“ภาษาบนโลก” ส่งผลต่อวิธีคิดของลูกคุณได้อย่างไร
เรารู้จักภาษาบนโลกนี้กี่ภาษากันบ้าง ที่คุ้นเคยผ่านตาอาจจะมีประมาณ 10 ภาษา แต่ใช้ในชีวิตประจำวันที่เราใช้กันอยู่มักไม่เกิน 2-3 ภาษา ทั้งใช้ในเอกสารสำคัญ ตัวบทกฎหมาย นโยบายการศึกษา ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจและสังคม คุณลักษณะด้านสิ่งแวดล้อม หรือการประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ล้วนเห็นได้ว่าภาษามีบริบทแวดล้อมอยู่ในชีวิตประจำวันเราทั้งสิ้น
ปัจจุบันมีภาษาที่คนทั่วโลกใช้ในเอกสารอยู่ 7,000 ภาษา มีคนใช้ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือสื่อสารประมาณ 1.35 พันล้านคนทั่วโลก และถ้าเรียนภาษาจีนกลางจะสามารถพูดคุยกับผู้คนเพิ่มได้อีกกว่าพันล้านคนทั่วโลก และจะสามารถพูดคุยกับคนได้เพิ่มขึ้นอีก 650 ล้านคนถ้าเรียนภาษาฮินดี
นอกเหนือจากการสื่อสารแล้วภาษามีประโยชน์อย่างไร
นอกจากภาษาจะเป็นสิ่งที่เป็นใบเบิกทางแล้ว ภาษาคือตัวกำหนดวัฒนธรรม ความคิด พฤติกรรมของผู้คนที่มาจากภาษานั้น ๆ นักภาษาศาสตร์ได้พบว่าภาษาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม และวัฒนธรรมมีผลกระทบต่อวิธีคิดของบุคคล เช่น หลายภาษามีระบบเพศตามหลักไวยากรณ์ ซึ่งภาษาอังกฤษไม่มี สีมีความแตกต่างกันในบางภาษา เช่นในบางภาษาไม่มีชื่อแยกสำหรับสีส้มและสีเหลืองแม้ว่าผู้คนจะรู้ว่าสองสีนี้มีความแตกต่างกัน หรือวิธีการเรียกสีไฟจราจรในญี่ปุ่นจากสีเขียวเป็นสีน้ำเงินเป็นต้น การเรียนภาษาที่หลากหลายจะเพิ่มโอกาสในการเชื่อมต่อและเปิดประตูสู่ประโยชน์มากมาย
ภายใน 8-12 เดือน ทารกจะเริ่มให้ความสนใจกับเสียงที่เกิดขึ้นในภาษาแม่และเริ่มสูญเสีย “หู” สำหรับการฟังภาษาอื่น ๆ ดังนั้นหากเด็ก ๆ ได้ฟังภาษาที่สองตั้งแต่แรกเกิดพวกเขาจะยังสามารถแยกแยะเสียงภาษาอื่น ๆ ได้ ดังนั้นหากต้องการให้ลูก ๆ ของคุณเชี่ยวชาญภาษาอื่น ๆ ก็ควรเริ่มตั้งแต่พวกเขายังเล็ก ๆ ให้ได้มากที่สุด
ภาษาส่งผลต่อสมองตั้งแต่ยังเล็ก
นอกจากนี้การเรียนภาษาส่งผลต่อสมองและทักษะในชีวิตแบบที่เราคาดไม่ถึงได้อีกด้วย มีงานวิจัยพบว่าการให้เด็กได้เรียนภาษามากกว่า 1 ภาษาตั้งแต่ยังเล็กนั้นนอกจากจะมีพัฒนาการทางด้านภาษาแล้วยังช่วย
พัฒนาทางปัญญาในวงกว้างอีกด้วย การศึกษายังแสดงให้เห็นว่าสมองของทารกจากครอบครัวที่พูดได้สองภาษานั้นเปิดกว้างมากขึ้นในการเรียนรู้เสียงภาษาใหม่ เมื่อเทียบกับทารกที่มาจากครอบครัวที่พูดภาษาเดียว
นอกจากนี้เด็กพูดมากกว่าหนึ่งภาษามีความจำที่ดีกว่าและเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ทางปัญญาและมีความยืดหยุ่นทางจิตใจมากกว่าเด็กที่พูดภาษาเดียว งานวิจัยแสดงให้เห็นอีกด้วยว่าเด็กที่เรียนภาษาต่างประเทศนั้นใช้ภาษาแม่ของตนเองได้ดีกว่านักเรียนที่ไม่ได้เรียนสองภาษา
งานวิจัยจาก Dr. Patricia Kuhl จาก Institute for Learning and Brain Sciences แห่งมหาวิทยาลัย Washington แสดงให้เห็นว่าภายใน 8-12 เดือน ทารกจะเริ่มให้ความสนใจกับเสียงที่เกิดขึ้นในภาษาแม่และเริ่มสูญเสีย “หู” สำหรับการฟังภาษาอื่น ๆ ดังนั้นหากเด็ก ๆ ได้ฟังภาษาที่สองตั้งแต่แรกเกิดพวกเขาจะยังสามารถแยกแยะเสียงภาษาอื่น ๆ ได้ ดังนั้นหากต้องการให้ลูก ๆ ของคุณเชี่ยวชาญภาษาอื่น ๆ ก็ควรเริ่มตั้งแต่พวกเขายังเล็ก ๆ ให้ได้มากที่สุด
“ภาษาคือตัวกำหนดมุมมองของโลก”
ดร. Katherine Kinzler แห่งมหาวิทยาลัย Cornell ได้พบว่าเด็กที่พูดได้หลายภาษามีประสบการณ์ทางสังคมที่มากกว่า สื่อสารได้ดีกว่า ทั้งยังช่วยให้มีมุมมองเกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมที่ช่วยกำหนดรูปแบบภาษาอีกด้วย เพราะทุกภาษาในโลกแสดงให้เห็นถึงการมองโลกในแง่มุมที่ต่างกัน ความแตกต่างในโครงสร้างของภาษากับรูปแบบและกฎตรรกะที่เฉพาะเจาะจงส่งผลต่อการมองโลกของบุคคล เช่น คนพูดภาษาเยอรมันมักมีความสัมพันธ์กับการดำเนินการกับเป้าหมายสุดท้าย ตัวอย่างเช่น เมื่อแสดงรูปภาพของผู้หญิงคนหนึ่งกำลังเดินอยู่ในที่จอดรถ ในภาษาอังกฤษมักจะบอกว่าผู้หญิงคนนั้นกำลังเดินอยู่ ในทางกลับกัน คนที่พูดภาษาเยอรมันจะพูดว่ามีแนวโน้มว่าผู้หญิงจะเดินไปที่รถของเธอในวันนั้น ภาษาและวัฒนธรรมมักถูกยึดโยงกันไว้เสมอซึ่งหมายความว่าภาษาที่พูดย่อมสะท้อนถึงค่านิยมและความเชื่อของคน ๆ นั้น
การศึกษาภาษาที่หลากหลายอาจทำให้เด็ก ๆ มองเห็นโลกใบนี้ด้วยเลนส์ที่ต่างไป และอาจทำให้พวกเขาเข้าใจบริบทของผู้คนอีกฟากโลกเพิ่มขึ้นอีกก็เป็นได้ ดังนั้น หากคุณต้องการให้ลูก ๆ เรียนรู้โลกใบใหม่ ลองให้พวกเขาเรียนรู้ภาษาใหม่ ๆ ซึ่งอาจเป็นประตูบานแรกที่นำไปสู่ความเข้าใจและเปลี่ยนมุมมองต่าง ๆ ที่พวกเขาอาจไม่เคยรู้
อ้างอิง
https://www.daytranslations.com/blog/language-shapes-thinking
https://www.gofluent.com/blog/how-language-affects-the-way-we-think
https://www.pandatree.com/reason_foreign_language