เมื่อเริ่มมีนิสัยรำคาญเสียง…คุณกำลังตกอยู่ในความเสี่ยงเป็น “อัจฉริยะ”

A A
Jan 7, 2022
Jan 7, 2022
A A

เมื่อเริ่มมีนิสัยรำคาญเสียง…คุณกำลังตกอยู่ในความเสี่ยงเป็น “อัจฉริยะ”

 

เสียงหนึ่งเสียงสามารถทำให้คนหนึ่งคนทรมานได้แค่ไหน เคยเป็นกันบ้างไหม เวลาเราหงุดหงิดรำคาญอะไรแบบไม่มีสาเหตุ ส่งผลให้เราเกิดอารมณ์ต่าง ๆในด้านลบ กรณีนี้คือการเกลียดเสียง เพียงเสียงจุกจิกเล็กน้อยไม่ว่าจะเป็น เสียงเคี้ยวอาหาร เสียงคีย์บอร์ด เสียงกลืนน้ำลาย แม้กระทั่งเสียงลมหายใจ อาจทำให้คนกลุ่มนี้มีอาการหัวรัดฟัดเหวี่ยงทำลายข้าวของได้เลย ซึ่งเราเรียกอาการคนกลุ่มนี้ว่า “Misophonia” หรือ โรคเกลียดเสียง นั่นเอง

ทำความรู้จักกับโรคเกลียดเสียง

โรคเกลียดเสียง คือชื่อเล่นของ โรคไวต่อเสียงบางอย่าง จัดอยู่ในประเภทโรคจิตเวชชนิดหนึ่ง มีสิ่งเร้าเป็นเสียงและโดยส่วนมากเป็นเสียงที่มาจากปากนั่นเอง เมื่อเสียงมีการทำงาน จะสร้างความโกรธและหงุดหงิดที่ยากจะควบคุมแก่ผู้ป่วย โดยมีผลมาจากสมองส่วน Anterior Insular Cortex ที่ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์ด้านลบและตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นภายนอกทำงานได้ดีกว่าคนปกติ ทำให้เมื่อได้ยินเสียงที่น่ารำคาญ สมองจะตีความเสียงธรรมดาเหล่านี้เป็นเสียงอันตรายและต้องเอาตัวรอด ระดับอาการของแต่ละคนจากการถูกกระตุ้นแต่ละครั้งจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับการประมวลผลของสมอง สามารถเกิดขึ้นได้ในประชากรร้อยละ 20 ของโลกเท่านั้น

โรคเกลียดเสียง

ลองสำรวจตัวเองกันดีๆ คุณเป็นหนึ่งในนั้นหรือเปล่า หากใครกำลังเผชิญอาการเหล่านี้อย่าพึ่งกังวลใจไป เพราะล่าสุดมีงานเรื่องกระบวนการรับรู้ทางสมองสำหรับกลุ่มผู้มีอาการอ่อนไหวต่อเสียงมากเป็นพิเศษ

สสารตั้งต้นของงานวิจัยนี้มาจาก การศึกษาพฤติกรรมของอัจฉริยะผู้สร้างสรรค์ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ ในกรณีนี้คือ ชาร์ล ดาร์วิน นักธรรมชาติวิทยา ผู้คิดค้นวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต หรือ แอนตัน เชคอฟ นักเขียนวรรณกรรมผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในรัสเซีย การศึกษาเอกสารทางวิชาการพบว่า บุคคลอัจฉริยะผู้มากความคิดสร้างสรรค์เหล่านี้มีอาการเกลียดเสียงถึงขั้นรุนแรงถึงขนาดที่ว่าขอทำงานอย่างเงียบสงบเหมือนตายไปจากโลกนี้เลยดีกว่า

งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเธิร์น ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้การทดสอบ อาสาสมัครจำนวน 100 คน เพื่อตอบคำถามทดสอบความคิดสร้างสรรค์ให้มากที่สุดในระยะเวลาที่กำหนดไว้ท่ามกลางเสียงรบกวนอันไม่พึงประสงค์ จากการสังเกตปฏิกิริยาตอบสนองต่อเสียงของผู้ร่วมทดลองพบว่า คำตอบที่ได้มีความเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์มากที่สุดกับผู้ที่มีประสาทสัมผัสไวต่อเสียงรอบข้าง คนที่มีความอ่อนไหวต่อการรับรู้เสียงมาก ๆ มีแนวโน้มที่จะฉลาดมากกว่าคนทั่วไป หรือสรุปง่าย ๆ คือยิ่งคุณรำคาญเสียงมากเท่าไหร่คุณยิ่งมีความอัจฉริยะมากเท่านั้น

อีกหนึ่งข้อสังเกตที่สามารถใช้เป็นเหตุผลเพื่อแย้งทฤษฎีนี้ได้ จากการสำรวจจัดอันดับโดย Vouchercloud เว็บไซต์วิเคราะห์สถิติชื่อดังสัญชาติอังกฤษ ได้วิเคราะห์ปัจจัยสิ่งแวดล้อม สังคมวัฒนธรรม คุณภาพการศึกษารวมไปจนถึงค่าเฉลี่ยรวมของ IQ โดยการรวบรวมข้อมูลทางสถิติครั้งนี้ให้คำตอบว่า “ประเทศญี่ปุ่น” ครองแชมป์ประเทศที่ประชากรฉลาดที่สุดในโลก โดยเกณฑ์การตัดสินอ้างอิงจากจำนวนความสำเร็จที่นับได้ในเชิงปริมาณ ตั้งแต่ปริมาณนักเรียนดีกรีแชมป์วิชาการไปจนถึงรางวัลโนเบลทั้งหมดที่ได้รับ จุดสังเกตสำคัญของการจัดอันดับครั้งนี้ วัดจากกราฟความสำเร็จที่โตขึ้นอย่างก้าวกระโดดในช่วง 10 ปี เราอาจจะต้องกลับมาทบทวนสถานะบนเวทีโลกของญี่ปุ่นกันอีกสักครั้ง ประเทศน่ารักใส ๆ ที่กำลังจะย้ายเป็นรายชื่อแถวหน้าของ 5 มหาอำนาจโลก

แล้วทำไมเราถึงยกเรื่องความฉลาดกับประเทศญี่ปุ่นมาอยู่ในประเด็นของเสียงล่ะ ?

เพราะในบางครั้งเสียงก็เปรียบเสมือนเครื่องสะท้อนตัวตนและวัฒนธรรมของคนทั้งชาติ

เพราะในบางครั้งเสียงบางเสียงสำหรับคนบางคน ยิ่งดัง ฟังแล้วยิ่งสะใจ

ประเทศญี่ปุ่นกับอีกค่านิยมตั้งแต่บรรพบุรุษ ไม่ว่าจะก๋วยเตี๋ยว ราเม็ง อุด้ง โซบะ ไม่ใช่ปัญหา ขอความกรุณาอย่าลังเลที่จะสูดให้เต็มที่ด้วยเสียงที่ดังที่สุดเพื่อแสดงให้เห็นว่าเรากำลังเพลิดเพลินกับมื้ออาหาร ซึ่งวัฒนธรรมนี้ถือเป็นอีกนัยยะสำคัญเมื่อเราประกอบเนื้อความส่วนนี้ทั้งหมดเราพบว่า ประเทศญี่ปุ่นคือตัวแปรลับของความย้อนแย้งที่เข้ามางัดข้อทฤษฎีงานวิจัยนี้ที่อัจฉริยะสร้างได้จากนิสัยขี้รำคาญเสียง เราอาจต้องมาพลิกหน้ากระดาษมองกันใหม่ว่าปัจจัยอื่นอีกไหมที่มีความเป็นไปได้เพื่อสร้างคนเก่ง ๆเพิ่มสักคนหนึ่ง

ราเม็ง อุด้ง โซบะ

คนหนึ่งคนจะประสบความสำเร็จเป็นอัจฉริยะได้ มีแค่นิสัยขี้รำคาญเสียงมันเพียงพอรึเปล่า

เราเชื่อว่าทุกคนมีคำตอบของคำถามนี้อยู่ในใจ ในอนาคตอาจมีงานวิจัยเพื่อหาคำตอบมารองรับส่วนที่เหลือของเรื่องเหล่านี้ได้ บทความนี้ยังไม่มีข้อสรุปอย่างเป็นทางการ เว้นช่องว่างกว้าง ๆ สำหรับคำอธิบายว่าเสียงมีผลต่อการสร้างความอัจฉริยะอะไรแค่ไหนเมื่อมีก้างความย้อนแย้งบนทฤษฎีชิ้นใหญ่ที่เรียกว่า “ประเทศญี่ปุ่น”

สุดท้ายแล้ว
ที่นี่ประเทศไทย ถ้าอนาคต…อัจฉริยะสามารถสร้างจากนิสัยรำคาญเสียง คือความจริงที่เป็นไปได้
ถนนสองฝั่งข้างทางเราจะพบเจอคนอย่างอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ผ่านมุมมองหลังพวงมาลัยและที่ปัดน้ำฝน
ไม่ใช่คนตกหล่นสวัสดิการไร้บ้านอย่างทุกวันนี้

อ้างอิง
https://3c5.com/bSgmZ
https://3c5.com/yUGIW
https://3c5.com/PQPef

Tag

Share

Tag

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS