จิตวิทยาเบื้องหลังการบริหาร 4,000 ของชีวิต

A A
May 28, 2024
May 28, 2024
A A

จิตวิทยาเบื้องหลังการบริหาร 4,000 ของชีวิต

 

 

   กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มนุษย์มีอายุขัยเฉลี่ยเพียง 30 ปี แต่ปัจจุบัน ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อายุขัยของเราพุ่งสูงขึ้นถึง 70 ปี นั่นหมายความว่า หลายคนมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 4,000 สัปดาห์ แต่การมีอายุยืนยาวขึ้น ไม่ได้แปลว่าชีวิตจะราบรื่นเสมอไป การบริหารจัดการชีวิต 4,000 สัปดาห์นี้ เต็มไปด้วยความท้าทายทางจิตวิทยาที่เราต้องเผชิญด้วยเช่นกัน

 

4,000 สัปดาห์ของชีวิต เริ่มต้นด้วยสิ่งง่ายๆด้วยการนอนหลับ

 

เพราะการนอนหลับและพักผ่อนอย่างเพียงพอ คือ พื้นฐานสู่ความสำเร็จ

   คำอธิบายจากงานวิจัยโดยดร.แมทธิว วอล์คเกอร์ ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเบิร์กลีย์ งานวิจัยนี้ใช้ชื่อว่า “National Sleep Foundation’s sleep time duration recommendations: methodology and results summary” ได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับระยะเวลาการนอนหลับที่เหมาะสมสำหรับคนหลากหลายช่วงวัย โดยสรุปผลการวิจัยคร่าว ๆ สำหรับผู้ใหญ่วัยทำงานอายุ 18-64 ปี ควรนอนหลับ 7-9 ชั่วโมงต่อคืน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เพียงพอต่อการทำงานของร่างกายและสมอง โดยการนอนหลับในช่วงเวลาดังกล่าวจะส่งผลดีในด้านปรับปรุงสมาธิและการตั้งใจ (Attention and Concentration) ผู้ที่นอนหลับเพียงพอจะมีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งที่กำลังทำได้นานขึ้น ส่งผลให้สามารถทำงานหรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมไปถึงเสริมสร้างความจำระยะสั้นและระยะยาว (Short and Long-term Memory) การนอนหลับช่วยกระบวนการจัดเก็บและรวบรวมความทรงจำจากประสบการณ์ในแต่ละวัน ทำให้สามารถจดจำข้อมูลสำคัญและสิ่งที่ได้เรียนรู้มาได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้งานวิจัยดังกล่าวยังค้นพบว่าการขาดการนอนหลับเรื้อรังอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เช่น เสี่ยงต่อโรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง รวมถึงภาวะซึมเศร้าและความจำเสื่อม ดังนั้นการนอนหลับอย่างเพียงพอจึงเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการดำรงชีวิตที่มีสุขภาพดีและประสิทธิภาพการทำงานที่สูงสุด ดังนั้นหากต้องการมีพลังงานและประสิทธิภาพในการทำงานเต็มที่ การจัดสรรเวลาอย่างน้อย 2,500-3,000 ชั่วโมงต่อปีเพื่อการนอนหลับและพักผ่อน

 

 

จิตวิทยาเบื้องหลังการบริหาร 4,000 สัปดาห์ของชีวิต

 

 

4,000 สัปดาห์ของชีวิต สิ้นสุดด้วยการตั้งหมายที่ชัดเจน

 

   การตั้งเป้าหมาย เปรียบเสมือนเข็มทิศนำทางชีวิต หากเป้าหมายไม่ชัดเจน การเดินทางก็ไร้ทิศทาง แต่การตั้งเป้าหมายสำหรับชีวิต 4,000 สัปดาห์นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พบว่า คนที่ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน มีโอกาสประสบความสำเร็จในชีวิตสูงกว่าคนที่ไม่มีเป้าหมายถึง 10 เท่า โดยหลักง่าย ๆ คึอ การแบ่งเป้าหมายใหญ่ ๆ ออกเป็นเป้าหมายย่อย ๆ ที่จัดการง่าย  เปรียบเสมือนการปีนเขา เป้าหมายใหญ่คือยอดเขา แต่ละย่างก้าวคือเป้าหมายย่อย ๆ การแบ่งเป้าหมายใหญ่ ๆ ออกเป็นเป้าหมายย่อย ๆ ช่วยให้รู้สึกท้าทายน้อยลงและมีกำลังใจมากขึ้น ตัวอย่างเช่น หากเป้าหมายใหญ่คือการเกษียณอายุด้วยเงิน 10 ล้านบาท เป้าหมายย่อย ๆ อาจเป็นการเก็บออมเงินเดือนละ 10,000 บาท 

   ซึ่งเป้าหมายที่ดีควรมีความ SMART ซึ่งย่อมาจาก Specific (เฉพาะเจาะจง) Measurable (วัดผลได้) Achievable (บรรลุได้) Relevant (เกี่ยวข้อง) และ Time-bound (กำหนดเวลา) ตัวอย่างเช่น แทนที่จะตั้งเป้าหมายว่า “ฉันต้องการประสบความสำเร็จ” บุคคลเหล่านี้อาจตั้งเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น “ฉันต้องการเพิ่มยอดขาย 20% ภายในสิ้นปีนี้” และต้องไม่ลืมที่จะหาวิธีวัดผลความก้าวหน้า เพื่อช่วยให้เรารู้ว่าเราอยู่ใกล้หรือไกลจากเป้าหมาย ตัวอย่างเช่น หากเป้าหมายคือการลดน้ำหนัก 10 กิโลกรัม เราสามารถชั่งน้ำหนักตัวเองทุกสัปดาห์เพื่อติดตามผล และที่สำคัญที่สุดคือ ต้องไม่ลืมที่จะฉลองความสำเร็จเล็ก ๆ ให้กับตัวเอง เพราะการฉลองความสำเร็จเล็ก ๆ ช่วยให้เรารู้สึกภูมิใจและมีกำลังใจมากขึ้น ตัวอย่างเช่น หากเป้าหมายคือการวิ่งระยะทาง 10 กิโลเมตร เราอาจฉลองโดยการซื้อรองเท้าวิ่งใหม่เมื่อเราบรรลุเป้าหมาย 

   บุคคลผู้ประสบความสำเร็จหลายคนมักจะมีเป้าหมายที่ชัดเจนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เป้าหมายเหล่านี้เปรียบเสมือนเข็มทิศที่นำทางพวกเขา ช่วยให้พวกเขามุ่งมั่นและโฟกัสกับสิ่งที่สำคัญที่สุด ตัวอย่างเช่น Oprah Whinfey พิธีกรคนดังที่ตั้งเป้าหมายจะเป็นนักเล่าเรื่องราวที่มีอิทธิพลตั้งแต่เด็ก เป้าหมายที่ชัดเจนนี้ผลักดันให้เธอทุ่มเททำงานหนักและประสบความสำเร็จในที่สุด

   การจัดลำดับความสำคัญคือหัวใจสำคัญของการจัดการเวลา บุคคลเหล่านี้เข้าใจว่างานใดสำคัญและเร่งด่วนที่สุด พวกเขามุ่งเน้นไปที่งานเหล่านี้ก่อน และจัดการงานที่ไม่สำคัญหรือสามารถเลื่อนออกไปได้ในภายหลัง Steve Jobs ผู้ก่อตั้ง Apple เป็นตัวอย่างที่โดดเด่น ซึ่งในแต่ละวันเขาจะแบ่งงานออกเป็นสี่ประเภทตามความเร่งด่วนและความสำคัญ หรือเทคนิค Pomodoro ซึ่งแบ่งงานออกเป็นช่วงเวลาทำงาน 25 นาที สลับกับช่วงพัก 5 นาที ทำให้เขาสามารถตัดสินใจอย่างเด็ดขาดที่จะโฟกัสไปที่ผลิตภัณฑ์เพียงไม่กี่ชิ้น ละทิ้งผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่แม้จะทำกำไร แต่ไม่ได้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของเขานั่นเอง แม้กระทั่งเทคนิคเอาชนะความท้าทายแบบทีละก้าว อย่างเช่นนักเขียนนวนิยายชื่อดัง จอร์จ อาร์. อาร์. มาร์ติน ใช้วิธีนี้ในการเขียนนิยายชุด “Game of Thrones” เขาแบ่งเนื้อเรื่องนิยายออกเป็นบทสั้นๆ ทำให้เขามีสมาธิและเขียนงานอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้สามารถปรับโฟกัสและบรรลุเป้าหมายทีละขั้นตอนได้

   กลยุทธ์การจัดการเวลาของบุคคลผู้ประสบความสำเร็จมีหลายรูปแบบ แต่มักมีหลักการสำคัญบางประการที่เหมือนกัน เช่น การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน จัดลำดับความสำคัญ แบ่งงานใหญ่เป็นชิ้นเล็ก กำหนดเวลา ฝึกสมาธิ และดูแลตนเอง กลยุทธ์เหล่านี้สามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกคน ไม่ว่าคุณจะเป็นนักเรียน นักธุรกิจ หรือบุคคลทั่วไป การจัดการเวลาอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมาย เพิ่มผลผลิต และใช้ชีวิตที่มีความสุขและเติมเต็ม ซึ่งมันก็ขึ้นอยู่กับว่า….คุณอยากให้ 4,000 ชั่วโมงของชีวิตมีหน้าตาความสำเร็จแบบไหน

 

อ้างอิง

https://www.mindtools.com/a4wo118/smart-goals

https://www.timemanagement.com/page/2/

https://www.franklincovey.com/the-7-habits/

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS