ความเหงา ฆ่าเราได้มากกว่าที่คิด
- องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้ความเหงาเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขทั่วโลก โดย WHO ตั้งคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทางสังคม ปี 2022 ที่ศึกษาข้อมูลจาก 113 ประเทศ พบว่าความเหงาในระดับที่เป็นปัญหาถือเป็นประสบการณ์ไปทั่วโลก งานวิจัยจำนวนมากเกี่ยวกับความเหงามีอยู่เป็นจำนวนมากในประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยเฉพาะในยุโรป
- ความเหงาส่งผลต่อความเสี่ยงต่อสุขภาพด้านการขาดการเชื่อมต่อทางสังคมเปรียบได้กับการสูบบุหรี่วันละ 15 มวนเลยทีเดียวมีความเสี่ยงกับสุขภาพมากกว่าโรคอ้วนและการไม่ออกกำลังกาย
- ความเหงาส่งผลกระทบต่อนักเรียนเช่นกันโดยเฉพาะในมหาวิทยาลัยที่มีความกดดันหลายอย่าง เช่น การโดดเดี่ยวทางสังคม ผลการเรียนที่ไม่ดี สุขภาพจิต หรือการฆ่าตัวตายก็เป็นสาเหตุจากความเหงา โดยนักเรียนที่มีความรู้สึกเหงาหรือโดดเดี่ยว
อาจมีใครหลายคนสะกดคำว่า “เหงา” บ่อยครั้ง เชื่อว่าทุกคนล้วนเคยรู้สึกถึงความเหงา ความเหงามีอิทธิพลกับคนมากมายจนเราเห็นภาพยนตร์มากมายที่เดินเรื่องเกี่ยวกับความเหงาเป็นหัวใจสำคัญ โดยเฉพาะในช่วงเวลา Covid ที่เราได้เห็นคนเหงาเกลื่อนเมืองและบางคนอาจเกิดเป็นโรคซึมเศร้าในที่สุด เราได้เห็นความเหงาของใครหลายคนผ่านเครื่องมือทาง Social ไม่ว่าจะเป็น Instagram หรือ X แสดงออกถึงความเหงาที่พวกเขาประสบอยู่ ความเหงาอาจถูกเปรียบเทียบได้ว่าเป็นอาชญากรเงียบ หรือ ภัยเงียบ สำหรับใครหลายคน
การสำรวจของ Meta-Gallup ใน 142 ประเทศพบว่า 1 ใน 4 คนรู้สึกเหงามากหรือค่อนข้างเหงาซึ่งความรู้สึกนี้เกิดกับผู้คนมากกว่าพันล้านคนทั่วโลก ในช่วงปลายปี 2023 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้ความเหงาเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขทั่วโลก โดย WHO ตั้งคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทางสังคม ปี 2022 ที่ศึกษาข้อมูลจาก 113 ประเทศ พบว่าความเหงาในระดับที่เป็นปัญหาถือเป็นประสบการณ์ไปทั่วโลก งานวิจัยจำนวนมากเกี่ยวกับความเหงามีอยู่เป็นจำนวนมากในประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยเฉพาะในยุโรป
ทำไมปัญหาความเหงาถึงเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องให้ความสนใจ
Dr. Vivek H. Murthy ศัลยแพทย์ของสหรัฐอเมริกาได้บอกว่าความเหงาเป็นมากกว่าความรู้สึกแย่เป็นอันตรายต่อสุขภาพส่วนตัวและสังคม ซึ่งความเสี่ยงต่อสุขภาพด้านการขาดการเชื่อมต่อทางสังคมเปรียบได้กับการสูบบุหรี่วันละ 15 มวนเลยทีเดียวนอกจากนั้นมีความเสี่ยงกับสุขภาพมากกว่าโรคอ้วนและการไม่ออกกำลังกาย บทความที่ตีพิมพ์ในNature Human Behavior ในเดือนมิถุนายน 2023 ได้บอกว่าความเหงาทำให้เกิดการแยกตัวออกจากสังคมทำให้เสี่ยงกับการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และความเหงายังส่งผลต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงสุขภาพจิต เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล อีกด้วย
สมาคมจิตวิทยาอเมริกันให้คำจำกัดความเหงาว่าเป็น ความรู้สึกไม่สบายทางอารมณ์และการรับรู้ หรือการรู้สึกว่าตัวเองอยู่คนเดียวหรือโดดเดี่ยว เป็นความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากคุณภาพของความสัมพันธ์ เหตุการณ์ความเหงาที่รุนแรงนี้ทำให้ในสหราชอาณาจักรและญี่ปุ่นได้แต่งตั้งรัฐมนตรีกระทรวงความเหงาขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความเหงาอาจไม่ใช่แค่เรื่องเล่ นๆ อีกต่อไป ในสหรัฐอเมริกาได้ตอบสนองเรื่องนี้ด้วยการมุ่งเป้าไปที่การสร้างยาที่ลดการตอบสนองต่อความเครียดที่มักมาพร้อมความเหงา
ข้อมูลจาก CNN ได้บอกว่าการสำรวจพบว่าอัตราความเหงาสูงที่สุดในคนหนุ่มสาว โดย 27% ของคนหนุ่มสาวอายุ 19 ถึง 29 ปีรู้สึกเหงามากหรือค่อนข้างเหงา อัตราต่ำสุดพบในผู้สูงอายุ มีเพียง 17% ของผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปรายงานว่ารู้สึกเหงา ผลจากการสำรวจโดย American College Health Association (ACHA) – การประเมินสุขภาพวิทยาลัยแห่งชาติ (NCHA) พบว่านักศึกษามากกว่า 60% ได้บอกว่ารู้สึก “เหงามาก” ในมหาวิทยาลัยในปีที่ผ่านมา
การศึกษาในประเทศเยอรมนีในปี 2018 พบว่า 1 ใน 3 ของนักศึกษาโดยเทียบเป็น32.4%ของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยรู้สึกเหงา สำหรับในสหราชอาณาจักรนักเรียน 92% ประสบกับความเหงา และ 43% กังวลว่าพวกเขาจะถูกตัดสินหากพวกเขายอมรับว่ารู้สึกเหงา ที่นักเรียนนักศึกษารู้สึกเหงาอาจเป็นเพราะว่าพวกเขาต้องมีความกังวลเรื่องความยากในการเรียน หรือการปรับตัวให้เข้ากับผู้คนก็นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาความเหงานี้

ความเหงาส่งผลต่อการเรียนรู้
ความเหงาส่งผลกระทบต่อผลการเรียนของนักศึกษาเช่นกันโดยเฉพาะในมหาวิทยาลัยที่มีความกดดันหลายอย่าง เช่น การโดดเดี่ยวทางสังคม ผลการเรียนที่ไม่ดี สุขภาพจิต หรือการฆ่าตัวตายก็เป็นสาเหตุจากความเหงา ความเหงาส่งผลให้ผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ มีการผัดวันประกันพรุ่งไม่ส่งงานเพราะคนที่รู้สึกเหงา หรือโดดเดี่ยวจะหมกมุ่นอยู่กับความคิดของตนมากกว่าการสนใจเรียน นักศึกษาที่มีความเหงาจะได้เกรดต่ำกว่านักศึกษาที่ไม่มีความเหงาเลย นอกจากนี้ความเหงายังอาจบั่นทอนความสามารถในการรับรู้ ซึ่งมีผลต่อการเรียนด้วยเช่นกัน ความเหงายังเกี่ยวข้องกับความซึมเศร้า ความวิตกกังวล และอาจจะไปถึงการฆ่าตัวตาย ซึ่งนักศึกษาที่มีความรู้สึกโดดเดี่ยวมีแนวโน้มที่จะคิดฆ่าตัวตายมากกว่าคนที่ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว
การรับมือกับความเหงา
วิธีหนึ่งที่จะทำได้คือการจัดการพูดคุยแบบเปิดเผยเกี่ยวกับความเหงา โดยจัดให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับคนที่มีปัญหาความเหงานี้นอกจากนั้นตัวเองยังต้องจัดการกับความเหงานี้ด้วยตัวเองด้วยวิธีเหล่านี้
1.รับรู้สิ่งที่คุณรู้สึก
การรับรู้ความรู้สึกของตัวเองเป็นจุดเริ่มต้นในการเอาชนะความเหงา เพราะการยอมรับความรู้สึกคือจุดเริ่มต้นในการเรียนรู้และแสวงหาวิธีแก้ปัญหานี้
2.เปลี่ยน Mindset ของคุณ
Mindset มีอิทธิพลอย่างมากเกี่ยวกับมุมมองรอบตัว การเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับความเหงาอาจจะช่วยได้ หรือการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมก็มีผลต่อความรู้สึกเช่นกัน
3.เข้าร่วมชมรมหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ
การมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือได้พูดคุยกับคนที่มีความสนใจคล้ายกันสามารถช่วยให้คลายความเหงาได้
แล้วคุณล่ะเคยเหงาไหม ?
อ้างอิง