เราไม่ชอบ “คณิตศาสตร์” เพราะอะไร

A A
Jan 2, 2023
Jan 2, 2023
A A

เราไม่ชอบ “คณิตศาสตร์” เพราะอะไร

   

  • Math Anxiety หรือ ความกังวลด้านคณิตศาสตร์ อาจส่งผลให้เกิดอาการหัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกเยอะ คนที่มีความวิตกกังวลทางคณิตศาสตร์เชื่อว่าพวกเขาไม่เก่งคณิตศาสตร์ และด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงไม่ชอบคณิตศาสตร์ ความรู้สึกเหล่านี้ทำให้เกิดการหลีกเลี่ยงกับสถานการณ์ที่ต้องทำคณิตศาสตร์เหตุนี้เองทำให้เกิดความขาดแคลนทักษะที่จำเป็นในสังคม
  • งานวิจัยล่าสุดพบว่าเด็กอายุ 6 ขวบ พวกเขาก็มีความรู้สึกกังวลทางคณิตศาสตร์เช่นเดียวกัน และยังพบว่าเด็กที่มีความกังวลด้านคณิตศาสตร์สูงจะมีผลสอบคณิตศาสตร์ที่แย่ลง แสดงให้เห็นว่าความกังวลกับความสามารถคณิตศาสตร์นั้นมีความสัมพันธ์กันและสามารถเกิดขึ้นได้เมือเด็กยังเล็กมาก
  • ความวิตกทางคณิตศาสตร์มีผลมาจากสภาพแวดล้อมจากผู้ใหญ่สู่เด็ก จึงต้องมีการให้ความรู้ครูเกี่ยวกับการสอนคณิตศาสตร์ในโรงเรียนรวมถึงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับวิธีที่พูดคุยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์กับลูก ๆ ที่บ้าน เช่นไม่พูดถึงคณิตศาสตร์ในแง่ลบ ไม่แสดงอาการกลัวคณิตศาสตร์ต่อหน้าเด็ก ๆ สร้างทัศนคติเชิงบวกเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

 

ทักษะทางคณิตศาสตร์มีความต้องการมากขึ้นในสังคมที่เน้นเทคโนโลยี แต่จากการศึกษาก็ยังเห็นว่าผู้คนยังขาดความสามารถพื้นฐานด้านตัวเลขโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับงานในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (STEM) แม้ว่าจะเป็นสิ่งสำคัญสำหรับโลกของเรามากก็ตามคณิตศาสตร์เป็นหนึ่งในทักษะที่จำเป็นที่ผู้คนใช้ตลอดชีวิตเป็นทักษะสำคัญที่ต้องเรียนรู้ในโรงเรียนแต่ในขณะเดียวกันก็มีเด็กและผู้ใหญ่จำนวนมากที่เครียด วิตกกังวลเมื่อต้องมีการใช้ความรู้หรือทักษะทางคณิตศาสตร์ ซึ่งมักเรียกอาการเหล่านี้ว่า Math Anxiety หรือ ความกังวลด้านคณิตศาสตร์ 

Math Anxiety หรือ ความกังวลด้านคณิตศาสตร์ อาจส่งผลให้เกิดอาการหัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกเยอะ คนที่มีความวิตกกังวลทางคณิตศาสตร์เชื่อว่าพวกเขาไม่เก่งคณิตศาสตร์ และด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงไม่ชอบคณิตศาสตร์ ความรู้สึกเหล่านี้ทำให้เกิดการหลีกเลี่ยงกับสถานการณ์ที่ต้องทำคณิตศาสตร์เหตุนี้เองทำให้เกิดความขาดแคลนทักษะที่จำเป็นในสังคม

 

ความกังวลทำให้เราไม่ชอบคณิตศาสตร์

นักวิทยาศาสตร์ และนักการศึกษาคิดว่าความกังวลทางคณิตศาสตร์จะเริ่มขึ้นเมื่อเด็ก ๆ เริ่มเรียนคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน นั่นหมายความว่าเด็กที่ยังไม่ได้เรียนคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนจะยังไม่มีความกังวลด้านคณิตศาสตร์  แต่งานวิจัยล่าสุดพบว่าเด็กอายุ 6 ขวบ พวกเขาก็มีความรู้สึกกังวลทางคณิตศาสตร์เช่นเดียวกันทีมนักวิจัยถามคำถามเด็ก 154 คนใน Grade 1 และ 2 ว่ารู้สึกอย่างไรเมื่อต้องสอบวิชาคณิตศาสตร์ เด็ก ๆ ระบุว่าพวกเขาประหม่าแค่ไหนกับการสอบโดยชี้ไปที่ภาพแสดงความรู้สึก ผลการศึกษาพบว่าเด็ก ๆ มีความประหม่าเล็กน้อย และยังพบว่าเด็กที่มีความกังวลด้านคณิตศาสตร์สูงจะมีผลสอบคณิตศาสตร์ที่แย่ลง แสดงให้เห็นว่าความกังวลกับความสามารถคณิตศาสตร์นั้นมีความสัมพันธ์กันและสามารถเกิดขึ้นได้เมือเด็กยังเล็กมาก

 

ไม่ชอบคณิตศาสตร์

 

แม้ว่าการวิจัยแสดงให้เห็นว่าความกังวลทางคณิตศาสตร์ และความสามารถทางคณิตศาสตร์มีความเกี่ยวข้องกัน แต่ก็ยังไม่สามารถบอกได้ว่าสิ่งใดมาก่อนกัน ไม่รู้ว่าการไม่เก่งคณิตศาสตร์ทำให้กังวล หรือ ความกังวลทำให้คนไม่เก่งกันแน่แต่ก็มีสมมติฐานอยู่สองข้อคือ

  • เด็กที่ต้องเรียนรู้ตัวเลขเมื่อยังเด็กมาก มีแนวโน้มที่ส่งผลต่อความกังวลทางคณิตศาสตร์เมื่อพวกเขาเริ่มไปโรงเรียน
  • ความกังวลทางคณิตศาสตร์เกิดขึ้นในเด็กที่ได้รับอารมณ์ ความเห็น หรือพฤติกรรมจากคนที่แวดล้อมเด็ก จากการศึกษาชี้ให้เห็นว่าครูส่งผลต่อความสามารถทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน

 

ความกังวลทางคณิตศาสตร์อาจเป็นจากความล้มเหลวจากการสอน และอาจมีผลมาจากพื้นฐานพัฒนาการทางประสาท หรือความเชื่อมโยงทางพันธุกรรมแต่หลักฐานจำนวนมากชี้ไปที่ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและระบบ เช่น การ เหมารวมว่าผู้หญิงไม่เก่งคณิตศาสตร์ หรือแม้กระทั่งผู้ปกครอง ครูที่มีความกังวลด้านคณิตศาสตร์ก็ทำให้เด็ก ๆ เกิดความกลัวคณิตศาสตร์ได้เช่นกัน

 

เกิดอะไรขึ้นในสมองของคนที่กังวลคณิตศาสตร์ 

สมองของเรามีหน่วยความจำที่ใช้ในการทำงานเพื่อใช้จดจำ เก็บข้อมูล และทำกิจกรรมต่าง ๆ หลายอย่างได้ในเวลาเดียวกัน ซึ่งทักษะนี้จำเป็นสำหรับการทำคณิตศาสตร์ เช่นเมื่อครูอ่านโจทย์คณิตศาสตร์ นักเรียนจำเป็นต้องใช้ความจำในการจำตัวเลขทั้งหมด พิจารณาขั้นตอนในการแก้ปัญหา และเขียนคำตอบไปพร้อมกัน แต่เมื่อมีอาการกังวลเด็ก ๆ กำลังใช้หน่วยความจำในการทำงานบางส่วนของสมองไปกับความกังวลทำให้เหลือหน่วยความจำไม่พอในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์  ซึ่งการใช้ทรัพยากรหน่วยความจำในการแก้ไขปัญหาคณิตศาสตร์นี้เองจะทำให้เด็กที่มีความจำในการทำงานสูงจะทำข้อสอบคณิตศาสตร์ได้ดีกว่าเด็กที่มีความจำในการทำงานต่ำ นักวิจัยได้ตรวจสอบว่าส่วนต่าง ๆ ของสมองต้องทำงานหนักแค่ไหนในขณะที่เด็กที่มีความกังวลทางคณิตศาสตร์แก้ปัญหาคณิตศาสตร์ นักวิจัยขอให้เด็กอายุ 7-9 ขวบที่มี และไม่มีความวิตกกังวลทางคณิตศาสตร์ให้ทำโจทย์คณิตศาสตร์ในขณะสแกนสมองด้วย fMRI เพื่อวัดว่าส่วนใดของสมองถูกกระตุ้นบ้างในขณะที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ นักวิจัยพบว่าสมองส่วน  amygdala จะทำงานหนักในเด็กที่มีความวิตกกังวลทางคณิตศาสตร์สูงมากกว่าในเด็กที่มีความวิตกกังวลทางคณิตศาสตร์ต่ำ นอกจากนี้ยังเห็นว่าพื้นที่ของสมองของเด็กที่มีความกังวลทางคณิตศาสตร์สูงจะทำงาน และประมวลผลน้อยกว่าเด็กที่มีความกังวลทางคณิตศาสตร์ต่ำ

ไม่ชอบคณิตศาสตร์1

 

แล้วจะทำอย่างไรให้กังวลคณิตศาสตร์น้อยลง

การเปิดรับซ้ำ ๆ ในสิ่งที่เด็ก ๆ กลัวมีส่วนช่วยให้เด็ก ๆ กลัวคณิตศาสตร์น้อยลงการทำให้เด็กรู้สึกควบคุมสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้จะมีส่วนช่วยในการแก้ปัญหานี้เป็นอย่างมาก ดังนั้นการกวดวิชาหรือติวเข้มให้เด็ก ๆ ในสิ่งที่พวกเขากังวลจะทำให้ลดความกลัวคณิตศาสตร์ของพวกเขาลงได้อย่างมาก นอกจากนี้นักวิจัยได้พบว่านักเรียนจะมีคะแนนสอบที่ดีขึ้นเมื่อได้เขียนความรู้สึกนั้นออกมา หรือการควบคุมลมหายใจเพื่อสงบสติอารมณ์ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่จะทำให้คะแนนสอบดีขึ้นได้เช่นกัน และเมื่อความวิตกทางคณิตศาสตร์มีผลมาจากสภาพแวดล้อมจากผู้ใหญ่สู่เด็ก จึงต้องมีการให้ความรู้ครูเกี่ยวกับการสอนคณิตศาสตร์ในโรงเรียนรวมถึงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับวิธีที่พูดคุยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์กับลูก ๆ ที่บ้าน เช่นไม่พูดถึงคณิตศาสตร์ในแง่ลบ ไม่แสดงอาการกลัวคณิตศาสตร์ต่อหน้าเด็ก ๆ สร้างทัศนคติเชิงบวกเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  โดยในครอบครัวที่เด็ก ๆ ได้รับการร่วมกันแก้ปัญหาด้านคณิตศาสตร์กันภายในครอบครัวจะมีทักษะทางคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นมากกว่าเด็กที่มาจากครอบครัวที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าว

สุดท้ายแล้วการเรียนรู้ทักษะหนึ่งจะเกิดขึ้นได้เกิดจากทุกส่วนร่วมมือกันไม่ว่าจะเป็น สถาบันครอบครัว หรือการศึกษา การปรับปรุงเนื้อหา การสร้างกลยุทธ์ที่ใช้ในการสอน รวมไปถึงการสร้างทัศนคติต่อการเรียนรู้มีความสำคัญต่อการพัฒนาทักษะไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตาม

 

อ้างอิง
https://kids.frontiersin.org/articles/10.3389/frym.2017.00057
https://theswaddle.com/all-you-need-to-know-about-math-anxiety/
https://bmcpsychology.biomedcentral.com/articles/10.1186/s40359-021-00537-2
https://solportal.ibe-unesco.org/articles/the-effect-of-math-anxiety-on-the-numerical-brain/ 

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS