Retrival Practice
อ่านหนังสือมากเท่าไร ไม่เก่งเท่าคุณจำได้มากเท่าไร
- การอ่านหนังสือซ้ำหลาย ๆ เที่ยว อาจไม่มีประโยชน์ในการเตรียมตัวสอบเท่าไร เพราะตามหลักความเป็นจริงของการสอบ เราต้องเขียนคำตอบในข้อสอบ ดังนั้นสิ่งที่เราควรฝึกคือการเขียนคำตอบ ไม่ใช่อ่านหนังสือซ้ำ
- ศาสตร์แห่งการเรียนรู้ที่ชื่อว่า Retrieval Practice ตามภาษาที่เข้าใจง่ายคือการดึงข้อมูลความรู้ออกมาใช้โดยไม่พึ่งพาการอ่าน โดยการดึงเอาความทรงจำของบทเรียนกลับมาทบทวนอีกครั้งโดยที่ไม่มีข้อมูลนั้นอยู่ตรงหน้า ลักษณะเดียวกับการทบทวนโดยใช้ Flash card หรือการทำ Quizzes
- นักวิทยาศาสตร์เฉพาะทางด้านสมอง พบว่า เด็กนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยวิธีการนี้มีผลคะแนนสอบที่ดีขึ้น เพราะวิธีการเรียนแบบ Retrieval Practice เป็นวิธีการเรียนที่ยากกว่า เพราะจำเป็นต้องใช้พลังในการเค้นความจำออกมามากกว่าการจดโน๊ตและการอ่านซ้ำ ๆ ยิ่งสมองต้องใช้ความพยายามมากเท่าไหร่ในการเรียนรู้ ความสามารถในการจดจำเนื้อหาก็จะเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
“แท้จริงแล้วพวกเขาไม่ได้มีสมองที่ฉลาดมากกว่านักเรียนทั่วไป แต่การที่พวกเขาสอบได้คะแนนดี เพราะมีกลยุทธ์การเรียนที่ดีกว่า”
คำสรุปย่อของหนังสือชื่อเรื่องยาว What Smart Students Know: Maximum Grades. Optimum Learning. Minimum Time เขียนโดย Adam Robinson มีเนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับกลยุทธ์การเรียนหนังสือที่หลายคนเคยประสบพบเจอในวัยเด็กหรือแม้แต่ตอนนี้ที่กำลังเผชิญกันอยู่
เคยเป็นไหม ? อ่านหนังสือเท่าไรก็ไม่จำ
ถ้าระบบการจดจำของเราไม่แตะขีดของคำว่าอัจฉริยะมาก หลายต่อหลายครั้งก็พิสูจน์กันมาแล้วแล้วเพราะการอ่านหนังสือซ้ำหลาย ๆ เที่ยว อาจไม่มีประโยชน์ในการเตรียมตัวสอบเท่าไร เพราะตามหลักความเป็นจริงของการสอบ เราต้องเขียนคำตอบในข้อสอบ ดังนั้นสิ่งที่เราควรฝึกคือการเขียนคำตอบ ไม่ใช่อ่านซ้ำ
คำถามถัดมาคือ ไม่อ่านหนังสือแล้วจะทำข้อสอบได้ยังไง ?
อย่างที่รู้เข้าใจกันมาตลอดว่าการอ่านหนังสือทบทวนบทเรียนถือเป็นเรื่องที่สำคัญต่อการสอบ ถึงอย่างนั้นการอ่านหนังสืออย่างเดียวก็ไม่สามารถทำให้เนื้อหาถูกบันทึกในความจำระยะยาวได้ ( Long-term memory)
เพราะการอ่านหนังสือเป็นเพียงวิธีการได้รับข้อมูลที่ง่ายและเร็วซึ่งวิธีแบบนี้ทำให้ข้อมูลที่เราได้เรียนรู้ไปค้างอยู่ในความจำระยะสั้นเท่านั้น ข้อสอบไม่ได้วัดว่า เราอ่านมากแค่ไหน แต่วัดว่า เรา “ดึง” ความรู้ที่อยู่ในหัวเราออกมาเขียนได้หรือเปล่า ศาสตร์แห่งการเรียนรู้ที่ชื่อว่า Retrieval Practice ตามภาษาที่เข้าใจง่ายคือการดึงข้อมูลความรู้ออกมาใช้โดยไม่พึ่งพาการอ่าน โดยการดึงเอาความทรงจำของบทเรียนกลับมาทบทวนอีกครั้งโดยที่ไม่มีข้อมูลนั้นอยู่ตรงหน้า ลักษณะเดียวกับการทบทวนโดยใช้ Flash card หรือการทำ Quizzes นันเอง
การทำ Retrieval Practice แบบง่ายที่สุดโดยไม่พึ่งพาอุปกรณ์ที่ยุ่งยากเลยคือ การพูดทุกสิ่งทุกอย่างที่จำได้หลังจากเรียนรู้เรื่องนั้นแล้ว ยกตัวอย่างเช่น หลังจากอ่านหนังสือจบ 1 บท ลองหยุดแล้วพูดทุกอย่างที่จำได้ โดยไม่เปิดดูหนังสือ ไม่ดูบันทึกย่อ เป็นพึ่งพาความจำของตัวเองล้วน ๆ หรือจะใช้วิธีการลองสอนคนอื่น ซึ่งผู้ได้ประโยชน์มากที่สุดของวิธีนี้คือ คนสอนนั่นเอง เพราะคนสอนจะได้ทบทวนความรู้ความเข้าใจของตนเองไปในตัวว่า ตัวเองจำหรือเข้าใจได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าเราสอนคนอื่นไม่ได้หรือสอนแล้วคนอื่นฟังไม่รู้เรื่อง แสดงว่า เราอาจยังไม่เข้าใจเรื่องนั้นดีพอ หากเป็นคนถนัดเขียนคุณอาจจะถนัดวิธีการแบบ Brain dump คือการเขียนทุกสิ่งทุกอย่างที่จำได้ในรูปแบบใดก็ได้ เช่น เขียนด้วยลายมือหรือพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ หรือวิธีการเขียนรูปแบบไหนก็ได้ที่ถนัด ซึ่งรวมไปถึงการเขียนแบบ Visual thinking แบบ Mind map ด้วยเช่นกัน
Retrieval Pratice มีประโยชน์มากในห้องเรียน ไม่ว่าจะเรียนระดับใดก็ตาม เช่น หลังจากที่เรียนรู้เรื่องอะไรแล้ว ก็ลองหยุดทบทวน แล้วพูดว่า ได้เรียนรู้อะไรมาบ้าง หรือเขียน Mind Map อย่างรวดเร็ว เพื่อสรุปเนื้อหา หรือประโยชน์ในสถานการณ์ชีวิตจริงที่บางครั้งเรานึกไม่ออก ตั้งแต่เรื่องเล็กๆอย่างเบอร์โทรศัพท์พ่อแม่ ไม่ได้แปลว่าเราลืมหรือลบข้อมูลนั้นไปแล้ว ทำให้ฝุ่นเกาะสนิมเขรอะความทรงจำเหล่านั้นเนื่องจากเราไม่ค่อยหยิบมาใช้ ดังนั้นการรื้อฟื้นความทรงจำด้วยการฝึก Retrieval Pratice จะช่วยฟื้นฟูได้มาก
ตัวอย่างงานวิจัยของ Dr. Agawal นักวิทยาศาสตร์เฉพาะทางด้านสมอง พบว่า เด็กนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยวิธีการนี้มีผลคะแนนสอบที่ดีขึ้น เพราะวิธีการเรียนแบบ Retrieval Practice เป็นวิธีการเรียนที่ยากกว่า เพราะจำเป็นต้องใช้พลังในการเค้นความจำออกมามากกว่าการจดโน๊ตและการอ่านซ้ำๆ ยิ่งสมองต้องใช้ความพยายามมากเท่าไหร่ในการเรียนรู้ ความสามารถในการจดจำเนื้อหาก็จะเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ในอีกแง่นึงการ Feedback ด้วยข้อมูลที่ถูกต้องก็เป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลที่เราพยายามสรุปออกมาออกมาคือข้อมูลที่ถูกต้องอยู่เสมอ
อ้างอิง
https://bit.ly/3JyEiyE
https://bit.ly/3d2cS85
https://bit.ly/3bsaMhi