“หน้ากากอนามัย” ความปลอดภัยที่ไร้ปฏิสัมพันธ์

A A
Mar 10, 2022
Mar 10, 2022
A A

“หน้ากากอนามัย” ความปลอดภัยที่ไร้ปฏิสัมพันธ์

 

เราเคยจำใครไม่ได้เพียงเพราะว่าเขาคนนั้นใส่หน้ากากอนามัยปิดไว้ครึ่งหน้าบ้างไหมครับ?

 

 

เป็นเวลาร่วม 2 ปีแล้วที่ใบหน้าของเราครึ่งหนึ่งถูกปิดไว้ด้วยหน้ากากอนามัย และก็ยังคงมีผลบังคับใช้ต่อเนื่องเพื่อป้องกันโควิด-19 จากการใส่หน้ากากอนามัยกันเกือบจะตลอดเวลานี้เองที่แม้แต่ผู้ใหญ่อย่างเราเองก็ยังจำหน้าตากันแทบไม่ได้ และสำหรับเด็ก ๆ พวกเขาเป็นอย่างไรกันบ้าง

หน้ากากอนามัยส่งผลต่อปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของเด็กอย่างมีนัยสำคัญ

ถึงแม้ว่างานวิจัยเมื่อปลายปีที่แล้วพบว่าหน้ากากอนามัยมีผลเพียงเล็กน้อยต่อความสามารถของเด็กในการจดจำอารมณ์บนใบหน้า แต่เมื่อไม่นานมานี้พบว่าหน้ากากส่งผลต่อปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของเด็กอย่างมีนัยสำคัญ จากการศึกษาโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยยอร์ก และมหาวิทยาลัยเบน-กูเรีย ประเทศอิสราเอล ในเด็ก 72 คน อายุระหว่าง 6 ถึง 14 ปี โดยทดสอบด้วยการดูใบหน้าทั้งแบบไม่มีหน้ากาก และมีหน้ากากทั้งแบบตรงและกลับด้าน

ความเห็นอกเห็นใจเป็นสิ่งที่ปลูกฝังได้ตั้งแต่ยังเล็ก

ผลการทดสอบพบว่าเด็กมีปัญหาในการจดจำใบหน้าจากการใส่หน้ากากซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับเพื่อนและครู ตลอดจนรบกวนความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ที่สำคัญ โดยตามความเห็นของผู้ช่วยศาสตราจารย์ Erez Freud ได้กล่าวว่า “ใบหน้าเป็นสิ่งดึงดูดสายตาที่สำคัญที่สุด เราใช้ข้อมูลใบหน้าเพื่อกำหนดคุณลักษณะต่าง ๆ ของบุคคล รวมถึงเพศ อายุ อารมณ์และความตั้งใจ เพื่อนำไปสู่ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม” และจากการวิจัยพบว่า ความสามารถในการรับรู้ใบหน้าของเด็กไม่เพียงบกพร่องอย่างเห็นได้ชัด โดยระดับความบกพร่องในการรับรู้ของเด็ก ๆ มีมากถึง 20% ในขณะที่ผู้ใหญ่อยู่ที่ 15%

การศึกษาเผยให้เห็นว่าการประมวลผลใบหน้าแบบองค์รวมซึ่งจำเป็นสำหรับการรับรู้ใบหน้า ถูกรบกวนและกลายเป็นต้องเพิ่มการวิเคราะห์ที่มากขึ้นแทนที่จะดูที่ใบหน้าทั้งหมด เลยถูกบังคับให้มองตา จมูก แก้ม และองค์ประกอบอื่น ๆ ที่มองเห็นได้แยกกัน ทำให้กลายเป็นการสร้างการรับรู้ใบหน้าในรูปแบบใหม่ต่างจากแบบเดิมซึ่งเราเคยทำได้ทันที การเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการประมวลผลใบหน้า ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อกิจกรรมในชีวิตประจำวัน

ความเห็นอกเห็นใจเป็นสิ่งที่ปลูกฝังได้ตั้งแต่ยังเล็ก

“ถ้าการประมวลผลแบบองค์รวมและการจดจำบกพร่อง ก็มีความเป็นไปได้ที่จะบั่นทอนความสามารถของเด็กในการนำทางผ่านปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับเพื่อนและครู และอาจนำไปสู่ปัญหาในการสร้างความสัมพันธ์ที่สำคัญ”

ถึงแม้ว่าหน้ากากจะมีส่วนช่วยในการป้องกันการระบาดจากโควิด-19 และเป็นเครื่องเตือนใจว่าการระบาดใหญ่ยังคงเป็นภัยคุกคาม แต่ใบหน้าเองก็มีผลต่อการมีปฏิสัมพันธ์ จิตใจ การเข้าสังคมเช่นเดียวกัน

อ้างอิง
https://scitechdaily.com/who-is-that-kids-have-greater-difficulty-recognizing-masked-faces/
https://www.healthline.com/health-news/preschoolers-can-id-peoples-emotions-under-face-masks
https://cognitiveresearchjournal.springeropen.com/articles/10.1186/s41235-022-00360-2

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS