ขี้เกียจแล้วผิดมากมั้ย ?

A A
Jan 6, 2024
Jan 6, 2024
A A

 


ขี้เกียจแล้วผิดมากมั้ย?

 

 

  • จากงานวิจัยบ่งบอกว่าคนขี้เกียจไม่ใช่คนโง่เสมอไป ปัญหาส่วนหนึ่งอาจเกี่ยวข้องกับวิธีที่เรามองความขี้เกียจเพราะความขี้เกียจอาจไม่ได้บ่งบอกถึงความขี้เกียจเสมอไป นักวิจัยได้อธิบายความขี้เกียจว่าเป็นความจำเป็นในการรับรู้ ซึ่งคนที่มีนิสัยนี้จะมองโลกอย่างเป็นระบบมีเหตุผล 
  • ความขี้เกียจอาจเป็นกลไกในการรับมือกับภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล แม้แต่คนที่มีแรงบันดาลใจและทำงานหนักที่สุดบางครั้งก็ยังรู้สึกขี้เกียจได้
  • ความขี้เกียจอาจเป็นอาการที่เป็นประโยชน์ เมื่อเรารู้สึกขี้เกียจ ร่างกายและจิตใจของเรากำลังสื่อสารข้อมูลว่าเราอาจกำลังเหนื่อยหรือหิว หรืองานนั้นกำลังน่าเบื่อรึเปล่า การรู้ถึงความขี้เกียจอาจเป็นวิธีที่ดีในการพัฒนาตัวเองและงานที่ทำอยู่ให้ดีขึ้น

 

   ผู้คนมักมองว่าคนที่ขยันมักประสบความสำเร็จ ตัวอย่างเช่น Richard Branson เป็นเจ้าของธุรกิจกว่า 360 บริษัท ผู้ก่อตั้ง Virgin Group จะตื่นนอนตอนตี 5 ทุกวัน เพื่อตอบอีเมล กินอาหารเช้ากับครอบครัว อ่านข่าว เข้าประชุม และเล่นกีฬา และนอนก่อนเวลา 5 ทุ่ม Branson เป็นคนที่กระตือรือร้นและประสบความสำเร็จอย่างมากและปฏิเสธไม่ได้ว่าความกระตือรือร้นนี้อาจเป็นกุญแจสำคัญของการประสบความสำเร็จ  จึงไม่แปลกใจที่จะเห็นว่าคนขี้เกียจถูกมองว่ามักไม่ประสบความสำเร็จ 

 

   ตามการศึกษาในปี 2015 ที่ตีพิมพ์ในวารสารจิตวิทยาสุขภาพ นักวิจัยได้อธิบายความขี้เกียจว่าเป็นความจำเป็นในการรับรู้ ซึ่งคนที่มีนิสัยนี้จะมองโลกอย่างเป็นระบบมีเหตุผล โดยนักวิจัยได้ทำการศึกษาโดยแบ่งคนออกเป็นสองกลุ่ม คือ นักคิด และ คนที่ไม่ใช่คิดจากนั้นผู้เข้าร่วมทั้งหมดสวมเครื่องติดตามกิจกรรมเป็นระยะเวลาเจ็ดวัน เพื่อให้นักวิจัยเข้าใจถึงนิสัยของพวกเขา ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าคนที่มีไอคิวสูงจะเบื่อง่าย และส่งผลให้ความกระตือรือร้นลดลงและใช้เวลาคิดมากขึ้น ซึ่งจากงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าคนขี้เกียจไม่ใช่คนโง่เสมอไป ปัญหาส่วนหนึ่งอาจเกี่ยวข้องกับวิธีที่เรามองความขี้เกียจ เพราะความขี้เกียจอาจไม่ได้บ่งบอกถึงความขี้เกียจเสมอไป

 

   บิล เกตส์ กล่าวเอาไว้ว่า “ฉันมักจะเลือกคนขี้เกียจให้ทำงานหนัก เพราะคนขี้เกียจจะหาวิธีง่ายๆ ในการทำงาน” ไม่ว่าเกตส์จะพูดอย่างนั้นหรือไม่ แต่คำพูดดังกล่าวยังคงถูกกล่าวซ้ำ นั่นเป็นเพราะมีความจริงบางอย่างอยู่ในนั้น เพราะนักคิดส่วนใหญ่มักจะลดการกระทำที่เสียเวลาแต่เลือกใช้วิธีที่มีประสิทธิภาพแทน คนขี้เกียจเป็นนักคิดเชิงกลยุทธ์สามารถคิดทางลัดอันชาญฉลาด วิธีขจัดปัญหา ประหยัดเวลา และสนับสนุนแนวคิดใหม่ๆ ที่เป็นนวัตกรรม

 

   ไมเคิล ลูอิส ผู้เขียนหนังสือเรื่อง “Moneyball” และ “The Big Short” ได้บอกว่าในความเป็นจริง เขาถือว่าความสำเร็จส่วนใหญ่ของเขามาจากความขี้เกียจโดยตรง เพราะความขี้เกียจทำหน้าที่เป็นตัวกรอง ต้องมีบางสิ่งที่ดีจริงๆ ก่อนที่เขาจะตัดสินใจทำบางสิ่ง ความขี้เกียจของเขามีส่วนหักล้างทัศนคติเชิงลบที่มีต่อความขี้เกียจ วิดีโอเกมเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของความขี้เกียจ มักถูกมองว่าเป็นกิจกรรมที่ไร้เหตุผลซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นกิจกรรมของคนขี้เกียจ แต่ใครก็ตามที่เคยเล่น Fortnite จะรู้ดีว่าต้องใช้การคิดเชิงกลยุทธ์และการแก้ปัญหาพอสมควร

 

   Elon Musk เป็นที่รู้จักในฐานะเกมเมอร์ที่ประสบความสำเร็จ และแน่นอนว่าเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการว่าใครก็ตามที่ตีตราเขาว่าขี้เกียจ หลังจากที่ต้องทำงานสัปดาห์ละมากกว่า 100 ชั่วโมงและหลายปีโดยไม่มีวันหยุด Musk ได้สร้างบริษัทที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงอย่างน้อย 6 แห่ง เขาห่างไกลจากคำว่า  ”ไม่ฉลาด” มากทีเดียว

 

 

ทำไมเราถึงขี้เกียจ

 

ทำไมเราถึงขี้เกียจ?


   ความขี้เกียจอาจเป็นกลไกในการรับมือกับภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล แม้แต่คนที่มีแรงบันดาลใจและทำงานหนักที่สุดบางครั้งก็ยังรู้สึกขี้เกียจได้ Hal Cranmerได้ตั้งคำถามไว้ใน In Defense of Laziness ว่าถ้าความขี้เกียจมันแย่ขนาดนั้น ทำไมถึงแพร่หลายขนาดนี้?

   ดูเหมือนว่าธรรมชาติได้ปรับกระบวนการทางชีววิทยาของเราให้เหมาะสมสำหรับความขี้เกียจ สัตว์ส่วนใหญ่ก็ใช้เวลาไปโดยไม่ได้ทำอะไรเป็นพิเศษ แม้กระทั่งสัตว์อย่างงูเหลือมที่นอนหลับประมาณ 18 ชั่วโมงต่อวัน  ศาสตราจารย์ Joan Herbers อธิบายว่า เนื่องจากพวกมันมีเวลาว่างมากกว่าจึงอาจดูเหมือนขี้เกียจมากกว่าสัตว์นักล่า แต่ทั้งนี้ความขี้เกียจสามารถกระตุ้นให้เกิดการทำงานที่ชาญฉลาดในตัวมันเองได้

 

“ความก้าวหน้าไม่ได้เกิดขึ้นจากการตื่นเช้า มันสร้างโดยคนขี้เกียจที่พยายามหาวิธีที่ง่ายกว่าในการทำบางสิ่ง” — โรเบิร์ต เอ. ไฮน์ไลน์

 

ประโยชน์ของความขี้เกียจ

ความขี้เกียจอาจไม่ใช่ความผิดร้ายแรง เพราะความขี้เกียจสามารถนำไปสู่ชีวิตที่ผ่อนคลายมากขึ้นและยังเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้นอีกด้วย 

1.วิธีแก้ปัญหาที่ขี้เกียจช่วยให้เกิดนวัตกรรมได้ สวิตช์ไฟ รีโมทคอนโทรล บันไดเลื่อน ลำโพงอัจฉริยะเกิดจากความแก้ปัญหาจากความขี้เกียจ และเป็นที่มาของนวัตกรรมมากมาย

2.คนขี้เกียจโฟกัสกิจกรรมที่ใช้พลังงานสูง  เพราะคนขี้เกียจจัดการพลังงานอย่างรอบคอบโดยพวกเขาชอบเลี่ยงงานที่ไม่จำเป็น แต่ทำงานที่มี input ต่ำ แต่ได้ผลที่สูง

3.เวลาที่ทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ช่วยให้เราจัดการกับความเครียดได้ การวิจัยชี้ให้เห็นว่าการผัดวันประกันพรุ่งจากงานและใช้เวลาที่ไม่มีประสิทธิภาพช่วยให้เรารับมือกับความเครียดได้ 

4.การขี้เกียจจะทำให้คุณ Burn out น้อยลง ความเบื่อหน่ายและความขี้เกียจเป็นเครื่องมือในการควบคุมร่างกายของตัวเอง Dr Isabelle Moreau อธิบายว่าการได้พักผ่อนเป็นประจำจะทำให้คนขี้เกียจมีโอกาสให้ร่างกายและใจได้ชาร์จพลัง เพื่อหลีกเลี่ยงอาการเหนื่อยหน่าย

5.เวลาว่างกระตุ้นให้เกิดความคิดที่กระจัดกระจาย จิตใจของเรามีสองโหมดการคิดคือ โหมดกระจัดกระจายและโหมดการคิดที่โฟกัส เราจำเป็นต้องรักษาสมดุลนี้ของทั้งสองโหมดอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีความสร้างสรรค์และประสิทธิผลสูงสุด ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในConsciousness and Cognition ระบุว่าประโยชน์อีกข้อหนึ่งของการปล่อยใจให้ล่องลอยคือการมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายระยะยาวให้มากขึ้น หากขี้เกียจสักหน่อยก็สามารถเพิ่มประสิทธิภาพที่มากขึ้นในวันพรุ่งนี้

 

   ความขี้เกียจสามารถส่งผลดีต่อสุขภาพจิตของเราได้ นักจิตวิเคราะห์และศาสตราจารย์ด้านการพัฒนาความเป็นผู้นำ Manfred FR Kets de Vries ได้บอกว่าการปล่อยใจล่องลอยอาจเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่เราสามารถทำได้เพื่อสุขภาพจิตของเรา ความขี้เกียจเป็นวิธีเติมพลังให้กับเรา การพักผ่อนและการอยู่เฉย ๆ มีความหมายที่ดูดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับความขี้เกียจ แต่ผลลัพธ์ก็คล้ายคลึงกัน มีงานวิจัยมากมายที่แสดงให้เห็นประโยชน์ของการงีบหลับตอนกลางวันและการหยุดพักเป็นประจำทำให้ความดันโลหิตลดลงและทำให้จิตใจให้ปลอดโปร่ง แท้จริงความขี้เกียจอาจเป็นอาการที่เป็นประโยชน์ เมื่อเรารู้สึกขี้เกียจ ร่างกายและจิตใจของเรากำลังสื่อสารข้อมูลว่าเราอาจกำลังเหนื่อยหรือหิว หรืองานนั้นกำลังน่าเบื่อรึเปล่า การรู้ถึงความขี้เกียจอาจเป็นวิธีที่ดีในการพัฒนาตัวเองและงานที่ทำอยู่ให้ดีขึ้น

 

อ้างอิง :

https://nesslabs.com/benefits-of-laziness

https://www.cnbc.com/2019/02/15/the-science-backed-reason-lazy-people-are-smarter-more-successful-and-better-employees.html

 

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS