ถ้าอยากเก่งต้องขยันหยุดพัก

A A
Jun 14, 2022
Jun 14, 2022
A A

ถ้าอยากเก่งต้องขยันหยุดพัก

 

 ถ้าอยากเก่งต้องขยันหยุดพัก ใช่แล้วเป็นประโยคที่ถูกต้องและไม่ได้มีส่วนใดผิดเพี้ยนไปเลย สิ่งนี้อาจดูขัดแย้งกับประโยคที่ว่า ยิ่งฝึกก็ยิ่งเก่ง

 

 

  • สมองในขณะหยุดพักเลียนแบบรูปแบบประสาทที่เห็นในระหว่างการฝึกซ้อม แต่ถูกบีบอัดถึง 20 เท่า สมองกำลังเล่นซ้ำช่วงฝึกซ้อมซ้ำแล้วซ้ำเล่าด้วยความเร็วที่สูง
  • ระหว่างการพักผ่อนนั้นระบบประสาทภายในสมองของเราจัดลำดับพฤติกรรม หมุนเวียนประสบการณ์อย่างรวดเร็ว บีบอัดและพิมพ์เนื้อหาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บและการใช้ซ้ำ
  • ในห้องเรียนการพักสมองควรเกิดขึ้นก่อนที่เด็ก ๆ จะเกิดความเหนื่อยล้า เบื่อหน่าย ฟุ้งซ่าน และนั่นหมายความว่าการเรียนในห้องจะมีการพักระหว่างเรียนที่ถี่ขึ้น ข้อสรุปจากงานวิจัยพบว่าในชั้นประถมควรมีการเรียนอย่างเข้มข้นในคาบประมาณ 10 ถึง 15 นาที และ 20 ถึง 30 นาทีสำหรับนักเรียนระดับมัธยมต้นและมัธยมปลาย

 

    ถ้าอยากเก่งต้องขยันหยุดพัก ใช่แล้วเป็นประโยคที่ถูกต้องและไม่ได้มีส่วนใดผิดเพี้ยนไปเลย สิ่งนี้อาจดูขัดแย้งกับประโยคที่ว่า ยิ่งฝึกก็ยิ่งเก่ง ใคร ๆ ก็มักจะพูดประโยคนี้อยู่บ่อย ๆ การทำอะไรสักอย่างได้อย่างเชี่ยวชาญเช่นการเล่นกีฬาหรือการแก้สมการคิดเลขได้ไวก็มักจะเกิดจากการฝึกฝนเพราะเป็นการวางรากฐานสำหรับการพัฒนาทักษะ บ่อยครั้งที่ การอยู่ห่างจากหนังสือเรียนหรือการฝึกฝนถูกมองว่าเป็นการหยุดพัก หยุดการเรียนรู้หรือฝึกฝน เราอาจจะได้ยินพ่อแม่หรือครูพูดอยู่บ่อย ๆ ว่าเรามักขี้เกียจเมื่อเราฝึกน้อยลง อ่านหนังสือน้อยลง แต่จริง ๆ แล้วการหยุดพักนี้เองอาจทำให้เราเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นก็เป็นได้

Leonardo Cohen นักประสาทวิทยาจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติ Cohen และทีมของเขาใช้เทคนิคการสแกนสมองที่มีความไวสูงเพื่อสังเกตกิจกรรมทางประสาทของผู้ร่วมเข้าทำการทดลองในขณะที่พวกเขาเรียนรู้วิธีพิมพ์ด้วยมือที่ไม่ถนัด หลังจากช่วงฝึกซ้อม ผู้เข้าร่วมการศึกษาจะได้รับช่วงพักสั้น ๆ และฝึกซ้อมต่อไปรวม 35 ครั้ง ทีมของ Cohen ได้ค้นพบสิ่งที่น่าสนใจคือพวกเขาสังเกตเห็นการทำงานของสมองในขณะหยุดพักซึ่งเลียนแบบรูปแบบประสาทที่เห็นในระหว่างการฝึกซ้อม แต่ถูกบีบอัดถึง 20 เท่า สมองกำลังเล่นซ้ำช่วงฝึกซ้อมซ้ำแล้วซ้ำเล่าด้วยความเร็วที่สูงอย่างน่าประหลาดใจ แทนที่จะอยู่เฉย ๆ ในขณะที่เราหยุดพัก การค้นพบนี้สะท้อนการค้นพบ ในปี 2544 ที่ได้ทำการทดลองกับหนูที่วิ่งผ่านเขาวงกตได้สำเร็จ พบว่าหลังจากนั้นระหว่างการนอนหลับ REM หนูได้เล่นความทรงจำเหล่านั้นซ้ำ ๆ โดยมีวงจรเชิงพื้นที่แบบเดียวกันเหมือนตอนตื่นในขณะที่หลับ

Cohen อธิบายว่า เมื่อเราเรียนรู้ทักษะใหม่ เราต้องเชื่อมต่อกับความทรงจำก่อนหน้านี้ ตัวอย่างเช่น เมื่อเรียนรู้วิธีเล่นเปียโน สมองของเราต้องเชื่อมโยงการกระทำง่าย ๆ ที่เราพึ่งเรียนรู้ไปเช่น การกดปุ่มเปียโน การจำโน้ตจากนั้นเรียบเรียงเป็นทักษะที่ใหญ่และซับซ้อนมากขึ้นเพื่อรวบรวมเป็นการเล่นเปียโน ทีมของ Cohen ค้นพบว่าหลังจากเรียนรู้ข้อมูลใหม่ สมองของเรายังคงสั่นอยู่ โดยใช้การหยุดทำงานเป็นเวทีเสมือนในการประมวลผล จัดระเบียบ และบูรณาการข้อมูลที่เรียนรู้  เท่ากับว่าระหว่างการพักผ่อนนั้นระบบประสาทภายในสมองของเรากำลังจัดลำดับพฤติกรรม หมุนเวียนประสบการณ์อย่างรวดเร็ว บีบอัดและพิมพ์เนื้อหาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บและการใช้ซ้ำ

 

คนทั่วไปมักประเมินค่าของช่วงพักต่ำไปอย่างมาก บ่อยครั้งที่ครูมักจะพยายามอัดความรู้ภายในคาบเรียนให้มากที่สุด หรือพ่อแม่เองอาจจะรู้สึกว่าหากลูกไม่ฝึกฝนทำการบ้านหรือหยุดพักจากอ่านหนังสือเป็นความเกียจคร้าน หรือไม่ตั้งใจทำสิ่งนั้น ๆ อย่างเต็มที่

โดยทั่วไปเราจะเลือกการฝึกฝนอย่างแข็งขันเพื่อเป็นแนวทางในการก้าวหน้าในเรื่องนั้น ๆ นั่นก็อาจถูกส่วนหนึ่ง แต่การผสมผสานช่วงพักเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ก็มีบทบาทสำคัญพอ ๆ กับการเรียนรู้และฝึกฝนทักษะใหม่เพราะเป็นช่วงเวลาที่สมองของเราบีบอัดและรวบรวมความทรงจำของสิ่งที่เราเพิ่งฝึกฝนมา 

 

ควรพักสมองระหว่างเรียน

ผลการศึกษาในปี 2016 พบว่าทุก ๆ ชั่วโมงในแต่ละวัน ประสิทธิภาพของสมองจะลดลง 0.9 เปอร์เซ็นต์ของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน Judy Willis นักประสาทวิทยาและครูประจำห้องเรียนกล่าวว่าในห้องเรียนการพักสมองควรเกิดขึ้นก่อนที่เด็ก ๆ จะเกิดความเหนื่อยล้า เบื่อหน่าย ฟุ้งซ่าน และนั่นหมายความว่าการเรียนในห้องจะมีการพักระหว่างเรียนที่ถี่ขึ้น ข้อสรุปจากงานวิจัยพบว่าในชั้นประถมควรมีการเรียนอย่างเข้มข้นในคาบประมาณ  10 ถึง 15 นาที และ 20 ถึง 30 นาทีสำหรับนักเรียนระดับมัธยมต้นและมัธยมปลาย และให้มีการพักระหว่างเรียน 3-5 นาที ด้วยการการยืดเหยียด ร้องเพลง หรือพูดคุยกันเพื่อให้นักเรียนมีเวลาผ่อนคลายและเป็นช่วงที่สมองได้ประมวลผลซ้ำจากสิ่งที่เรียนรู้มา นักวิจัยค้นพบว่าการหยุดพักระหว่างการสอนนั้นทำให้คะแนนการสอบดีขึ้นมากกว่าการลดจำนวนรายชั่วโมงที่สอนเสียด้วยซ้ำ

 

การเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้เล่นและเรียนรู้ทักษะชีวิตที่สำคัญ ส่งผลให้พวกเขาจะเรียนรู้วิธีผลัดกันแก้ไขข้อขัดแย้ง และแก้ปัญหา เรียนรู้วิธีจัดการอารมณ์และพฤติกรรมของตนเอง ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานสำหรับชีวิตเป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นของพัฒนาการของเด็ก

ดังนั้นช่วงพักจึงเป็นส่วนสำคัญของการเรียนรู้นอกจากนั้นยังช่วยเพิ่มความสุขในชั้นเรียนให้เด็ก ๆ อีกด้วย หากเทียบกับเราตอนเด็ก ๆ ก็คงปฎิเสธไม่ได้ว่าเรามักจะรู้สึกดีทุกครั้งที่คุณครูพักเบรคระหว่างคาบเรียน แต่นอกจากความสุขทางใจแล้วจากงานวิจัยพบว่าการพักสั้น ๆ ในห้องเรียนช่วยปรับปรุง  พฤติกรรมของนักเรียน ช่วยเพิ่มความพยายามในการทำกิจกรรมตลอดจนความสามารถในการทำงาน เพิ่มความสนใจ ลดความเครียด เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน กระตุ้นการทำงานของสมอง และเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะการเข้าสังคม ช่วงพักเป็นช่วงเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้เล่นและเรียนรู้ทักษะชีวิตที่สำคัญ การวิจัยแสดงให้เห็นว่าเมื่อเด็ก ๆ เล่นด้วยกัน พวกเขาจะเรียนรู้วิธีผลัดกันแก้ไขข้อขัดแย้ง และแก้ปัญหา พวกเขายังได้เรียนรู้วิธีจัดการอารมณ์และพฤติกรรมของตนเอง ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานสำหรับชีวิตเป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นของพัฒนาการของเด็ก การเล่นแบบไม่มีแบบแผนทำให้พวกเขาได้จินตนาการและสร้างสรรค์ โดยไม่ต้องกลัวว่าจะล้มเหลวหรือเครียดกับคะแนนที่จะได้ ยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการรับรู้ของพวกเขา เตรียมความพร้อมสำหรับความท้าทายในบทเรียนที่เขาต้องเผชิญ

และแม้ว่าการพักเบรกจะช่วยรีเซ็ตการโฟกัสของนักเรียน แต่อีกทางเลือกหนึ่งซึ่งอาจมีประโยชน์สำหรับเด็กโตคือการเปลี่ยนกลยุทธ์จากการบรรยายตลอดคาบ ให้นักเรียนลองจับคู่ทำกิจกรรม แบ่งการทำงานเป็นกลุ่ม ใช้เวลาทบทวนแนวคิดหรือทำแบบทดสอบเมื่อจบคาบเรียน กิจกรรมเหล่านี้สามารถแก้ไขความยาวนานของบทเรียนที่จะทำให้พวกเขาหลุดโฟกัสกับสิ่งที่เรียนรู้อยู่และยังเป็นการเพิ่มความจำของนักเรียนอีกด้วย

 

 

อ้างอิง
https://www.edutopia.org/article/we-drastically-underestimate-importance-brain-breaks
https://www.pnas.org/doi/full/10.1073/pnas.1516947113
https://www.edutopia.org/article/research-tested-benefits-breaks
https://www.cell.com/cell-reports/

Tag

Share

Tag

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS