อำนาจนิยมมีจุดเริ่มต้นมาจากบ้านและโรงเรียน

A A
Apr 6, 2022
Apr 6, 2022
A A
  • อำนาจนิยมสามารถเกิดขึ้นเริ่มต้นจากในบ้าน และพบได้จากในโรงเรียนซึ่งการปกครองเชิงอำนาจนี้บั่นทอนทักษะในการคิดเชิงวิพากษ์ ลดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณลง
  • การหลุดจากออกกรอบการศึกษาแบบอำนาจนิยมก็คือ “การศึกษา” อีกเช่นเดียวกัน การให้อิสรภาพในการเรียนรู้และเปิดโอกาสในการตั้งคำถามอาจเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของความเข้าใจหลักการนามธรรมของประชาธิปไตยและความเสมอภาคได้ดี
  • “บ้าน” คือจุดเริ่มต้นหากเด็ก ๆได้โตในครอบครัวที่เป็นประชาธิปไตยเด็กจะมีพัฒนาการที่ดี และเมื่อเขาได้รับการปฎิบัติด้วยความเคารพและความเข้าใจ จะส่งผลให้พวกเขามีความรับผิดชอบ เพิ่มความนับถือตัวเองเข้าใจสิทธิในร่างกายทั้งของตัวเองและคนอื่นมากขึ้น

ลองนึกกันเล่น ๆ ว่าตอนเด็ก ๆ เราเคยโดนครูสั่งอะไรหรือพ่อแม่สั่งให้ทำอะไรที่ไม่ชอบบ้างไหม แล้วตอนนี้เรากำลังใช้อำนาจสั่งนักเรียนหรือลูกตัวเองทำแบบเดียวกันบ้างหรือเปล่า บ่อยครั้งที่ความสัมพันธ์ภายในบ้าน ในโรงเรียน ในสังคมหล่อหลอมให้เด็ก ๆ เติบโตไปเป็นคนที่ใช้อำนาจในทางที่ผิดอยู่บ่อย ๆ หรือเขาอาจจะเติบโตไปกลายเป็นคนที่ตัวเองเคย “เกลียด” ตอนเด็ก ๆ โดยที่เขาเองก็ไม่รู้ตัวก็เป็นได้

บางครั้งคนเป็นพ่อแม่ก็อาจใช้อำนาจต่อลูก ๆ โดยไม่ทันรู้ตัว ก่อนที่เราจะบอกว่าลูก ๆ ของเราไม่เชื่อฟังหรือดื้อรั้นให้ถามตัวเองว่าเรากำลังพยายามใช้เหตุผลกับพวกเขาจริง ๆ หรือเราแค่กำลังอยู่ในการต่อสู้เชิงอำนาจกันแน่ ตัวอย่างเช่น ถ้าเราบอกให้ลูกสาวใส่กระโปรงแต่เขายืนกรานว่าจะใส่กางเกง แต่คุณก็ยังยืนกรานด้วยน้ำเสียงที่แน่วแน่ว่าเขาควรเชื่อฟังคำสั่งของคุณและใส่กระโปรงตามที่บอก จากเหตุการณ์นี้การโต้แย้งก็เริ่มต้นขึ้น สิ่งเดียวเกิดขึ้นในการโต้แย้งนี้คือความต้องการของคุณและลูกไม่ตรงกันและกลายเป็นว่าลูก ๆ นั้นไม่เชื่อฟังคุณ จึงกลายเป็นการต่อสู้เชิงอำนาจและคุณเองก็อาจเป็นฝ่ายชนะเพราะเป็น พ่อแม่ ที่ลูกต้องเคารพและเชื่อฟัง

การใช้อำนาจในโรงเรียนบั่นทอนทักษะในการคิดเชิงวิพากษ์ ลดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รวมถึงเพิ่มอำนาจในการตัดสินโทษเด็กจนเกิดการใช้อำนาจเกินขอบเขต

นอกจากการใช้อำนาจในบ้านที่เด็ก ๆ ต้องเจอแล้ว อีกอย่างหนึ่งคือ การใช้อำนาจในโรงเรียน ซึ่งการใช้อำนาจในโรงเรียนนี้เองที่บั่นทอนทักษะในการคิดเชิงวิพากษ์ ลดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ระบบการศึกษาไทยให้ความสำคัญต่อการขัดเกลาทางสังคมมากกว่าการให้ความรู้ ทัศนคติแบบอำนาจนิยมในโรงเรียนที่กำหนดว่าครูมีหน้าที่ตัดสินเด็ก เพราะสิ่งที่ครูบอกนั้นถูกเสมอ เป็นการปลูกฝังวัฒนธรรมการเชื่อฟัง อิทธิพลแบบเผด็จการ ข้อบังคับ ข้อกำหนด คำจำกัดความ และข้อห้ามต่าง ๆ ที่ตราไว้โดยเป็นส่วนหนึ่งของการเข้าร่วมภาคบังคับอย่างไม่สิ้นสุด แนวทางนี้ครูส่วนใหญ่จะรู้สึกว่าเป็นวิธีการหลีกเลี่ยงปัญหาทางวินัยและความขัดแย้งเป็นการปกครองเด็กที่มีเป็นจำนวนมากให้อยู่ในระเบียบเชื่อฟัง และเกิดการลงโทษในเด็กที่คิดว่าพวกเขาไม่อยู่ในกรอบและจะก่อให้เกิดปัญหากัน การใช้อำนาจในโรงเรียนส่วนหนึ่งมีทั้งอยู่ในขอบเขต และนอกเหนือขอบเขตเกิดการก้าวล่วงล้ำสิทธิทางร่างกาย อย่างเช่นการโดนตัดผมสั้นเพราะไม่ทำตามกฎ ข่าวครูทำร้ายเด็ก หรือแม้กระทั่งที่มีข่าวโดนให้เพื่อนยืนจ้องหน้าอกเพราะไม่สวมเสื้อทับ เป็นต้น

เมื่อช่วงชีวิตของเด็กหนึ่งคนต้องถูกกดทับจากระบอบการศึกษามาเกือบ 20 ปี และวงล้อของการศึกษาในประเทศนี้ก็เกิดขึ้นมาแล้วนับล้านครั้ง แต่ทุกอย่างยังคงอยู่ในรูปแบบเดิม พวกเขาถูกระบอบการศึกษาผลิตออกมาในรูปแบบที่ไม่เคยต้องตั้งคำถาม แล้วนั่นคือการศึกษาที่แท้จริงแน่หรือ ?

 

เมื่อช่วงชีวิตของเด็กหนึ่งคนต้องถูกกดทับจากระบอบการศึกษามาเกือบ 20 ปี และวงล้อของการศึกษาในประเทศนี้ก็เกิดขึ้นมาแล้วนับล้านครั้ง แต่วิธีกดทับยังคงอยู่ในรูปแบบเดิม จึงไม่แปลกอะไรที่พวกเขาจะไม่เคยลุกมาตั้งคำถามเกี่ยวกับวิธีการสอน กรอบในการดำเนินชีวิต หรือนโยบายของประเทศ เพราะพวกเขาถูกระบอบการศึกษาผลิตออกมาในรูปแบบที่ไม่เคยต้องตั้งคำถาม แล้วนั่นคือการศึกษาที่แท้จริงแน่หรือ ? แท้จริงแล้วการศึกษานั้นเป็นเรื่องที่ไม่สามารถบังคับกันได้ เพราะทุกคนมีสิทธิ์เป็นเจ้าของการเรียนรู้ของตัวเอง หากมีการบีบบังคับสิ่งนั้นอาจไม่ใช่การศึกษาก็เป็นได้

 

หลุดจากกรอบการศึกษาแบบอำนาจนิยม

จากการวิจัยใหม่ของศูนย์การศึกษาและแรงงานของมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์พบว่าก็เป็น“การศึกษา” อีกเช่นเดียวกันที่คือยาแก้พิษสำหรับระบบอำนาจนิยม ผู้ที่มีระดับการศึกษาสูงจะมีแนวโน้มที่จะให้อิสรภาพในการเรียนรู้และให้สิทธิ์ในการตั้งคำถามแก่การเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งการตั้งคำถามนี้อาจเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของการศึกษาต่อสังคม นอกจากนี้การศึกษาในระดับอุดมศึกษายังทำให้ผู้คนมีความคิดและวัฒนธรรมที่หลากหลาย เข้าใจหลักการนามธรรมของประชาธิปไตยและความเสมอภาคได้ดีขึ้น และมีวิธีการจัดการกับความซับซ้อนและความแตกต่างในสังคม ช่วยพัฒนาทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล ซึ่งจำเป็นสำหรับการมีส่วนร่วมของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย

นอกจากนั้นในภายในโรงเรียนครูเองอาจต้องมาปรับความหมายของ “การจัดการห้องเรียน” กันใหม่ เพราะหากครูคิดว่าการที่นักเรียนเงียบและเชื่อฟังถือว่าเป็นความสำเร็จในการจัดการห้องเรียน ความคิดนั้นอาจจะเป็นปัญหา ในทางกลับกันถ้าห้องเรียนนั้นมีความเข้มข้น เสียงดังบ้าง กระตือรือร้นในการตั้งคำถาม อาจจะมีแนวโน้มที่ประสบความสำเร็จมากกว่า 

เหนือสิ่งอื่นใด “บ้าน” คือที่ปลูกฝังให้เด็ก ๆ เติบโต เด็กจะมีพัฒนาการที่ดีได้พวกเขาต้องเติบโตในครอบครัวที่เป็นประชาธิปไตยที่สร้างความสัมพันธ์ในแนวเสมอภาค เพิ่มความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ไม่ได้หมายความว่าพ่อแม่และลูกอยู่ในระดับเดียวกันในแง่ของหน้าที่การงาน แต่หมายถึงว่าไม่มีใครเหนือกว่าใครทุกคนสมควรได้รับความเคารพและการพิจารณาอย่างเท่าเทียมกัน Thomas Lickona, Ph.D., นักจิตวิทยาด้านพัฒนาการและผู้เขียนHow to Raise Kind Kidsให้นิยามการเคารพว่า

 

การเคารพ “คือการคำนึงถึงคุณค่าที่แท้จริงของใครบางคนหรือบางสิ่งบางอย่าง เราควรปฏิบัติต่อทุกคน แม้แต่คนที่เราไม่ชอบ อย่างมีสิทธิ มีศักดิ์ศรี และมีค่าเท่ากับตัวเรา”

 

เมื่อเด็ก ๆ ได้รับการปฎิบัติด้วยความเคารพและความเข้าใจ เขาจะสัมผัสได้ถึงการรับฟัง ความเข้าใจ และจะส่งผลให้พวกเขามีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นรวมถึงเพิ่มความนับถือตัวเองอีกด้วยและคนอื่น ๆ เข้าใจสิทธิในร่างกายทั้งของตัวเองและคนอื่นมากขึ้น เพื่อให้เขาเติบโตไปเพื่อมีสติปัญญามากพอที่จะแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมของโลกใบนี้ได้ด้วยตัวของเขาเอง

 

อ้างอิง
https://www.parents.com/parenting/better-parenting/positive/how-to-raise-a-respectful-child/
https://www.dw.com/en/thailand-hazing-fosters-authoritarianism/a-57991213
https://bigthink.com/the-present/anti-authoritarian-education/
https://thehoya.com/liberal-arts-education-counteracts-authoritarianism-in-universities-and-politics-gu-report-says
https://www.01webdirectory.com/blog/education-isnt-leadership/
https://www.01webdirectory.com/blog/authoritarianism-in-schools/
https://exploringyourmind.com/power-struggles-destroy-your-relationship-with-your-children/

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS