เจาะลึกระบบการศึกษา “ลักเซมเบิร์ก” ราชรัฐขนาดกว่าเล็กหนองคาย กับนโยบายการศึกษาเพื่อสุขภาพจิต

A A
Jan 19, 2024
Jan 19, 2024
A A

 

 

เจาะลึกระบบการศึกษา “ลักเซมเบิร์ก”

ราชรัฐขนาดกว่าเล็กหนองคาย กับนโยบายการศึกษาเพื่อสุขภาพจิต

 

 

เรารู้จัก “ลักเซมเบิร์ก” กันแค่ไหน

 

ถ้าถามนักธุรกิจ “ลักเซมเบิร์ก” จะเป็นประเทศ Tax Haven ดินแดนภาษีต่ำ เหมาะแก่การลงทุน

ถ้าถามนักท่องเที่ยว “ลักเซมเบิร์ก” จะเป็นประเทศที่มีระบบขนส่งฟรี และมีพาสปอร์ตที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก

ถ้าถามนักสิทธิมนุษยชน “ลักเซมเบิร์ก” จะเป็นประเทศกลุ่มแรก ๆ ที่ประกาศกฎหมายสมรสเท่าเทียม

ถ้าถามผู้ป่วยระยะสุดท้าย “ลักเซมเบิร์ก” จะเป็นประเทศปลายทางสุดท้ายที่สามารถทำการุณยฆาตได้ถูกต้องตามกฎหมาย

ถ้าเรื่องอื่นล่ะ เรารู้อะไรบ้างเกี่ยวกับประเทศนี้

 

ประเทศลัมเซมเบิร์ก อยู่ที่ไหน ? ทำไมถึงไม่ค่อยมีใครรู้จัก

 

   ด้านประวัติศาสตร์ในฐานะรัฐเดี่ยวประเทศนี้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ ค.ศ.1815 จากการประชุมครั้งใหญ่ในเวียนนา ปกครองแบบรัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา แบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ส่วนในด้านภูมิศาสตร์ ราชรัฐลักเซมเบิร์ก  เป็นจุดติดต่อระหว่างฝรั่งเศส และเยอรมัน เป็นหนึ่งในประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีจำนวนประชากรไม่ถึง 600,000 คน ในพื้นที่ขนาดเล็กมากเพียงแค่ประมาณ 2,600 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 0.5 ของประเทศไทยเท่านั้น เรียกง่าย ๆ ว่าเล็กกว่าบางจังหวัดของเราอย่างหนองคายเสียอีก แต่เรื่องที่น่าสนใจคือถึงแม้ประชากรไม่มากแต่มีระดับความมั่งคั่งสูงติดอันดันโลก และที่มากไปกว่านั้น ถึงแม้จะมีภาษาลักเซมเบิร์กเป็นภาษาประจำชาติ แต่ภาษาเยอรมันและภาษาฝรั่งเศสก็ถูกใช้อย่างแพร่หลายในบริบททางกฎหมายและการปกครอง และทั้งสามภาษามีสถานะเป็นภาษาราชการโดยนิตินัยอีกด้วย

 

ทำไม ลักเซมเบิร์ก มีภาษาราชการมากถึง 3 ภาษา

 

   หลังจากลักเซมเบิร์กประสบความพ่ายแพ้สงครามหลายครั้งจนตกอยู่ภายใต้การปกครองของชาติต่าง ๆ เช่น สเปน ฝรั่งเศส ออสเตรีย และรัสเซีย จนกระทั่งสิ้นสุดศตวรรษที่ 19 ในปี ค.ศ.1815 ลักเซมเบิร์กได้รับอิสรภาพอีกครั้งจากการประชุมใหญ่เวียนนา ในฐานะรัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา แบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ จนกระทั่งปี ค.ศ.1867 จากสนธิสัญญาลอนดอน ทำให้มีการแบ่งดินแดน และสิทธิในการปกครองตนเอง ทำให้ประชาชนจะประเทศรอบข้างจึงเริ่มอพยพเข้ามาเพิ่มขึ้น จนทำให้มีการหลอมรวมวัฒนธรรมทางภาษาไปโดยปริยาย ซึ่งตามกฎหมาย ผู้อยู่อาศัยทุกคนมีสิทธิที่จะเลือกใช้ภาษาใดภาษาหนึ่งในสามภาษาดังกล่าวในการติดต่อราชการและสถานที่ทั่วๆไป และจะได้รับการบริการเป็นภาษานั้น ๆ อีกด้วยมีจากการสำรวจใน ค.ศ. 2009 ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่ประชากรลักเซมเบิร์กส่วนใหญ่มีความถนัดมากที่สุดถึง 99% ตามมาด้วย ลักเซมเบิร์ก 82% เยอรมัน 81% และภาษาอังกฤษ 72 %

   เรื่องเอกสารราชการและการติดต่อระดับพิธีการ มักจะใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นหลัก และยังปรากฏตามสื่อบันเทิงในชีวิตประจำวันมากมาย นอกจากนี้ ภาษาฝรั่งเศสยังถูกใช้ในบริบทของการเมือง และกฎหมาย อาทิ การอภิปรายในรัฐสภา, การตัดสินคดีความ, การออกเอกสารสำคัญของรัฐบาล เช่น หนังสือเดินทาง และสัญญาการซื้อขายต่าง ๆ  เป็นต้น ซึ่งยังไม่นับรวมภาษาท้องถิ่นและภาษาโปรตุเกส ที่เริ่มมีบทบาทสำคัญในลักเซมเบิร์กมากขึ้นจากการมีผู้อพยพชาวโปรตุเกส 

 

   Education First สถาบันสอนภาษาอังกฤษระดับโลก ได้เผยแพร่รายงานการจัดอันดับทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของแต่ละประเทศ ประจำปี 2017 โดยสำรวจทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของผู้คนใน 80 ประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก และแบ่งผลการจัดอันดับออกเป็น 5 กลุ่มประเทศ คือ กลุ่มประเทศที่มีทักษะภาษาอังกฤษ สูงมาก สูง ปานกลาง ต่ำ และ ต่ำมาก ซึ่งจากข้อมูลข้างต้น สรุปออกได้ว่า ประเทศที่ประชากรมีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษดีที่สุดในโลก คือ เนเธอร์แลนด์ ฟินแลนด์ และลักเซมเบิร์ก

 

 

ลักเซมเบิร์ก

 

 

ความลับของการศึกษาที่ดี……มาจากรากฐานของสุขภาพจิต

 

   ด้วยลักษณะประเทศการที่ประเทศมีพื้นที่ปิด ไม่มีทางออกสู่ทะเล จึงผลักดันให้ทำให้ต้องดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจแบบเปิดเสรีทางการเงิน เพื่อดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติเข้ามาและเพื่อในดำเนินนโยบายได้ตามเป้าหมาย ลักเซมเบิร์กจึงค่อย ๆ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ก้าวหน้า ตั้งแต่ ถนน ระบบขนส่ง ระบบการสื่อสาร ระบบการเงิน และนโยบายเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าขาดยุทธศาสตร์สำคัญอย่างพัฒนาแรงงานผ่านระบบการศึกษา

   โดยนโยบายการศึกษาส่วนใหญ่ จะขึ้นตรงต่อรัฐบาล มีสวัสดิการเรียนฟรีตั้งแต่อายุ 4 – 16 ปี  ซึ่งการศึกษาภาคบังคับจะเป็นลักษณะเน้นความหลากหลายภาษา ตั้งแต่ศึกษาขั้นพื้นฐานระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานของที่นี่มีคำเรียกว่า Lycées  จะประกอบไปด้วยโรงเรียนอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา ส่วนในระดับอุดมศึกษาที่นี่จะมีมหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียวเท่านั้น คือ เรียกว่ามหาวิทยาลัยลักเซมเบิร์ก 

   จุดเน้นที่เป็นเสน่ห์ของการดำเนินนโยบายการศึกษา และอาจเป็นส่วนสำคัญในการทะยานสู่ประเทศติดอันดับโลก เพราะที่นี่มีสุดยอดระบบการดูแลสุขภาพจิต โดยรายงานของ Business Insider ฉบับปี 2017  พบว่าประชากรมีอายุขัยเฉลี่ยอยู่ที่ 82 ปี สูงกว่าค่ามาตรฐานปัจจุบันที่ 54 ปี การรักษาสุขภาพจิตลักเซมเบิร์กมุ่งเน้นไปที่รูปแบบการศึกษาเชิงบวกที่สามารถเชื่อมโยงทักษะด้านคุณภาพชีวิตและทักษะแห่งความสำเร็จเข้าด้วยกัน ที่นี่จะสอนให้วัยรุ่นค้นพบจุดแข็งที่เป็นเอกลักษณ์ของตนซึ่งแตกต่างจากวิธีการสอนแบบเดิมที่ส่งเสริมให้เด็กสร้างตัวตนเหมือน ๆ กัน ซึ่งวิธีลักษณะนี้จะช่วยทำลายความเจ็บป่วยทางจิต และสร้างพลเมืองที่มีความสุข และมีคุณภาพมากขึ้น

   อ้างอิงจากรายงานการจัดอันดับของ Zipjet สตาร์ทอัพด้านสถิติจากสหราชอาณาจักร เผยแพร่เอกสารงานวิจัยที่ว่าด้วยปัจจัยที่ส่งผลหรือก่อให้เกิดความเครียดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อาทิ อัตราว่างงาน ภาระหนี้สิน ความปลอดภัย ความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา ไปจนถึงปัจจัยเล็ก ๆ เวลาที่แดดส่องซึ่งมีผลต่อสุขภาพของผู้คนมาประกอบการวิจัยด้วย

   ในการจัดอันดับครั้งนี้ ลักเซมเบิร์ก เป็นประเทศที่เครียดน้อยที่สุดอันดับ 2 รองจากเมือง สตุ๊ทการ์ท ประเทศเยอรมัน ในขณะที่ กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับกลางค่อนไปทางต่ำในอันดับที่ 104 ใกล้เคียงกับเมืองกาฎมาณฑุ ประเทศเนปาล

 

เมื่อนักเรียนมีความสุข ทำให้ใคร ๆ ก็อยากเป็นครู

 

   ข้อมูลการสำรวจจากองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ทำจัดอันดับรายได้เฉลี่ยของคุณครูแต่ละประเทศทั่วทุกมุมโลกที่มีรายได้สูงสุด ระบุไว้ว่า ลักเซมเบิร์ก เป็นประเทศที่ครูมีรายได้เยอะที่สุดในโลกโดยค่าเฉลี่ยเริ่มต้นอาชีพอยู่ที่  182,000 บาท เมื่อทำงานครบสิบปีจะอยู่ที่ 241,000 บาท และเงินเดือนสูงสุดคือ  326,000 บาท

   โดยเรื่องวารสารด้านสังคมศาสตร์ Visual Capitalists ได้ขยายความเพิ่มเติมว่า การที่ประชากรในประเทศร่ำรวยส่วนใหญ่ให้คะแนนความสุขในชีวิตประจำวันสูงกว่าประเทศอื่นๆ ที่กำลังพัฒนาหรือยากจน เป็นเพราะประเทศเหล่านี้มีระบบที่ช่วยเหลือและสนับสนุนให้ประชากรของตัวเองมีความปลอดภัยในชีวิตและมีสวัสดิการที่ดีในด้านต่างๆ โดยที่สำคัญสุดคือสวัสดิการด้านสุขภาพจิต

 

สุขภาพจิต เรื่องไม่เล็กของประเทศเล็ก ๆ ที่ทำให้ “ลักแซมเบิร์ก” ติดอันดับโลกแทบทุกด้าน 

และเรื่องทั้งหมดนี้มีจุดเริ่มต้นมาจาก “การวางรากฐานการศึกษา”

 

อ้างอิง

https://read.oecd-ilibrary.org/education/education-at-a-glance-2016_eag-2016-en#page422

https://www.bustle.com/p/what-does-mental-health-care-look-like-abroad-this-is-how-9-countries-treat-mental-illness-2885010

https://www.visualcapitalist.com/worlds-happiest-countries-2023/?fbclid=IwAR2CGtjCAcXAkNCdO3j63JaCZmdSThteADfBthgj565twC_cBFVhxqofq-8#google_vignette

https://en.wikipedia.org/wiki/Education_in_Luxembourg

https://luxembourg.public.lu/en/living/education/fundamental-education.html

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS