AI Literacy กับสิ่งที่ปัญญาประดิษฐ์ทำได้ในปี 2023
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ AI เป็นประเด็นที่มีการพูดคุยใน สังคมอย่างกว้างขวางมาหลายทศวรรษ โดยปรากฏตัวครั้งแรกในเอกสารทางวิชาการที่ชื่อว่า “Can machines think” ของ อลัน ทัวริ่ง นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษในปี พ.ศ. 2493 โดยการพัฒนาเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์นั้นก้าวกระโดดไปอย่างมาก การที่ปัญญาประดิษฐ์สามารถคิด ตัดสินใจ และเรียนรู้อย่างอิสระโดย ไม่ต้องมีมนุษย์ควบคุมในปัจจุบัน
AI นับเป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์ แต่บางอย่างก็เข้ามาทำให้มนุษย์มีบทบาทน้อยเพื่อลดต้นทุน
มาดูกันว่าปัญญาประดิษฐ์ทำอะไรได้จริงแล้วในปัจจุบัน
1.ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย
ROSS Intelligence ผู้พัฒนาปัญญาประดิษฐ์สำหรับงานกฎหมาย ได้ประกาศเมื่อปีที่ผ่านมาว่า บริษัทที่ปรึกษากฎอย่าง Baker & Hostetler LLP ซึ่งมีที่ปรึกษากฎหมาย 940 คน ใน 14 สาขาทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ว่าจ้าง ROSS เป็นที่ปรึกษากฎหมายซึ่งเป็นปัญญาประดิษฐ์คนแรกของโลก ซึ่งเป็นครั้งแรกบริษัทที่ปรึกษากฎหมายออกมาประกาศอย่างเป็นทางการว่าใช้ปัญญาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือให้คำปรึกษากับลูกค้า โดยใช้ ROSS ในคดีล้มละลายต่าง ๆ
2.ยานพาหนะไร้คนขับ
ในหลายประเทศมีการพัฒนารถยนต์ไร้คนขับเพื่อตอบโจทย์ในหลาย ๆ เรื่อง ซึ่งถ้าพูดถึงเรื่องของอุตสาหกรรมคือการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์มารับภาระคนขับรถส่งสินค้า เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานขจัดปัญหาความเหนื่อยล้าของคนขับ ซึ่งจะทำให้การขนส่ง รวดเร็ว และมีประสิิทธิภาพมากขึ้น
3.ที่ปรึกษาด้าน Cyber security และหาช่องโหว่ในหน่วยงาน
นับว่าเป็นอาชีพที่ต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์หลายปีกว่าจะได้เป็นผู้เชี่ยวชาญได้ ในวันนี้ IBM Watson ถูกนำมาเพื่อช่วยวิเคราะห์และระบุความเสี่ยงจากภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์บนระบบเครือข่าย และช่วยลดช่องว่างความแตกต่างของสกิลด้านความปลอดภัยของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
หลักการทำงาน คือการจำลองกระบวนความคิดของมนุษย์ในรูปของโมเดลคอมพิวเตอร์ที่สามารถแปลงข้อมูลเป็นตัวเลขแล้วคำนวณออกมาได้ โดยเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากการทำ Data Mining, Pattern Recognition และ Natural Language Processing เพื่อเลียนแบบกระบวนการทำงานของสมองมนุษย์
4.การตรวจวิเคราะห์โรค
รายงานของสำนักข่าวซินหัวของจีนระบุว่า ระบบปัญญาประดิษฐ์จากจีนได้เอาชนะทีมแพทย์ระดับท็อปของประเทศ 15 คนในการวินิจฉัยเนื้องอกในสมองและคาดการณ์การขยายตัวของภาวะเลือดออกในเนื้อเยื่อด้วยคะแนน 2 ต่อ 0
ระบบ AI BioMind ได้รับการพัฒนาโดย the Artificial Intelligence Research Centre for Neurological Disorders (ศูนย์วิจัยปัญญาประดิษฐ์เพื่อความผิดปกติทางระบบประสาท) ในโรงพยาบาล Beijing Tiantan และทีมวิจัยจาก the Capital Medical University โดยระบบสามารถวินิจฉัยได้ถูกต้องคิดเป็น 87 เปอร์เซ็นต์จาก 225 เคสในเวลาเพียง 15 นาที ในขณะที่ทีมแพทย์อาวุโสตรวจพบได้แม่นยำเพียง 66 เปอร์เซ็นต์
ชื่อภาพ : AI Literacy
“ห้องเรียน”ปรับตัวอย่างไรในวันที่ปัญญาประดิษฐ์ท้าทายมนุษย์
ช่วงต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา Google ก็ออกมาประกาศสงคราม AI เรียกได้ว่าเรากำลังเข้าสู่ยุค AI เต็มตัว ในขณะที่เรากำลังนั่งอ่านบทความนี้ โลกเรามี AI Features จากทุก Platforms เกิดขึ้นในตลาดเต็มไปหมด เรามี “Help Me Write” จาก Google AI ที่ช่วยเราเขียนทุกอย่างในโลกใบนี้ มี AI Generated Image ที่ช่วยสร้างภาพจากข้อมูลที่เราป้อนและเรากำลังจะได้เห็นการต่อสู้ที่ดุเดือดของ 2 AI เจ้าใหญ่ อย่าง Google Duet AI และ Microsoft Copilot
มาถึงตรงนี้ก็อดสงสัยไม่ได้ว่าห้องเรียนทั่วโลกมีการจัดกระบวนทัพอ้าแขนต้อนรับการมาของ AI เหล่านี้ยังไง? บรรดาหลักสูตร AI Literacy เพื่อเพิ่มทักษะความเข้าใจ และรู้เท่าทันวิทยาการเหล่าพร้อมแค่ไหนที่จะพานักเรียนลงสู่ตลาดแรงงานที่มีคู่แข่งเป็นปัญญาประดิษฐ์ เราจะพาทุกคนมาสำรวจการศึกษาทั่วโลกว่าเขาปรับตัวอย่างไรกันบ้างกับเรื่องนี้
สาธารณรัฐประชาชนจีน
กระทรวงศึกษาธิการจีนมีคำสั่งให้เปิดสอนหลักสูตรปัญญาประดิษฐ์ในโรงเรียนประถมและมัธยมศึกษา โดยแต่ละเขตจะจัดทำตำราการสอนปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่มีเนื้อหาการสอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีทั้งในรูปแบบเกมและกิจวัตรประจำวันขึ้นมาเพื่อทดลองใช้ในโรงเรียนประถมศึกษาและมหาวิทยาลัยในเขตเซี่ยงไฮ้
สิงคโปร์
รัฐบาลสิงคโปร์ได้ศึกษา และพัฒนาระบบ Artificial Intelligence เพื่อช่วยเป็นเครื่องมือในการแนะแนวการศึกษาด้วยตนเอง คอยติดตามความคืบหน้า เลือกสรรสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับเป้าหมายที่แต่ละคนอยากที่จะพัฒนาไปให้ถึงหรืออีกนัยหนึ่งคือใช้ AI ทำให้การเรียนการสอนเข้ากับแต่ละคนมากกว่าที่จะสร้างการศึกษาที่เป็นมาตรฐานมาให้ทุกคนต้องเรียนในแบบเดียวกันหมด
เกาหลีใต้
กระทรวงศึกษาธิการของเกาหลีใต้ ประกาศนโยบายการศึกษาว่าภายในปี 2025 เกาหลีใต้จะใช้หนังสือเรียนแบบดิจิทัลแทนหนังสือเรียนแบบธรรมดา โดยการเปลี่ยนแปลงนี้จะเริ่มต้นจากวิชา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์และสารสนเทศ โดยเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ ได้แก่ Intelligent Tutoring System ซึ่งเป็นระบบการเรียนรู้ด้วยคอมพิวเตอร์ที่ใช้ AI เข้ามาสอนเหมือนกับมนุษย์เป็นคนสอน รวมไปถึง Extended Reality (XR) เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมือนจริง เช่น ในสถานการณ์จำลองที่เข้าไปในร้านเสื้อผ้า XR จะสามารถจำลองชุดต่าง ๆ ซึ่งเราจะสามารถลองชุดนั้นได้จริง ๆ และเมื่อการเปลี่ยนแปลงสำเร็จ หนังสือเรียนคณิตศาสตร์ดิจิทัลจะมีการสอนแบบ AI-guided (การเรียนจาก AI) เพื่อช่วยให้นักเรียนในการแก้โจทย์ยาก ๆ ในขณะที่หนังสือเรียนภาษาอังกฤษจะใช้เทคโนโลยีเพื่อเข้ามาช่วยในการฝึกฟัง และฝึกพูด
ในขณะเดียวกัน AI ยังคงเปรียบเสมือนรถไฟความเร็วสูงขบวนใหม่สำหรับระบบการศึกษาไทย เนื่องจากความพร้อมของแต่ละโรงเรียนไม่เท่ากัน หากมองว่า AI ไปประยุกต์กับบทเรียนได้ยากเกินไปเพราะไม่เข้ากับบริบทนักเรียนหรือโครงสร้างพื้นฐานของโรงเรียน ก็อาจลดทอนลงมาเป็นการนำ AI ไปพัฒนาเป็นเครื่องมือช่วยสอนสำหรับครูหรือเป็นสื่อการสอนแทนก็ได้ หรืออย่างน้อยขอให้ได้ปลูกฝังทักษะการรู้เท่าทันเทคโนโลยี หรือ Digital Awareness ก็ยังดี
อย่าลืมว่าเทคโนโลยีนั้นอยู่รอบตัวเรา และเริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้ใช้ AI เพียงเล็กน้อยแต่ก็ยังดีกว่าไม่ใช้และไม่เปิดใจรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เลย เพราะสุดท้ายแล้ว “หากเราไม่เปลี่ยนตามโลก โลกจะเปลี่ยนเรา”