มีอะไรในสมองของคนขี้เกียจ

A A
Nov 10, 2023
Nov 10, 2023
A A

 

มีอะไรในสมองของคนขี้เกียจ

 

 

มีอะไรในสมองของ….คนขี้เกียจ

 

รู้หรือไม่ว่า “สมอง” เป็นอวัยวะที่ขี้เกียจที่สุดในร่างกาย นั้นคือประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของร่างกายทั้งหมด ทั้ง ๆ ที่สมองมีน้ำหนักคิดเป็น 2 %ของร่างกายเท่านั้น สมองใช้พลังงานมากกว่ากล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่สุดเสียอีก

 

ความขี้เกียจนี้มาจากไหน…ใช่มาจากพันธุกรรมหรือเปล่า

 

งานวิจัยจาก University of Missouri College of Vaterinary Medicine ได้ค้นพบว่า ลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่างอาจเป็นแรงจูงใจในการขยับร่างกายเพื่อทำสิ่งต่าง ๆ หรือเรียกง่าย ๆ ว่า “ยีนขี้เกียจ” ที่ถูกส่งต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ จากการนำหนูทดลองกลุ่มที่ “ขยันวิ่งกงล้อที่สุด” และกลุ่มที่ “ขี้เกียจวิ่งกงล้อที่สุด” มาผสมพันธุ์กันต่อเนื่องถึง 10 เจเนอเรชัน ผลการทดลองพบว่า ลูกหลานของหนูที่ขยันวิ่งกงล้อ ก็ยังคงขยันวิ่งกงล้อ เหมือนต้นตระกูลของตนเอง และลูกหลานของหนูที่ขี้เกียจ ก็ยังขี้เกียจเหมือนต้นตระกูลตนเองเช่นกัน 

จากนั้นนักวิจัยได้นำหนูทั้ง 2 กลุ่มมาศึกษาเซลล์กล้ามเนื้อเพิ่มเติม เพื่อเปรียบเทียบองค์ประกอบของร่างกายและประเมินพันธุกรรมอย่างละเอียด ทำให้พบยีนที่แตกต่างกันมากกว่า 17,000 ยีน โดยมียีน 36 ตัวที่อาจมีบทบาทในการกระตุ้นให้มีแรงจูงใจในการทำกิจกรรมต่าง ๆ และการออกกำลังกาย

 

จริง ๆ แล้วคนเราขี้เกียจมาตั้งแต่ไหนแต่ไร

 

ผลการศึกษาล่าสุดทางโบราณคดีชี้ว่า มนุษย์โบราณโฮโม อีเร็กตัส (Homo erectus) หรือ “มนุษย์ผู้ยืนตัวตรง” ซึ่งมีชีวิตอยู่อย่างน้อยเมื่อ 1.8 ล้านปีก่อน ต้องสูญพันธุ์ไปด้วยสาเหตุส่วนหนึ่งจากความเกียจคร้าน ไร้ความพยายามในการพัฒนาเครื่องไม้เครื่องมือให้ดีขึ้น และไม่ขวนขวายเก็บสะสมทรัพยากรที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต

 

ลักษณะนิสัยนี้แตกต่างกันอย่างมากกับมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล รวมทั้งต่างกับมนุษย์ยุคใหม่หรือโฮโม เซเปียนส์อีกด้วย เนื่องจากทั้งสองเผ่าพันธุ์นี้มีการปีนเขาเพื่อเสาะหาแหล่งหินคุณภาพดี และมีการสกัดขนส่งหินมาใช้จากแหล่งที่อยู่ห่างไกล

 

ศาสตราจารย์ Todd MacElroy และทีมวิจัยจาก Florida Gulf Coast University สหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาความขี้เกียจในมุมมองของวิทยาศาสตร์ โดยลงพื้นที่สำรวจกิจกรรมทางกายของอาสาสมัครนักศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวนทั้งหมด 60 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ชอบคิดชอบใช้สมองกับกลุ่มที่ไม่ชอบคิด เป็นเวลาทั้งหมด 7 วัน เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมของคนทั้งสองกลุ่ม ผลการสำรวจพบว่านักศึกษากลุ่มที่ชอบคิดหรือมีไอคิวสูง มักจะมีความกระตือรือร้นมากกว่านักศึกษากลุ่มที่ไม่ชอบคิด และหลายคนมักทำงานยุ่งตลอดเวลา เพราะมองว่าความขี้เกียจเป็นเรื่องที่ไม่ดี

 

 

ความขี้เกียจมันทำให้เราประสบความสำเร็จได้ล่ะ

ชื่อภาพ : laziness brian

 

 

แต่ถ้าความขี้เกียจมันทำให้เราประสบความสำเร็จได้ล่ะ?

 

Bill Gates เคยพูดไว้ว่า เขามักจะเลือกคนขี้เกียจเข้าทำงาน เพราะคนที่ขี้เกียจจะหาวิธีง่ายๆ ในการทำงานเสมอ ซึ่งการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน Journal of Health Psychology ปี 2015 ก็พบว่า คนที่เคลื่อนไหวร่างกายน้อยมักจะฉลาดกว่าคนที่เคลื่อนไหวทางร่างกายที่มากกว่า

 

ธุรกิจจำนวนมากก็เกิดจากการใช้ประโยชน์ธรรมชาติของความขี้เกียจ ตัวอย่างเช่น Steve Jobs ได้สร้างสมาร์ทโฟนที่รวมทุกอย่างไว้ในเครื่องเดียวเพื่อความสะดวกสบาย Jeff Bezos สร้างเว็บไซต์อย่าง Amazon เพื่อให้ผู้คนช้อปปิ้งได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว หรือ Mark Zuckerberg ที่สร้าง Facebook ขึ้นมาเพื่อให้ผู้คนติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายยิ่งขึ้น

 

มีการทำวิจัยอย่างจริงจังหลายครั้งเพื่อพิสูจน์เรื่องราวของความขี้เกียจ

 

ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยของศาสตราจารย์ Masud Husain ที่ทำร่วมกับ Oxford University ได้พิมพ์ผลการศึกษาเรื่องการทำงานของสมองในคนที่มีบุคลิกเฉื่อยชาและเกียจคร้าน ลงในวารสาร Celebral Cortex เมื่อปี 2015 โดยยืนยันว่าคนขี้เกียจมีการทำงานของสมองในระดับที่สูงกว่าคนทั่วไปจริง จากการทดลองตรวจวัดความเคลื่อนไหวของกระแสประสาทในสมองกับคนสามกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีบุคลิกกระตือรือร้นซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเป็นคนขยันขันแข็งกับกลุ่มคนที่มีบุคลิกเฉื่อยชาเกียจคร้าน รวมทั้งคนที่มีบุคลิกแบบผสมผสานระหว่างสองกลุ่มแรก โดยผู้เข้ารับการทดสอบทั้งหมดจะต้องตัดสินใจว่า จะออกแรงบีบกำมือเพื่อให้ได้รับรางวัลตอบแทนอย่างใดอย่างหนึ่งที่ผู้วิจัยเสนอให้หรือไม่ โดยจะมีการเปลี่ยนชนิดของรางวัลและระดับการออกแรงที่จำเป็นต้องทำไปเรื่อย ๆ ผลปรากฏว่ากลุ่มคนขี้เกียจมีแนวโน้มจะไม่ค่อยออกแรงเพื่อให้ได้รางวัลตอบแทนมากนัก แต่ผลสแกนการทำงานของสมองของพวกเขาในระหว่างนั้นกลับชี้ว่า ระบบประสาทมีความเคลื่อนไหวและใช้พลังงานไปเพื่อการตัดสินใจสูงกว่ากลุ่มทดลองอื่น ๆ อย่างมาก สอดคล้องกับแนวคิดที่ว่า คนขี้เกียจชอบใช้ความคิดมากกว่าเพื่อที่จะไม่ต้องลงมือทำสิ่งต่าง ๆ ให้วุ่นวายเปลืองแรง

 

ความขี้เกียจสังเกตได้ตั้งแต่เมื่อไหร่ ?

 

เรื่องขี้เกียจมักสังเกตเห็นได้ในเด็กช่วงอายุ 7-8 ขวบ ก่อนหน้าช่วงอายุนี้เด็กมักจะดูกระตือรือร้นมากกว่า เช่น ในช่วง 3-4 ขวบ จะเห็นได้ว่าคุณพ่อคุณแม่ทำอะไรเด็กมักจะเข้ามาทำด้วย เห็นคุณแม่กวาดบ้านเด็กก็อยากจะทำ เห็นคุณแม่ซักผ้าก็อยากจะทำ เห็นคุณแม่ล้างจานก็อยากจะทำ อันนี้เป็นส่วนหนึ่งของวัยของเขา ที่เริ่มอยากจะเลียนแบบอย่างที่ผู้ใหญ่ทำ แต่ว่าในบางครั้งความที่เราไม่เข้าใจ หลายท่านก็จะห้ามปรามลูก เพราะกลัวว่าลูกทำไม่สะอาด หรือเกรงว่าลูกจะทำของเสียหาย กลัวจะทำจานแตกไปบ้าง

นานวันเข้าพอลูกเริ่มโตขึ้นความสนใจจะเลียนแบบจะน้อยลง เขาก็ไม่อยากเข้ามาทำ พอมาถึงตอนนี้เราเป็นฝ่ายอยากให้ลูกทำ แต่ลูกไม่ทำ เลยกลายเป็นว่าลูกขี้เกียจ เพราะฉะนั้น ขอเสนอแนะท่านที่ยังมีลูกยังเล็ก ๆ อยู่ ถ้าลูกเริ่มมีความสนใจอยากจะเข้ามาใกล้ชิดอยากมาทำอะไรเลียนแบบ พ่อแม่ควรจะค่อย ๆ ฝึกให้เขาทำงานเหล่านี้ เช่น ถ้าเขาอยากซักผ้าก็อาจจะมีกะละมังเล็ก ๆ ให้เขาซักเสื้อผ้าบางชิ้นบางอย่างที่ไม่สกปรกมาก โดยเฉพาะเสื้อผ้าของเขาเอง ให้เขาทำด้วยตัวเองคุณก็อาจช่วยเขาบ้าง หรือถ้าเขาอยากมาช่วยงานที่เรากำลังทำบางอย่าง เช่น ทำครัว ก็คงต้องดูว่าถ้างานบางอย่างอาจมีอันตราย เช่น หั่นผัก เราไม่แน่ใจว่าจะหันนิ้วตัวเองไปด้วยหรือไม่ ก็คงต้องเลี่ยง เราอาจหางานอย่างอื่นให้ลูกทำ เช่น ให้ลูกเอาผักไปล้างในตะกร้า หรือเปิดน้ำให้ผัก เป็นต้น

ลูกจะรู้สึกคุ้นเคยกับการทำงานตั้งแต่เล็ก ๆ แล้วก็จะคงอยู่อย่างนี้ต่อไปโดยที่เราจะค่อย ๆ เริ่มเพิ่มความรับผิดชอบบางอย่างให้กับลูก เช่น เมื่อก่อนนี้เราอาจจะทำให้เขาหมดทุกอย่าง ต่อมาเมื่อเขาเริ่มโต เราก็เริ่มหางานให้กับเขา เขามีหน้าที่ต้องเตรียมช้อนส้อม เตรียมจานอาหารของเขาเอง ก่อนที่จะรับประทานอาหาร หรือว่าเมื่อทานอาหารเสร็จ ก็ควรเก็บจานชามของเขามาวางในอ่างล้างจาน การมีงานให้กับลูกสม่ำเสมออย่างนี้ เขาจะเริ่มคุ้นเคยและมีความรับผิดชอบว่าเขาก็มีส่วนร่วมในครอบครัว เขาก็มีส่วนที่จะต้องทำงานบางอย่างให้กับครอบครัว

 

ในความจริงแล้วยีนขี้เกียจเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเรื่องนี้เท่านั้น ยังมีตัวแปรอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดความขี้เกียจได้ด้วย เช่น ความเบื่อ แรงจูงใจในการอยากทำสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น ทำให้เราเห็นได้ว่าจริง ๆ แล้วความขี้เกียจนั้นมาจากสภาพแวดล้อม รวมถึงความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวด้วย 

 

อ้างอิง

https://www.ox.ac.uk/news/2015-11-13-brain-structure-may-be-root-apathy-1

https://www.livescience.com/52807-laziness-found-in-brain.html

https://www.today.com/health/chronic-fatigue-real-new-brain-scans-show-1d80250083

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS