การทำข้อสอบเราควรเชื่อสัญชาตญาณแรกไหม

A A
Sep 23, 2021
Sep 23, 2021
A A

การทำข้อสอบเราควรเชื่อสัญชาตญาณแรกไหม

 

     เคยได้ยินเรื่องที่บอกว่าให้เชื่อในคำตอบแรกที่ผุดขึ้นมาในการทำข้อสอบไหมครับ นั่นแหละ ที่เขาเรียกกันว่า “สัญชาตญาณ”

 

ผมเชื่อว่าหลายคนโดยเฉพาะนักเรียนใช้แนวทางนี้บ่อย โดยเฉพาะเมื่อต้องทำข้อสอบแบบปรนัยแล้วด้วยล่ะก็ การงัดสัญชาตญาณแรกขึ้นมาใช้ ดูจะเป็นเทคนิคประจำของใครหลายคนเลยทีเดียว แต่รู้ไหมครับว่าสัญชาตญาณแรกเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน เพราะมันไม่มีหลักฐานมาอ้างอิงอะไรในความถูกต้อง และหลายครั้งเลยทีเดียวที่เรารู้สึกตงิด ๆ กับการตัดสินใจจากสัญชาตญาณนั้น นั่นเป็นเพราะจากประสบการณ์ที่ผ่านมามีทั้งที่ตัดสินใจถูก และตัดสินใจผิด คำถามก็คือเมื่อไหร่กันที่เราควรเลือกทำตามในสัญชาตญาณ

     เชื่อหรือไม่ว่าการวิจัยทางจิตวิทยาหลายครั้ง ยืนยันว่า การตัดสินใจโดยเชื่อสัญชาตญาณแรกมักจะได้คำตอบที่ผิดมากกว่าถูกเสมอ และแม้ว่าเรื่องนี้ดูจะเป็นข้อเท็จจริงที่ผ่านการพิสูจน์กันมา แต่หลายคนยังคงเชื่อเรื่องนี้แบบไม่ลังเล

     Daniel Kahneman นักเศรษฐศาสตร์ด้านพฤติกรรมที่ได้รับรางวัลโนเบล กล่าวว่า ทันทีที่คำตอบแรกผุดขึ้นมาในจิตใจของเรา จะถูกเรียกว่า ระบบ 1 (System 1) ซึ่งเป็นการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว ต่างจากการตัดสินใจที่ผ่านการคิดแบบใช้วิจารณญาณซึ่งจะช้ากว่า หรือที่เรียกว่า ระบบ 2 (System 2) สัญชาตญาณไม่ได้เกิดขึ้นจากการคาดเดาแบบไม่มีเหตุผลอย่างที่เห็นกันเสมอไป มันสามารถเกิดขึ้นได้จากการประเมินสถานการณ์อย่างรวดเร็ว เราอาจจะไม่ได้ตระหนักถึงมันตลอด แต่สมองของเราจะทำการเปรียบเทียบสถานการณ์ในปัจจุบันกับความทรงจำของเหตุการณ์ที่เกิดก่อนหน้านี้ ดังนั้น เมื่อเราใช้สัญชาตญาณในการตัดสินใจอะไรก็ตาม อันที่จริงแล้วมันมักจะมาจากประสบการณ์ที่ผ่านมาของเราเสมอ

     ปัญหาของการตัดสินใจแบบนี้ก็คือ “อคติ” หลายครั้งที่เรามีแนวโน้มที่จะตัดสินใจจากสิ่งที่เราเคยมีชุดความเชื่อเดิมมาก่อนแล้ว เราต้องการรับมือกับปัญหาด้วยวิธีที่ง่ายกว่า เราไม่อยากเปลี่ยนจากสิ่งที่เราได้ลงทุนไปแล้วไม่ว่าจะด้วยเวลาหรือเงินทอง และจะรู้สึกฝังใจกับเหตุการณ์แบบนี้เป็นพิเศษเมื่อพบว่าคำตอบที่เลือกในครั้งแรกเป็นสิ่งที่ถูกต้องหลังจากที่เราเปลี่ยนใจ

      แต่ก็ใช่ว่าการเชื่อสัญชาตญาณแรกเป็นเรื่องไม่ถูกต้องเสมอ หลายคนตัดสินใจจากการใช้สัญชาตญาณได้ดี ประเด็นอยู่ที่ว่า เมื่อไหร่กันที่เราควรเชื่อในสัญชาตญาณ

    เคยมีการทดลองอภิปัญญา (Metacognition) กับนักศึกษาในระดับปริญญาตรี เพื่อทดสอบว่าเราควรเชื่อ และทำตามสัญชาตญาณตอนไหน อภิปัญญา คือ ความสามารถในการเรียนรู้กระบวนการความคิดของตัวเอง รู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ คิดอะไรอยู่ รู้ว่าตัวเอง รู้ หรือ ไม่รู้ อะไร และใช้ความคิดเหล่านั้นเพื่อตรวจสอบและควบคุมพฤติกรรม

 

ข้อสอบ อัตนัย

 

     การทดลองที่ 1 เราขอให้นักศึกษาทำข้อสอบแบบปรนัย และทำเครื่องหมายให้คะแนนความมั่นใจในแต่ละคำถาม โดยทำเครื่องหมายว่า “เดา” หรือ “ทราบ” เพื่อระบุว่าพวกเขามั่นใจเกี่ยวกับคำตอบแรกของพวกเขามากน้อยแค่ไหน และหากมีการแก้ไขคำตอบในคำถามข้อใด ให้ระบุด้วยว่ามีการแก้ไขคำตอบด้วย

   อภิปัญญาของนักศึกษาในรูปแบบของการให้คะแนนความมั่นใจสำหรับแต่ละคำถาม เป็นตัวทำนายที่ยอดเยี่ยมว่าพวกเขาตัดสินใจถูกหรือไม่ และด้วยเหตุผลนี้พวกเขาควรเปลี่ยนคำตอบรึเปล่า ส่วนใหญ่พบว่า การแก้ไขคำตอบของนักศึกษา เปลี่ยนจากสัญชาตญาณแรกเป็นทางเลือกใหม่ ส่งผลให้ได้คำตอบที่ถูกต้องมากกว่าการยึดคำตอบแรกไว้เมื่อพวกเขาไม่มั่นใจในคำตอบของคำถามนี้ตั้งแต่ตอนแรก

     ในการทดลองครั้งที่ 2 เราเลือกพิจารณาจากการยึดคำตอบแรกไว้ โดยให้นักศึกษาให้คะแนนความมั่นใจในระดับ 1-5 นักศึกษาสามารถพิจารณาคำถามที่พวกเขาคิดว่าจะตอบถูก หรือตอบไม่ถูก โดยการให้คะแนนเหล่านี้เป็นแนวทาง จากการทดลองนี้เราพบว่า คำตอบที่พวกเขาเลือกยึดไว้จากสัญชาตญาณแรกมักจะทำถูกมากกว่า

    นั่นแปลว่า ทั้งการแก้ไขคำตอบ และการยึดคำตอบจากสัญชาตญาณแรก เป็นคำตอบที่ถูกต้องเกือบทั้งหมด จากสถานการณ์ที่ดูเหมือนขัดแย้ง และ งงงวยนี้ หากเราให้นักศึกษาเลือกที่จะยึดหลักไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง ระหว่าง “เชื่อในสัญชาตญาณแรกเสมอ” หรือ “เปลี่ยนความคิดของคุณเสมอ” อันไหนจะดีกว่า

    แต่ถ้าเราให้แนวทางกับนักศึกษามากกว่านั้นเพียงเล็กน้อย ด้วยการใช้บันทึกเกี่ยวกับความมั่นใจของ อภิปัญญาของพวกเขา ซึ่งช่วยให้พวกเขาเลือกได้ว่า เมื่อใดควรยึด และเมื่อใดควรแก้ไข ทุกคนจะรู้สึกถึงระดับความมั่นใจของตัวเองเมื่อทำการตัดสินใจ เครื่องมือนี้จะทำให้พวกเขามีตัวเลือกมากขึ้น กุญแจสำคัญในการรู้ว่าเมื่อใดควรยึดติดกับสัญชาตญาณแรกและเมื่อใดควรเปลี่ยนก็คือ การติดตามความรู้สึกมั่นใจในช่วงเวลาที่คุณตัดสินใจ ระหว่างการทดสอบนี้ ทั้งการทบทวนและการยึดติดกับคำตอบเดิมมีโอกาสได้คำตอบที่ถูกต้องมากกว่าคำตอบที่ไม่ถูกต้อง มีเพียงการติดตามระดับความมั่นใจของตัวเองเท่านั้น ที่คาดการณ์ว่าเมื่อใดเหมาะสมกว่ากัน ด้วยรูปแบบอภิปัญญาแบบง่าย ๆ นั้น นักศึกษาจะสามารถระบุได้ดีว่า ควรแก้ไขคำตอบใด หรือ ควรยึดอันเดิมไว้

    แน่นอนว่าเราตกอยู่ภายใต้การเข้าใจผิดและอคติมากมาย สิ่งนี้นำไปสู่ปัญหาในเกือบทุกด้านของการตัดสินใจ ปัญหาเหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดจากข้อเท็จจริงที่ว่า ความเชื่อของเรามักจะก่อตัวขึ้นก่อนหรือหลังจากการตัดสินใจเป็นเวลานาน ไม่ใช่ “ในขณะนั้น” เมื่อไตร่ตรองแล้วสิ่งต่าง ๆ มันอาจต่างไปจากที่เป็นจริงมาก การติดตามความรู้สึกของคุณในขณะตัดสินใจในตอนแรกสามารถให้ข้อมูลที่มีค่าได้ในภายหลัง สามารถช่วยให้คุณตัดสินใจได้อย่างมีข้อมูลมากขึ้น และจะช่วยเตรียมคุณให้พร้อมสำหรับการแก้ไขได้ดีเมื่อจำเป็น ความเชื่อที่ไตร่ตรองของเรามักจะแตกต่างจากประสบการณ์จริง ในฐานะนักการศึกษา ครู หรือผู้ปกครอง นี่อาจเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะระมัดระวังในการให้คำแนะนำตามความเชื่อส่วนตัว หรือ จากประสบการณ์ส่วนตัวที่ผ่านมา และสามารถส่งเสริมทักษะอภิปัญญาที่เป็นประโยชน์จากการวิจัย

    แต่ถึงอย่างไรคุณยังคงสามารถใช้สัญชาตญาณแรกในการตัดสินใจ ตราบเท่าที่คุณมั่นใจในคำตอบนั้น นั่นแปลว่า อย่าใช้สัญชาตญาณแรกในการเลือกคำตอบ แต่จงใช้สัญชาตญาณในการเพิ่มความมั่นใจให้กับคำตอบนั้น

อ้างอิง

 

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS