ภาษาของคน สะท้อนตัวตนของชาติ

A A
Jun 7, 2023
Jun 7, 2023
A A

ภาษาของคน สะท้อนตัวตนของชาติ

 

ตามปกติแล้วภาษาที่คนเราใช้กันทั่วโลกมีมากกว่า 7,000 กว่าภาษา และแน่นอนว่าแต่ละภาษาก็จะต้องมีความแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคำศัพท์ เสียง โครงสร้างหรือไวยากรณ์ และสิ่งที่สอดแทรกมาในแต่ละภาษาซึ่งหลายคนอาจไม่รู้ตัวก็คือ การกำหนดกรอบความคิดของคนที่ใช้ภาษานั้น ๆ พูดง่าย ๆ คือ จากการวิจัยของคุณ Lera Boroditsky นักวิทยาศาสตร์ความรู้ที่นำงานวิจัยมาพูดในงาน Ted Talk สรุปง่ายๆ ก็คือ “ภาษาที่เราใช้อยู่ หล่อหลอมความคิดของเรา และส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของเราในหลายรูปแบบ” เธอเองได้ลองทำการศึกษามาหลายรูปแบบ และสิ่งเธอสรุปเป็นประเด็นสำคัญๆ มีดังต่อไปนี้ 

 

     อย่างที่บอกไปว่าภาษาบนโลกของเรานั้นมีมากมาย และล้วนเต็มไปด้วยความแตกต่าง และโดยเฉพาะกับภาษาของชนเผ่าที่หลายคนมองข้าม น้องๆ เคยสงสัยมั้ยครับว่าเค้าใช้ภาษาแบบไหน แล้วมีวิธีการสื่อสารอย่างไร ยกตัวอย่างชนเผ่า Kuuk Thaayore  ของประเทศออสเตรเลีย ที่คุณ Lera ได้มีโอกาสเข้าไปทำความคลุกคลีเพื่อทำการศึกษาวิจัย เธอพบว่าชาวเผ่านี้ ไม่มีการใช้คำศัพท์เพื่อบ่งบอกทิศทาง เช่น ‘ซ้าย ขวา หน้า หลัง’ แบบนี้คือไม่มีเลย แต่พวกเค้าจะใช้คำสื่อสารพวก ‘เหนือ ใต้ ออก ตก ตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันตกเฉียงใต้’ เป็นต้น

     ยกตัวอย่างประโยคเช่น “ช่วยขยับขวดน้ำหลบไปทางตะวันออกเฉียงใต้หน่อย” หรือ “เดี๋ยวเจอกันทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของตึก” เป็นต้น และไม่ใช่แค่การบอกทิศทางเพียงเท่านั้น การบอกเวลาหรือวัน พวกเค้าก็ใช้คำพวกทิศเหล่านี้เช่นเดียวกัน ซึ่งภาษาเหล่านี้ที่พวกเค้าใช้ ก็สามารถบ่งบอกถึงลักษณะความคิดที่ถูกปลูกฝัง แน่นอนว่าไม่มีใครผิดหรือใครถูก ตราบใดที่พวกเค้าเข้าใจในสิ่งที่ต้องการจะสื่อสาร

 

 

ภาษาทั่วโลก

 

 

นอกจากนี้แล้ว ภาษาก็ยังมีอิทธิพลต่อระบบความคิดในเรื่องการของการรับรู้ได้รวดเร็ว และความละเอียดอ่อนทางความคิด ยกตัวอย่างในเรื่องของ “สี” อย่างเช่น “สีฟ้า” ไม่ว่าจะเป็นโทนสีเฉดอ่อนหรือเฉดเข้ม ในภาษาอังกฤษจะมีแค่คำเดียวคือคำว่า “Blue” แต่ถ้าเป็นภาษารัสเซียจะมีการเรียกชื่อเฉพาะของสีฟ้าอย่างหลากหลาย และพอมองย้อนกลับมาที่ภาษาไทย เราเองก็มีการแยกสีฟ้าหลายแบบเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นสีฟ้าคราม สีฟ้าน้ำทะเล สีฟ้าอ่อน สีฟ้าพาสเทล เป็นต้น แต่ในขณะเดียวกันบางภาษาแทบไม่มีแม้แต่ชื่อสี แต่มีแค่เพียง “สีสว่าง” กับ “สีมืด”

 

    ดังนั้นจะสังเกตได้ว่าภาษาที่เราใช้ก็บ่งบอกถึงลักษณะความคิด และอาจรวมไปถึงเป็นตัวกำหนดลักษณะนิสัยของคนที่ใช้ภาษานั้นๆ ด้วย ก็เหมือนกับคนที่ใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารส่วนใหญ่ มักคิดอย่างไรก็พูดออกมา เหมือนกับสีฟ้าที่ใช้แค่คำว่า Blue ก็พอแล้ว แต่ในขณะที่บางประเทศมีการนิยามหลากหลายสี ซึ่งอาจจะเป็นการบ่งบอกถึงว่าคนที่ใช้ภาษานั้นๆ อาจมีความคิดละเอียดอ่อน และอาจจะมีความคิดที่ลุ่มลึกมากกว่านั่นเอง  

 

  บางภาษามีการแบ่งเพศ เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน ภาษาเยอรมัน เป็นต้น ซึ่งคำศัพท์แต่ละคำก็จะมีเพศของมันเอง สมมติคำว่า “กุญแจ” ในภาษาเยอรมันจะเป็นเพศชาย พอเอาคำนี้ไปใส่ในประโยคใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นประธาน กริยา หรือคำคุณศัพท์ในประโยคก็จะมีการผันเพศไปตามคำว่ากุญแจ ซึ่งความจริงแล้วการแบ่งเพศของภาษาแต่ละภาษามันก็เหมือนซ่อนนัยสำคัญไว้อยู่มากกว่านั้น ยกตัวอย่างคำเดิม กุญแจ ในภาษาเยอรมันจะเป็นเพศชาย แต่ในขณะเดียวกัน กุญแจ ในภาษาสเปนนั้นเป็นเพศหญิง ซึ่งพอไปถามคนที่พูดภาษาเยอรมัน เค้าจะตีความคำว่ากุญแจ ในความหมาย “หนัก, ยาก, โลหะ, ขรุขระ” เป็นต้น แต่คนที่ใช้ภาษาสเปนจะตีความคำว่ากุญแจ ในความหมาย “‘งดงาม, สลับซับซ้อน, เล็ก, น่ารัก, สว่างไสว” เป็นต้น จะเห็นได้ว่าที่การตีความของคนที่พูดต่างภาษาแตกต่างกัน ทั้งหมดทั้งมวลมันก็ขึ้นอยู่กับ “ภาษาที่เราใช้” นั่นเอง จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “ภาษานั้นเป็นตัวกำหนดทิศทางความคิดของเราจริงๆ”

 

     พอลองมองย้อนกลับมาที่ภาษาไทยของเรา ถึงแม้จะไม่มีการแบ่งเพศทางภาษาเหมือนกับพวกภาษาเยอรมันหรือสเปน แต่ในภาษาไทยนั้นมีการใช้คำที่แฝงไปด้วย “ความอ่อนน้อม” ในแทบทุกๆ ประโยค ที่เห็นชัดๆ ก็คือ การใช้ “ครับ/ค่ะ” หรืออาจจะเป็นการใช้คำที่บ่งบอกถึงความอาวุโส เช่น “พี่,น้อง” เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่คนไทยของเราใช้กันมาช้านาน เป็นภาษาที่แอบแฝงความเสน่ห์ของการเคารพซึ่งกันและกัน จนหลอมรวมกลายเป็นวัฒนธรรมของเรา

      แต่พอมองไปที่ภาษาอังกฤษ ซึ่งจะไม่มีคำพวกนี้เหมือนของไทย ไม่มีครับลงท้ายหางเสียง หรือแม้แต่คำว่า “sister, brother” ก็ไม่เคยบ่งบอกว่าใครอาวุโสกว่า ถึงแม้ว่าหลายคนอาจจะใช้พวกคำว่า older หรือ younger มาใช้เพื่ออธิบายว่าใครอาวุโสกว่า ซึ่งโดยธรรมชาติของภาษาอังกฤษแล้วส่วนใหญ่จะไม่นิยมใช้กัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้แหละเป็นการบ่งบอกถึงความเท่าเทียมกัน ไม่ว่าคุณจะอายุเท่าใดก็ตาม แต่สิ่งที่ทุกคนล้วนมี ถึงจะไม่ได้แอบแฝงผ่านภาษา นั่นก็คือ “ความเคารพ” ซึ่งจะต่างจากของไทยที่เหมือนว่าจะต้องมีคำที่แสดงความเคารพแทบทุกประโยค 

 

      เราจะเห็นตัวอย่างชัดๆ ได้เลยว่า ชาวต่างชาติจะกล้าพูดในสิ่งที่คิดมากกว่าคนไทย พูดตรง พูดไม่อ้อมค้อม แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีความเคารพอยู่ แต่ในขณะที่โซนเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นไทยหรือญี่ปุ่น จะเห็นได้ชัดว่า เราจะมีวัฒนธรรมความเกรงใจ ไม่กล้าพูดในสิ่งที่คิดออกไปตรงๆ ซึ่งอาจะเป็นเพราะว่าภาษาที่เราใช้พูดนั้นหล่อหลอมให้เราคิดแบบนี้ และก่อให้เกิด “วัฒนธรรมร่วม” แบบนี้ 

ไม่ว่าจะเป็นประเทศไทยหรือญี่ปุ่น จะเห็นได้ชัดว่าเราจะมีวัฒนธรรมความเกรงใจคนอื่น ไม่กล้าพูดในสิ่งที่คิด อยากพูดอะไรก็พูดออกไปตรง ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าภาษาที่เราพูดกันอยู่ทุกวันนี้หล่อหลอมให้เราเป็นวัฒนธรรมร่วมแบบนี้ก็เป็นได้  

 

จริงๆ แล้วแต่ละภาษามีเรื่องให้น่าค้นหาอีกเยอะมากๆ และจากที่คุณ Lera Boroditsky ได้ตั้งคำถามไว้ว่าภาษาคือตัวกำหนดความคิดของเราหรือเปล่า? อย่างน้อยวันนี้เราก็พอจะได้คำตอบกันแล้ว

.

อ้างอิง

https://www.scientificamerican.com/article/how-language-shapes-thought/

https://irl.umsl.edu/oer/13/

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS