เปิดคัมภีร์อัจฉริยะ Hyperpolyglot ฝึกฝนอย่างไรให้พูดได้มากกว่า 20 ภาษา

A A
Jul 30, 2023
Jul 30, 2023
A A

เปิดคัมภีร์อัจฉริยะ Hyperpolyglot

ฝึกฝนอย่างไรให้พูดได้มากกว่า 20 ภาษา

 

เปิดคัมภีร์อัจฉริยะ Hyperpolyglot ฝึกฝนอย่างไรให้พูดได้มากกว่า 20 ภาษา

 

Hyperpolyglot คือ คนที่พูดได้มากกว่า 20-50 ภาษา และสามารถเรียนภาษาใหม่ ๆ อย่างง่ายดาย ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าคนเหล่านี้มีอยู่จริง! ตัวอย่าง Hyperpolyglot สมัยใหม่ เช่น Loannis Ikonomou นักแปล และล่ามชาวกรีกใน Europeam commission แต่ก่อนที่เราจะไปรู้จัก Hyperpolyglot ให้มากกว่านี้ เรามาทำความรู้จักคำจำกัดความของอัจฉริยะด้านภาษาระดับอื่น ๆ กันก่อน

Monolingual คนที่สามารถพูดได้เพียงภาษาเดียวซึ่งมีประมาณร้อยละ 40 ของประชากรโลก

Bilingual  คนที่สามารถใช้ทั้ง 2 ภาษาอย่างคล่องแคล่ว ซึ่งมีประมาณร้อยละ 43 ของประชากรโลก

Trilingual คนที่สามารถใช้ทั้ง 3 ภาษาอย่างคล่องแคล่ว ซึ่งมีประมาณร้อยละ 13 ของประชากรโลก

Multilingual คนที่สามารถใช้ได้ 4 ภาษาหรือมากกว่า อย่างคล่องแคล่ว ซึ่งมีประมาณร้อยละ 3 ของประชากรโลก

Polyglot คนที่สามารถใช้ได้ 5 ภาษาหรือมากกว่า อย่างคล่องแคล่ว ซึ่งพบได้ยากมากหรือมีประมาณเพียงร้อยละ 1 ของประชากรโลกเท่านั้น และเมื่อเราพูดถึง Hyperpolyglot ก็คือ คนธรรมดาที่เป็นอัจฉริยะด้านภาษา หรืออีกนัยหนึ่ง คือ มีความผิดปกติในสมองที่ทำให้มีความสามารถในการเรียนรู้ภาษามากกว่าคนทั่วไปหลายเท่า บางคนสามารถสื่อสารได้เป็นร้อย ๆ ภาษา และเรียนแต่ละภาษาในเวลาที่สั้นมาก

 

ภาษา

 

เอมิล เครบส์ (Emil Krebs) Hyperpolyglot ผู้โด่งดัง มีชีวิตอยู่ในช่วงปี 1867-1930 ความน่าสนใจอยู่ตรงที่เค้าเชี่ยวชาญ 68 ภาษา และรู้ภาษาอื่น ๆ เพิ่มเติมจนสามารถสื่อสารได้มากกว่า 120 ภาษา โดยตัวอย่างภาษาที่เค้ารู้นั้น คือ ภาษาในสหภาพยุโรปทั้งหมด ภาษาจีน ญี่ปุ่น อาหรับ ชวา มลายู เป็นต้น เรียกได้ว่าเป็นอัจฉริยะทางภาษาตัวจริงเสียงจริง

 

เรื่องของพหุภาษา หรือ พหุวัฒนธรรม มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ

 

ทั้งในประเทศไทย และ ต่างประเทศ เปรียบเสมือนการสร้างชาติโดยใช้ภาษาเป็นเอกลักษณ์ก็ว่าได้ โดยเฉพาะในช่วงแห่งการอพยพสร้างชาติใหม่ เหลือเพียงไม่กี่ชาติที่ให้ความสำคัญกับพหุภาษา เช่น สิงคโปร์ อินเดีย หรือ สวิตเซอร์แลนด์ หรือ สหภาพยุโรปในปัจจุบันที่สนับสนุนให้พลเมืองศึกษาภาษาของสหภาพยุโรปเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากภาษาอังกฤษ

ยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalisation) ทั้งในโลกออนไลน์ และการเดินทางมีเพิ่มมากขึ้น ทำให้ความสำคัญของพหุภาษากลับมาอีกครั้งแม้ว่าในช่วงหลัง ปัญญาประดิษฐ์ (AI) นวัตกรรมสมัยใหม่ที่ทำให้การแปลภาษาง่ายขึ้น ถูกต้อง และแม่นยำมากขึ้นกำลังทดสอบความสำคัญของพหุภาษาอีกครั้ง จนมาถึงการศึกษาสมัยใหม่ในยุคอินเตอร์เน็ต  และYoutube เข้ามามีบทบาทสำคัญ มี Content Creator สมัยใหม่ที่เป็น Hyperpolyglot หลากหลายคน เช่น Benny Lewis, Gabriel Wyner, Alex Rawlings

ซึ่งส่วนใหญ่เค้าเหล่านี้แชร์หลักการเรียนเป็นแบบเดียวกัน คือ การเรียนด้วยตัวเอง ตามทฤษฎี ‘Natural Approach’ การเรียนแบบธรรมชาติของ Stephen Krashen สรุปโดยย่อ คือ “Language cannot be learned or teached but by acquiring it” หมายถึง ภาษาไม่สามารถสอนหรือเรียนกันได้ แต่ต้องผ่านการรับรู้หรือการซึมซับนั่นเอง การเรียนรู้ภาษาที่ดีคล้ายกับการเรียนรู้แบบธรรมชาติของเด็กคือ นักเรียนจะต้องมี input คือ การอ่าน ฟัง ที่เข้าใจได้ง่าย ๆ ก่อน โดยในช่วงนี้ให้เน้นเรียนเรื่องที่อยากเรียนที่สนใจ และสนุกกับมัน ถ้านักเรียนพร้อมเมื่อไหร่ output หรือ พูด เขียน ก็จะออกมาเอง

 

การเรียนภาษาต่างประเทศ คือ ความสามารถพิเศษ

 

ที่เราสามารถเรียนรู้และสร้างได้ ช่วยในการฝึกความจำและสมอง ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ รวมไปถึงเป็นการพัฒนาทักษะในการแก้ไขปัญหาอื่นๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การเรียนรู้และยอมรับที่จะอยู่กับความหลากหลาย ทำให้เรารู้เท่าทัน และสามารถตอบโต้ได้ ทำให้เราเกิดมุมมองใหม่ในการใช้ชีวิต เปิดโอกาสในการเรียนรู้

การฟัง และการอ่านเป็นทักษะสำคัญ

การฟัง และการอ่านพร้อมกันเป็นวิธีการเรียนที่ดีที่สุดในช่วงเบื้องต้น เน้น resources ที่มีทั้งให้อ่าน และให้ฟัง แต่วิธีการเรียนของคนเราไม่เหมือนกัน บางคนต้องพูดบางคนต้องเห็นภาพ บางคนต้องอ่าน บางคนต้องใช้ Grammar โดยในขั้นแรกทุกคนมีวิธีจำคำศัพท์ที่แตกต่างกันไป เช่น Flash card หรือ อ่านไปเก็บคำศัพท์ไปจากภาพยนตร์

อายุไม่ใช่อุปสรรคในการเรียนรู้ภาษาใหม่ ๆ

เช่น Steve Kaufmann ที่ยังเรียนภาษาใหม่ ๆ ในวัย 50 เช่นเดียวกัน ซึ่งเค้าเคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า การไม่ได้เติบโตหรือไม่ได้อยู่ในประเทศของเจ้าของภาษาไม่ใช่เรื่องสำคัญ หรือแม้แต่การล้มเหลวจากการเรียนภาษาที่โรงเรียนในอดีต ก็ไม่ใช่ตัวตัดสินว่าใครจะเรียนภาษาต่างประเทศอื่นอีกไม่ได้

สำหรับสังคมไทยยุคนี้ เริ่มจะตื่นตัวกับการเรียนภาษาต่างประเทศอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ แต่หากลองเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่ม AEC ไม่ว่าจะเป็น พม่า ลาว มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ความเป็นพหุภาษาของสังคมไทยอาจจะน้อยกว่า

สุดท้ายแล้วการเรียนภาษาต่างประเทศไม่ได้ทำให้เรารักประเทศหรือภาษาไทยน้อยลง การเรียนภาษาต่างประเทศไม่ได้ทำให้เราสูญเสียตัวตน แต่กลับทำให้เราได้เห็นมุมมองใหม่ ๆ ของตัวเองการเรียนภาษาต่างประเทศนั่นเอง

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS