โรคซึมเศร้าในเด็ก (อาจ) เกิดจากมลพิษที่มากเกินไป

A A
May 13, 2022
May 13, 2022
A A

โรคซึมเศร้าในเด็ก (อาจ) เกิดจากมลพิษที่มากเกินไป

 

ข้อมูลของศูนย์โรคซึมเศร้าไทย กรมสุขภาพจิต ระบุว่า คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าถึง 1.5 ล้านคน ทำให้คนไทยกว่า 70 เปอร์เซ็นต์เสียชีวิต

 

 

  • องค์การอนามัยโลก (WHO) ประมาณการว่า 9 ใน 10 คนทั่วโลกสัมผัสกับมลพิษทางอากาศในระดับสูง ผลการศึกษาพบว่าการสัมผัสกับมลพิษทางอากาศในวัยเด็กและวัยเด็กอาจส่งผลต่อภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ ในวัยรุ่น
  • กรมสุขภาพจิต ระบุว่า คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าถึง 1.5 ล้านคน ทำให้คนไทยกว่า 70 เปอร์เซ็นต์เสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคซึมเศร้าอาจเกิดได้หลายสาเหตุ บางครั้งสาเหตุสำคัญอาจเกิดจากฝุ่นควันในประเทศเราเองก็เป็นได้
  • การเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ ทั้งในพฤติกรรมการคมนาคมเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การสร้างสถาปัตยกรรมเพื่อช่วยประหยัดพลังงาน เป็นสิ่งสำคัญในการลดผลกระทบร้ายแรงของปัญหาสุขภาพจิตในเด็กและวัยรุ่นในสังคม ที่อาจทวีคูณขึ้นในอนาคต

 

PM2.5 เป็นปัญหามลพิษที่เราเผชิญกันในเมืองใหญ่ ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพที่เรา ๆ ต้องเผชิญอย่างมากมายจนเครื่องฟอกอากาศขายดีถึงขั้นของขาดตลาด หน้ากากอนามัยก็ขายดีขึ้นอย่างผิดหูผิดตา จนกลายเป็นกระแสเช็คค่าฝุ่นในหน้า social media ปรากฎในหน้าฟีดเฟสบุ๊คทุกวัน ส่งผลให้เกิดนโยบายรดน้ำจากตึกสูงเพื่อบรรเทาให้ฝุ่นนั้นลดลง เรารู้กันอยู่แล้วว่าปัญหาฝุ่นละอองมีผลต่อทางเดินหายใจของเราทุกคน มลพิษทางอากาศอาจไม่ใช่แค่ภูมิแพ้ หายใจไม่ออกแต่กลับส่งผลให้ทารกแรกเกิดเสียชีวิต 500,000 รายในปี 2019 ซึ่งคิดเป็น 20% ของการเสียชีวิตของทารกทั่วโลก เท่านั้นยังไม่พอกลับส่งผลต่อปัญหาสุขภาพจิตของเด็กในระยะยาวอีกด้วย

 

ปัญหามลภาวะส่งปัญหาเชื่อมโยงกับอาการซึมเศร้าที่เพิ่มขึ้น

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประมาณการว่า 9 ใน 10 คนทั่วโลกสัมผัสกับมลพิษทางอากาศในระดับสูง ซึ่งปล่อยออกมาระหว่างการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลในรถยนต์ โรงไฟฟ้า จากการผลิต การกำจัดของเสีย และกระบวนการทางอุตสาหกรรม  นักวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาเกี่ยวกับความเครียดในวัยเด็ก (อายุ 9 ถึง 13 ปี) จำนวน 213 คนพบว่า เด็กที่อาศัยในพื้นที่ที่มลพิษทางอากาศสูงแสดงอาการซึมเศร้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเวลาผ่านไป  ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน Environmental Health Perspectives พบว่าสภาพมลภาวะเชื่อมโยงกับความผิดปกติทางสุขภาพจิตที่แย่ลงเพียงไม่กี่วันหลังจากการสัมผัสอากาศสกปรกอาจทำให้ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ ในเด็กและวัยรุ่นแย่ลง เด็กและวัยรุ่นเกือบ 1 ใน 7 ในสหรัฐอเมริกามีภาวะสุขภาพจิตเพิ่มขึ้น

ไม่ใช่แค่ PM2.5 เท่านั้น ฝุ่นควันจากท่อไอเสียเองก็เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในเด็กที่เพิ่มขึ้นด้วย แพทริก ไรอัน ศาสตราจารย์และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยกล่าวว่า

“โดยรวมแล้ว ผลการศึกษาพบว่าการสัมผัสกับมลพิษทางอากาศในวัยเด็กและวัยเด็กอาจส่งผลต่อภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ ในวัยรุ่น”

       

ในสหรัฐอเมริกาพบว่าคุณภาพอากาศที่เลวร้ายเชื่อมโยงกับอัตราการเพิ่มขึ้นของการเป็นไบโพลาร์ถึง 27 เปอร์เซ็นต์และโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้น 6 เปอร์เซ็นต์

ในเดนมาร์กพบว่าคุณภาพอากาศที่แย่ส่งผลให้

    • อัตราของโรคจิตเภทสูงขึ้น 148 เปอร์เซ็นต์
    • อัตราของโรคโบโพลาร์สูงขึ้น 29 เปอร์เซ็นต์
    • อัตราความผิดปกติทางบุคลิกภาพเพิ่มขึ้น 162 เปอร์เซ็นต์
    • อัตราของภาวะซึมเศร้าเพิ่มขึ้นประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์

ถึงแม้จะยังไม่ชัดเจนว่ามลพิษทางอากาศสามารถกระตุ้นปัญหาสุขภาพจิตได้อย่างไร แต่การทดลองในหนูแสดงให้เห็นว่าการสัมผัสกับมลภาวะสามารถทำให้เกิดการอักเสบและการตายของเซลล์ในเนื้อเยื่อสมอง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจนำไปสู่และทำให้ความผิดปกติทางจิตเวชแย่ลงได้

สำหรับประเทศไทยแม้ว่าการเกิดฝุ่นจะลดลงถึง 50% ในปี 2564 ที่ผ่านมา แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะลดปริมาณฝุ่นให้อยู่ในเกณฑ์ที่ WHO กำหนด เพราะทุกอย่างล้วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นจากครัวเรือน  การเดินทาง การก่อสร้าง การเกษตรกรรม การเผาขยะ ซึ่งล้วนแต่เกี่ยวข้องกับฝุ่นละอองที่มาจากการเผาไหม้ซึ่งก่อให้เกิดปัญหามลภาวะทั้งสิ้น จากข้อมูลพบว่าแหล่งกำเนิดหลักของฝุ่นละออง PM2.5 สูงที่สุดมาจากการขนส่งทางถนนคือ 51% รองลงมา คือ อุตสาหกรรม 21% ครัวเรือน 10% การขนส่งอื่น ๆ 9.5% การเผาในที่โล่ง 6.0% ภาคพลังงาน 1.0% เกษตรกรรม 1.0% และการจัดการขยะ 0.5%

ข้อมูลของศูนย์โรคซึมเศร้าไทย กรมสุขภาพจิต ระบุว่า คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าถึง 1.5 ล้านคน ทำให้คนไทยกว่า 70 เปอร์เซ็นต์เสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคซึมเศร้าอาจเกิดได้หลายสาเหตุ บางครั้งสาเหตุสำคัญอาจเกิดจากฝุ่นควันในประเทศเราเองก็เป็นได้

พลังงานสะอาดคือกุญแจเพื่อต่อลมหายใจ

วิธีหนึ่งที่อเมริกาหาทางลดปัญหามลภาวะโดยได้เริ่มเดินนโยบายคือการเปลี่ยนการขนส่งสาธารณะของรถโรงเรียนให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รถโรงเรียนคิดเป็น 90% ของรถบัสทั้งหมดของประเทศที่ต้องจัดส่งเด็ก 25 ล้านคนต่อวัน  การผลักดันระบบขนส่งสาธารณะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงสร้างรถโรงเรียนไฟฟ้าสำหรับเด็ก จะช่วยลดปริมาณมลพิษทางอากาศจากการคมนาคมขนส่งได้อย่างมาก 

ไม่เพียงเท่านั้นที่ยุโรป EcoLogicStudio บริษัทนวัตกรรมด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับสิ่งแวดล้อมได้ออกแบบ AirBubble ซึ่งเป็นสนามเด็กเล่นที่ใช้สาหร่ายในเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อขจัดคาร์บอนไดออกไซด์และสารมลพิษออกจากอากาศ

 

 

AirBubble ตั้งอยู่ในกรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ ซึ่งเป็นเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดเมืองหนึ่งในยุโรปสาหร่ายในเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพใช้การสังเคราะห์ด้วยแสงโดยใช้คาร์บอนไดออกไซด์ในการเจริญเติบโต และปล่อยออกซิเจนออกสู่ AriBubble และสาหร่ายยังดูดซับมลพิษในชั้นบรรยากาศได้อีกด้วย

 

 

Claudia Pasquer ผู้ร่วมก่อตั้ง EcoLogicStudio กล่าวว่า สนามเด็กเล่นแห่งนี้ต้องการแหล่งพลังงาน 2 แหล่ง ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์และสัญชาตญาณของเด็ก ๆ ในการสำรวจและเล่น พลังงานแสงอาทิตย์จะขับเคลื่อนการสังเคราะห์แสงโดยที่สาหร่ายทำให้อากาศบริสุทธิ์ ในขณะที่การเล่นของเด็กจะกระตุ้นเครื่องจักรที่เคลื่อนของเหลวผ่านเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพส่งผลให้เกิดพลังงานชีวภาพเกิดขึ้น โดยเครื่องเล่นภายใน AirBubble ประกอบด้วยเชือก ลูกบอลเด้งดึ๋ง และแป้นเหยียบเพื่อให้เด็ก ๆ สามารถสร้างพลังงานให้กับเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพขณะเล่นภายใน AirBubble ได้อีกด้วย

 

 

Pasquer ได้ตั้งใจสร้างสนามเด็กเล่นรูปแบบใหม่ที่สนุกสนาน ปลอดภัย และให้ความรู้ไปพร้อม ๆ กันสำหรับเด็กทุกคน เพื่อต้องการถ่ายทอดพลังของการเล่นไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและระบบนิเวศอย่างมีความหมาย ในเชิงทางสถาปัตยกรรม AirBubble ยังถูกออกแบบมาเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพ โดยรูปทรงที่กลมของ  AirBubble ช่วยให้เครื่องปฏิกรณ์สามารถเก็บแสงได้ในทุกทิศทางตลอดทั้งวัน ในขณะที่หลังคาทรงกรวยกลับหัวช่วยกระตุ้นการหมุนเวียนของอากาศ

 

ในขณะที่อากาศภายนอกมีระดับฝุ่นละออง PM2.5 สูงถึง78.6 ถึง 85.7 เปอร์เซ็นต์ในแต่ละสัปดาห์ AirBubble ได้ถูกออกแบบมาเพื่อลดระดับของมลพิษทางอากาศให้อยู่ในขอบเขตที่ปลอดภัยของ WHO การนำเทคโนโลยีมาผสมผสานกับธรรมชาติเพื่อช่วยกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์และฟอกอากาศ เพื่อให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้และมีอากาศที่บริสุทธิ์ไว้สำหรับหายใจ พวกเขาจะได้มีส่วนรับรู้ว่าเขาเองก็คือส่วนหนึ่งของการสร้างอากาศให้กับโลกใบนี้ทุกการกระทำถูกส่งต่อกันเป็นวัฎจักรไม่ต่างอะไรจากการกระตุ้นเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพโดยผ่านการเล่นของพวกเขาที่ก่อให้เกิดการสร้างออกซิเจนขึ้นใน AirBubble 

การสร้างอากาศใหม่อาจเริ่มต้นจากการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ ทั้งในพฤติกรรมการคมนาคมเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การสร้างสถาปัตยกรรมเพื่อช่วยประหยัดพลังงาน การออกแบบสิ่งปลูกสร้างให้สอดคล้องกับความเป็นอยู่ด้านสิ่งแวดล้อมทั้งหมดนี้เพื่อช่วยลดผลกระทบร้ายแรงของปัญหาสุขภาพจิตในเด็กและวัยรุ่นในสังคม ที่อาจทวีคูณขึ้นในอนาคต

 

อ้างอิง
https://www.bbc.com/thai/thailand-59260334
https://www.ehn.org/air-pollution-mental-health-2639890370.html
https://www.weforum.org/agenda/2021/11/how-we-can-protect-children-dying-from-air-pollution/
https://www.ehn.org/air-pollution-children-mental-health-2640580643.html
https://neurosciencenews.com/air-pollution-teen-depression-20192/
https://www.kcl.ac.uk/news/childhood-air-pollution-exposure-linked-to-poor-mental-health-at-age-18
https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=31459

Tag

Share

Tag

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS