สมองของผู้ชายเปลี่ยนไปอย่างไรเมื่อเขากลายเป็นพ่อ

A A
Jun 13, 2022
Jun 13, 2022
A A

สมองของผู้ชายเปลี่ยนไปอย่างไรเมื่อเขากลายเป็นพ่อ

 

สมองของพ่อถูกกระตุ้นให้ทำงานเชื่อมโยงกับฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย สมองส่วนที่แอคทีฟมากที่สุดของผู้ชายนั้นอยู่ที่พื้นผิวด้านนอกของสมอง

 

 

  • ไม่ใช่แค่คนเป็นแม่เท่านั้นที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนเมื่อพวกเขากลายเป็นแม่คน ผู้ชายเองก็เกิดการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน
  • ร่างกายของคนเป็นพ่อจะเตรียมให้พร้อมสำหรับบทบาทใหม่ของคุณโดยส่งผลให้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนลดลง ผู้ชายที่มีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำจะมีความเห็นอกเห็นใจที่มากกว่าผู้ชายทั่วไป เช่น หากเขาเห็นเด็กทารกกำลังร้องไห้เขาจะมีความวิตกกังวลหรืออ่อนไหวง่าย แต่ผู้ชายที่มีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนสูงจะรู้สึกรำคาญใจ
  • สมองของพ่อถูกกระตุ้นให้ทำงานเชื่อมโยงกับฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย สมองส่วนที่แอคทีฟมากที่สุดของผู้ชายนั้นอยู่ที่พื้นผิวด้านนอกของสมอง ซึ่งมีหน้าที่ด้านความรู้ความเข้าใจที่สูงขึ้น และมีสติมากขึ้น เช่น ความคิด การวางเป้าหมาย การวางแผน และการแก้ปัญหา ต่าง ๆ การเล่นกับลูกไม่เพียงแค่เชื่อมสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับลูกเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสังคมของเด็กอีกด้วย

 

      ผู้หญิงเมื่อเตรียมตัวเป็นแม่ร่างกายมักมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดทั้งทางกายภาพและชีวภาพ ในทางกลับกันผู้ชายที่ต้องเตรียมตัวเป็นพ่อคนล่ะ เราอาจมองว่าผู้ชายไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เนื่องจากร่างกายของพวกเขาไม่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยาที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ คลอด ให้นม หรือการอุ้มท้องเหมือนผู้หญิง แล้วผู้ชายที่เป็นพ่อเขาจะรู้ได้อย่างไรว่าต้องทำอย่างไร เพราะความเป็นพ่อนั้นไม่ได้มีปรากฏการณ์ทางชีววิทยาเหมือนกับการเป็นแม่

นักวิทยาศาสตร์พบว่าแท้จริงแล้วทั้งชายและหญิงต่างก็ได้รับการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนซึ่งแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงสำคัญในชีวิตของการเป็นพ่อและแม่ โดยพื้นฐานแล้วการเป็นพ่อเกิดปรากฏการณ์ทางชีววิทยาเหมือนกับการเป็นแม่

 จากการศึกษาพบว่าผู้ชายจะมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนสูงเพื่อมีเสน่ห์ดึงดูดใจสำหรับไว้เลือกคู่ครอง แต่เมื่อเป็นพ่อที่โฟกัสอยู่กับครอบครัวและไม่มีแรงผลักดันที่จะหาคู่ชีวิตใหม่ จึงทำให้ผู้ชายมีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่ทำงานได้ลดลง

เกิดอะไรขึ้นในพ่อคนใหม่?

ร่างกายของคนเป็นพ่อจะเตรียมให้พร้อมสำหรับบทบาทใหม่ของคุณโดยส่งผลให้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนลดลง ผู้ชายที่มีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำจะมีความเห็นอกเห็นใจที่มากกว่าผู้ชายทั่วไป เช่น หากเขาเห็นเด็กทารกกำลังร้องไห้เขาจะมีความวิตกกังวลหรืออ่อนไหวง่าย แต่ผู้ชายที่มีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนสูงจะรู้สึกรำคาญใจ

 

ในการศึกษาวิจัยระยะเวลา 5 ปี Lee Gettler นักมนุษยวิทยาชาวอเมริกันได้ติดตามกลุ่มชายโสดที่ไม่มีลูกจำนวน 624 คนในฟิลิปปินส์ตั้งแต่อายุ 21 ถึง 26 ปี Gettler พบว่าในขณะที่ผู้ชายมีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนลดลงปกติตามช่วงอายุ แต่ผู้ชาย 465 คนที่กลายเป็นพ่อในช่วงเวลา 5 ปีนั้น พบว่ามีการลดลงอย่างมีนัยสำคัญโดยเฉลี่ย 34 เปอร์เซ็นต์ มากกว่าผู้ที่ยังคงเป็นโสด หรือแต่งงานแต่ยังไม่มีลูก โดยสังเกตว่าฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่ลดลงนี้สามารถเกิดขึ้นได้ก่อน และหลังการเกิดของลูกคนแรก และในขณะที่ยังไม่ชัดเจนว่าอะไรทำให้เกิดการลดลงนี้แต่พบว่ายิ่งฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนลดลงอย่างมากเท่าไร ดูเหมือนว่าจะมีผลกระทบมากขึ้นต่อพฤติกรรมของผู้ชาย ผลการศึกษาบางชิ้นได้บอกว่ายิ่งผู้ชายมีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำเท่าไหร่ เขาก็ยิ่งมีโอกาสปล่อยฮอร์โมน ได้แก่ ออกซิโทซินและโดปามีนมากเท่านั้น

ออกซิโทซิน คือ ฮอร์โมนแห่ง ความรัก ที่จะมักเพิ่มขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ การคลอดบุตร และการให้นมลูก เราเคยคิดว่ามีเพียงคุณแม่มือใหม่เท่านั้นที่มีออกซิโทซินสูง การศึกษาพบว่าพ่อคนมีระดับของออกซิโทซินสูงกว่าผู้ชายที่ไม่มีลูก และที่น่าสนใจคือ ออกซิโตซินในแม่นั้นกระตุ้นได้มากที่สุดจากกอดหรือการปลอบโยนลูก ๆ ในขณะที่ออกซิโตซินในพ่อมักถูกกระตุ้นโดยการเล่นกับลูก ๆ ของพวกเขา

 

การเปลี่ยนแปลงทางสมอง

ในปี 2014 Pilyoung Kim นักประสาทวิทยาด้านพัฒนาการที่มหาวิทยาลัยเดนเวอร์ได้นำพ่อใหม่ 16 คนเข้าสู่เครื่อง MRI โดยหนึ่งครั้งระหว่าง 2-4 สัปดาห์แรกเมื่อลูกคลอด และอีกครั้งระหว่าง 12-16 สัปดาห์ Pilyoung Kim  พบการเปลี่ยนแปลงของสมองของคนเป็นพ่อที่สะท้อนถึงสิ่งที่เคยพบในคุณแม่มือใหม่ คือ พื้นที่บางส่วนภายในสมองเชื่อมโยงกับความผูกพัน การเลี้ยงดู การเอาใจใส่ และความสามารถในการตีความพฤติกรรมของทารก สะท้อนถึงทักษะที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการเป็นพ่อแม่ เช่น การเลี้ยงดูและการเข้าใจความต้องการของลูกน้อย

 

ในขณะที่สมองของพ่อและแม่มือใหม่ถูกกระตุ้นให้ทำงานเชื่อมโยงกับฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย จากงานวิจัยยังพบอีกว่าสำหรับคนเป็นแม่ พื้นที่ที่ใกล้กับแกนกลางของสมองจะแอคทีฟสุด จะช่วยเรื่องการดูแล การเลี้ยงลูก และตรวจจับความเสี่ยง มีความกระฉับกระเฉง จึงไม่แปลกที่เราอาจจะเห็นคุณแม่มีสัญชาติญาณในการเลี้ยงลูก เข้าใจลูก และรู้ว่าลูกต้องการอะไร แต่สำหรับพ่อ ส่วนที่แอคทีฟมากที่สุดนั้นอยู่ที่พื้นผิวด้านนอกของสมอง ซึ่งมีหน้าที่ด้านความรู้ความเข้าใจที่สูงขึ้น และมีสติมากขึ้น เช่น ความคิด การวางเป้าหมาย การวางแผน และการแก้ปัญหา พื้นที่ต่าง ๆ ของการกระตุ้นสมองอาจสะท้อนถึงบทบาทที่แตกต่างกัน จึงอาจเป็นเรื่องปกติที่เด็ก ๆ จะวิ่งไปหาแม่เพื่อกอดเวลาที่พวกเขาเจ็บปวด ในขณะที่พ่อคือคนที่ให้ความสนุกสนาน นอกจากนี้การเล่นกับลูกของคนเป็นพ่อนั้นไม่เพียงแค่เชื่อมสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับลูกเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสังคมของเด็กอีกด้วยการศึกษาของฮาร์วาร์ดชิ้นหนึ่งพบว่าคนที่เป็นพ่อจะมีความกระตือรือร้นในการหารายได้มากกว่าชายโสด แม้จะควบคุมปัจจัยภายนอกแล้วก็ตาม 

คนเป็นพ่อสามารถร่วมทำสิ่งมหัศจรรย์ในการมีส่วนร่วมในการเลี้ยงดู จัดสรรเวลา เล่นกับลูก ถึงแม้ว่าผู้หญิงจะมีสัญชาติญาณการเลี้ยงลูกเพราะเธอผ่านการตั้งครรภ์ คลอดลูก เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่ความเป็นจริงแล้วผู้ชายเองก็มีสัญชาติญาณของความเป็นพ่อที่ไม่ต่างจากแม่เช่นกัน

 

อ้างอิง
https://www.nytimes.com/2020/04/15/parenting/baby/fatherhood-mens-bodies.html
https://www.todaysparent.com/family/parenting/the-science-of-how-fatherhood-transforms-you/
https://www.bbc.co.uk/tiny-happy-people/science-of-fatherhood/zvnhjsg
https://www.fatherly.com/health-science/dad-psychology-science-fatherhood/
https://bigthink.com/neuropsych/neuroscience-of-fatherhood/

 

Tag

Share

Tag

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS