นของเยอรมันแบบไม่ต้องสัยเลย ยืนยันด้วยผลผลิตนักวิทยาศาสตร์ที่กินสัดส่วน 1 ใน 3 ของโลก การสร้างตัวตนบนเวทีโลกครั้งนี้ส่งผลให้ภาษาแม่ของเยอรมันกลายเป็นเสมือนภาษาราชการที่ถูกนำมาเป็นชื่อภาษาวิทยาศาสตร์มากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของโลก เป็นรองแค่ยักษ์ใหญ่ USA เท่านั้นเอง

การปฏิรูปการศึกษาเพื่อความความก้าวหน้าทางวิศวกรรม หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เยอรมันเลือกแก้ไขความบอบช้ำโดยวางรากฐานการศึกษาใหม่ที่เน้นไปทางด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์จึงทำให้เกิดการก่อตั้งวิทยาลัยทางด้านเทคนิครูปแบบงานช่างและวิศวกรรมขึ้นมาโดยเฉพาะอย่างการสร้างนวัตกรรมแท่นพิมพ์เครื่องแรกของโลก ที่เป็นรากฐานสำคัญต่อระบบความคิด การศึกษา วัฒนธรรม วิทยาการและการพัฒนาในด้านต่างๆ อาศัยความสามัคคีของภาครัฐและเอกชนเชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรมให้เข้ามามีส่วนในการศึกษา ด้วยการช่วยกำหนดหลักสูตรให้กับโรงเรียนวิชาชีพ ทำให้ประเทศเยอรมนีสามารถผลิตแรงงานที่พร้อมเริ่มงานได้ทันทีแบบที่มีทักษะความรู้ตรงตามความต้องการของตลาด จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยอะไรเลยที่เยอรมันจะสามารถผลิตนักวิทยาศาสตร์หน้าใหม่มาประดับวงการสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก

 

 

อ้างอิง
https://www.euronews.com/2015/05/05/how-world-war-ii-shaped-modern-germany
https://www.nature.com/articles/549018a
https://www.nature.com/articles/d41586-020-03318-w
https://www.history.com/news/germany-divided-world-war-ii

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS