First Principles Thinking ศิลปะการตั้งคำถามที่ทำให้ Elon Musk สร้างจรวดอวกาศด้วยงบที่ถูกกว่า NASA มากถึง 98%

A A
Feb 2, 2024
Feb 2, 2024
A A

 

 

First Principles Thinking 

ศิลปะการตั้งคำถามที่ทำให้ Elon Musk สร้างจรวดอวกาศด้วยงบที่ถูกกว่า NASA มากถึง 98%

 

 

   กว่า 2,000 ปีก่อน อริสโตเติล นักปราชญ์ผู้โด่งดังแห่งยุคโบราณเคยบอกไว้ว่า โดยธรรมชาติแล้วสมองของเรา จะมีวิธีคิดเพื่อแก้ปัญหา 2 วิธี คือ Anology การคิดแบบเปรียบเทียบกับสิ่งที่เคยมีมาก่อน และ First Principles การคิดวิเคราะห์กลับไปหาที่จุดเริ่มต้นจนกว่าไม่มีเหตุผลอื่นมาค้านมันได้

 

   First Principles Thinking ชื่อนี้ฟังแล้วอาจจะดูซับซ้อน แต่ถ้าทุกคนเข้าใจหลักการพื้นฐานของเรื่องที่ต้องการศึกษาเสียก่อน จะทำให้เราจัดการทุกอย่างในโลกที่วุ่นวายนี้ได้ง่ายขึ้น ซึ่งหลักการพื้นฐานในที่นี้มีแค่ 1 อย่างเท่านั้น คือ ข้อเท็จจริงของแต่ละสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง จากนั้นเราค่อย ๆ แตกประเด็นลงมาให้เหลือแค่ข้อมูลจริงพื้นฐานหนึ่งเดียวที่แต่ละสถานการณ์นั้นมีร่วมกัน และเราค่อย ๆ คิดแก้ปัญหาจากจุดนั้น หรือภาษาชาวบ้านคือ การคิดให้ลึกเข้าไว้  ไม่ต้องเปรียบเทียบกับใคร ไม่ต้องสนว่าใครเคยสร้างอะไรมาก่อน

 

First Principles Thinking ทำงานอย่างไร ?

 

   อันดับแรกเลยคือ ลองลิสต์สมมติฐานออกมาเป็นข้อ ๆ เหตุไปสู่ผล ผลไปสู่เหตุที่มีต่อปัญหานั้น ๆ ซึ่งเรื่องนี้ก็สิ่งปกติพื้นฐานที่เราจะทำกันอยู่แล้ว เช่น เราอ้วนเพราะเรากินจุกจิก เราไม่มีเงินเก็บเพราะเราฟุ่มเฟือย เป็นต้น และจากนั้นเราค่อย ๆ นำลิสต์นั้นมาย่อยเพื่อหาหลักการพื้นฐานของมัน ซึ่งจุดสำคัญคือต้องตั้งคำถามให้ถูกต้องตรงจุด ครั้งหนึ่งที่ Elon Musk มหาเศรษฐีเจ้าพ่อนวัตกรรม นำหลักการ First Principles Thinking มาอธิบายให้เราได้เห็นภาพ จากการประชุมบริษัทประจำไตรมาส เขาเคยพูดถึงสมมติฐานทั่วไปของแบตเตอรี่ว่า มันเป็นสิ่งที่มีราคาแพงมาตลอดแล้วก็คิดว่าสถานการณ์ในอนาคตก็คงไม่ดีขึ้นไปกว่านี้ เขาจึงคำถามง่าย ๆ ในที่ประชุมว่า อะไรคือวัสดุพื้นฐานของแบตเตอรี่ ? และราคาหุ้นในตลาดของวัสดุเหล่านั้นราคาเท่าไหร่ ? คำถามเหล่านี้จุดประกายปัญหาสู่เป้าหมายใหม่ คือ จะอย่างไรให้ต้นทุนแบตเตอรี่ถูกลง ?

“We do not have an affordable car. That’s something we will have in the future. But we’ve got to get the cost of batteries down”

Elon Musk –

 

 

Elon Musk

 

 

   และสิ่งสุดท้ายที่ต้องทำคือ แก้ปัญหาใหม่ตั้งแต่ต้น เพราะเมื่อเราได้ข้อเท็จจริงทั้งหมดมาระบุและแจกแจงทีละประเด็นบนพื้นฐานความเป็นจริงแล้ว เราจะค่อย ๆ เห็นช่องทางการแก้ปัญหานั้นใหม่ตั้งแต่ต้น ในกรณีนี้ Elon Musk แก้ปัญหาด้วยการศึกษาการสร้างแบตเตอรี่เองไปเลยให้มันจบ ๆ เปิดโรงงานสำหรับเป็นส่วนประกอบในการสร้างแบตเตอรี่ขึ้นมา เขาสามารถคุมค่าใช้จ่ายได้ คุมคุณภาพได้ จนทำให้สามารถคุมราคาแบตเตอรี่ให้ถูกลงมากกว่าครึ่ง ตอบโจทย์ทุกสมมติฐานการลดต้นทุนแบตเตอรี่ที่เขาตั้งธงไว้ตั้งแต่แรก

   ถ้าหากวันนั้น Elon Musk ยังติดกับดักชุดความคิดเดิม ๆ ที่บอกกันต่อมาว่า การผลิตแบตเตอรี่รถไฟฟ้านั้นมีราคาแพง  วันนี้เราอาจจะไม่ได้เห็น Tesla Motor ในฐานะบริษัทอันดับ 1 ของโลกในอุตสาหกรรมยานยนต์ก็เป็นได้ เราคงจะไม่ได้ชายคนนี้สร้างจรวด SpaceX ด้วยงบเพียงแค่ 2% ของงบการสร้างจรวดปกติ

   อยากสร้างจรวดหนึ่งลำ จำเป็นต้องมีอะไรบ้าง ? และส่วนประกอบนั้นเราจะหาได้จากที่ไหน ? ไปซื้ออะไหล่จากจีนหรอ ? เราควบคุมคุณภาพได้ไหม ?

 

First Principle Thinking ของเรื่องราวนี้คือการหยิบข้อเท็จจริงจากคำถามเหล่านี้มาคำนวณต้นทุนสร้างจรวดลำแรกของโครงการ SpaceX

 

   ถ้าเป็นเรา เราคงตัดปัญหาโดยการหาซื้อแหล่งแบตเตอรี่ที่ถูกที่สุดอย่างจีน ใช่ไหมครับ แต่ Elon Musk กลับคิดว่าจรวดอวกาศต้องพึ่งพาแบตเตอรี่ที่ดีเท่านั้น ไม่ใช่ Spec ทั่วไปตามท้องตลาด เขาจึงค่อยถอดสูตรวัสดุสำหรับการสร้างแบตเตอรี่จนสามารถสร้างขึ้นมาได้เองอีกเช่นกัน นั่นทำให้เขาสามารถออกแบบแบตเตอรี่ที่เหมาะสมกับจรวดเขาจริง ๆ แลดต้นทุนสร้างจรวดได้มหาศาล และยังนำกรณีศึกษาจากเรื่องนี้ไปพัฒนาโครงการอื่น ๆ ของเขาอีกด้วย

เราเชื่อว่าจรวด SpaceX ยังไงก็เกิดขึ้นได้จริง ต่อให้ Elon Musk คิดเรื่องนี้แบบ Anology ก็ตาม

แต่………….

การค่อย ๆ วิจัยสำรวจจรวดอวกาศอีกลำที่โลกเคยสร้าง และพัฒนาจากสิ่งเหล่านั้นที่มีอยู่แล้ว มันง่ายกว่าต้องมานั่งสร้างใหม่ทั้งหมดแต่แรกแน่นอน แต่มันจะตอบโจทย์เขาได้ทั้งหมดไหม 

สมมติว่าการคิดแบบ Anology กินพื้นที่บนโลกไปเสียหมด วันนี้เราคงไม่มีสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ อาจจะทำงานจนสายตัวแทบขาดเพียงเพื่อมาจ่ายค่าแบตเตอรี่ หรือมีโอกาสได้สัมผัสการท่องเที่ยวบนอวกาศด้วยตัวเองในชั่วชีวิตนี้

“Physics teaches you to reason from first principles rather than by analogy”

กฎฟิสิกส์ สอนให้คุณรู้จักใช้เหตุผลจากหลักการพื้นฐานได้มากกว่าหลักการเปรียบเทียบ

ความเป็นเหตุเป็นผล ทำให้กฎของฟิสิกส์ และ First Principles Thinking มีจุดร่วมเดียวกัน

    นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมวิธีการนี้จึงตอบโจทย์อัจฉริยะหัวนวัตกรรมได้เป็นอย่างดี ซึ่งไม่ได้มีแค่ Elon Musk เท่านั้น Jeff Bezos เจ้าพ่ออาณาจักร E-Commerce อย่าง Amazon รวมไปถึง Reed Hastings ผู้ผลิกโฉมวงการภาพยนตร์ด้วยการก่อตั้ง Netflix ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วผ่านพ้นวิกฤตปัญหาด้วย First Principles Thinking เหมือนกัน 

 

   อย่างที่ Aristotle นักปราชญ์ต้นเรื่องของแนวคิดนี้ได้อธิบายไว้ว่า First Principles Thinking เป็นหลักการง่าย ๆ ที่มารากฐานของความเข้าใจเรื่องพื้นฐานสรรพสิ่ง และสิ่งนี้จะเป็นกุญแจสำคัญในการค้นหาความจริงอย่างเป็นระบบ

 

อ้างอิง

https://shorturl.asia/azk3p

https://shorturl.asia/IDpwL

https://shorturl.asia/rAIys

https://shorturl.asia/DYwPf

https://shorturl.asia/LnfPl

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS