ทำไมการอ่านผ่านจอจำได้ไม่ดีเท่าการอ่านในหนังสือ

A A
Jul 15, 2024
Jul 15, 2024
A A

 

ทำไมการอ่านผ่านจอจำได้ไม่ดีเท่าการอ่านในหนังสือ

 

 

  • คนในปัจจุบันมีปัญหาด้านการจับใจความสำคัญ  จากการศึกษาพบว่าทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทยของเด็ก กทม. ระดับชั้น ป.1-ป.4 จำนวน 20,000 คน ไม่ถึงเกณฑ์ที่เหมาะสม
  • การอ่านแบบผ่าน ๆ อย่างรวดเร็วมักกลายเป็นนิสัยของการอ่านบนหน้าจอ เมื่อเราลองอ่านบทความงานวิจัย การบ้าน หรือแนวทางการเตรียมสอบ สมองก็อาจเปิดใช้งานในโหมดการอ่านแบบผ่าน ๆ อย่างรวดเร็ว จึงทำให้คนอ่านไม่ได้เข้าใจอะไรมากเทียบเท่าการอ่านบนสิ่งพิมพ์
  • สิ่งหนึ่งที่ควรทำคือการอ่านให้ช้าลงจะทำให้คุณมีสมาธิกับเรื่องที่อ่าน นอกจากนี้ควรปิดการแจ้งเตือนทุกอย่างบนเครื่องมือดิจิทัลเพื่อที่จะได้ไม่รบกวนสมาธิ เทคนิคอีกอย่างคือการจดสรุปใจความสำคัญจากสิ่งที่อ่านจะทำให้คุณจดจำเรื่องที่อ่านได้ดีขึ้น

 

 

   จากการศึกษาหลายแห่งพบว่าคนในปัจจุบันมีปัญหาด้านการจับใจความสำคัญ โดยเริ่มเป็นตั้งแต่วัยเด็กซึ่งเป็นวัยเริ่มเรียนรู้ จากการศึกษาพบว่าทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทยของเด็ก กทม. ระดับชั้น ป.1-ป.4 จำนวน 20,000 คน ไม่ถึงเกณฑ์ที่เหมาะสม แต่สิ่งนี้เกิดขึ้นทั่วโลกไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย ในอิสราเอลในปี 2018 ผู้อ่านมากกว่า 171,100 คนพบว่าการอ่านข้อความบนหน้าจอไม่ดีเท่ากับเมื่ออ่านจากสื่อสิ่งพิมพ์ ชาวอเมริกันเองก็มีคะแนนการอ่านลดลงจากการศึกษาพบว่าการทำความเข้าใจจากการอ่านของนักเรียนวัย 13 ลดลงตั้งแต่ปี 2019-2020 

 

   จากการศึกษาผลการอ่านบนหน้าจอจากงานหลายชิ้นพบว่า คนที่อ่านบนหน้าจอไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่พวกเขาอ่านได้ดีเท่าอ่านจากหนังสือ  และนอกจากนี้หลายคนไม่รู้ตัวว่าไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่านจากดิจิทัล 

 

   Maryanne Wolf นักประสาทวิทยาที่มหาวิทยาลัย California, Los Angeles ได้อธิบายว่าการอ่านไม่ใช่เรื่องธรรมชาติ เพราะว่าสมองไม่มีเครือข่ายเซลล์พิเศษสำหรับการอ่านโดยเฉพาะ สมองจะยืมส่วนที่วิวัฒนาการการจดจำใบหน้ามาเพื่อจดจำตัวอักษร เพราะสมองมีความยืดหยุ่นมากจึงทำให้ได้ทุกคนสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ได้มากมาย จากการอ่านหนังสือมาเป็นการอ่านแบบดิจิทัลจะทำให้สมองสร้างชุดการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ที่ต่างจากการอ่านบนสื่อสิ่งพิมพ์ สมองจะเข้าสู่โหมดอ่านแบบคร่าว ๆ เมื่ออ่านจากหน้าจอและเข้าสู่การอ่านแบบลึกเมื่ออ่านจากสิ่งพิมพ์ Patricia Alexander นักจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัย Maryland ได้บอกว่า สิ่งที่คนเราอ่านบนดิจิทัลส่วนใหญ่มักเป็นข้อความบน social media ซึ่งจะเข้าใจได้ง่าย ดังนั้นเมื่ออ่านหนังสือบนดิจิทัลดวงตามักจะสแกนคำต่าง ๆ ได้เร็วกว่าอ่านบนกระดาษ

 

   การอ่านแบบผ่าน ๆ อย่างรวดเร็วจึงมักกลายเป็นนิสัยของการอ่านบนหน้าจอ เมื่อเราลองอ่านบทความงานวิจัย การบ้าน หรือแนวทางการเตรียมสอบ สมองก็อาจเปิดใช้งานในโหมดการอ่านแบบผ่าน ๆ อย่างรวดเร็ว จึงทำให้คนอ่านไม่ได้เข้าใจอะไรมากเทียบเท่าการอ่านบนสิ่งพิมพ์


   นอกจากเรื่องความเร็วในการอ่านแล้วยังมีปัญหาเรื่องของการเลื่อนหน้าด้วย การอ่านบนหน้าจอมักเป็นการเลื่อนหน้าขึ้นไปเรื่อย ๆ ทำให้คนอ่านจำไม่ได้ว่าคุณกำลังอยู่หน้าไหน นอกจากนี้การอ่านบนหน้าจอจะมีการเคลื่อนไหวของหน้าขึ้นลงจึงต้องใช้ความพยายามในการอ่านบรรทัดหนึ่ง ๆ ในขณะที่มือกำลังเลื่อนหน้าจอเพื่ออ่านหน้าถัดไป นอกจากนี้ความยาวก็มีผลในการอ่านเช่นเดียวกัน หากเราอ่านข้อความสั้น ๆ บนหน้าจอเราจะสามารถเข้าใจได้ง่ายแต่หากเกิน 500 คำขึ้นไป เราจะเริ่มจับใจความได้ไม่ดีเท่ากับการอ่านบนสิ่งพิมพ์ปกติ

 

   ปัญหาใหญ่ที่สุดอาจจะอยู่ที่สิ่งรบกวนที่อยู่บนดิจิทัลไม่ว่าจะเป็น ข้อความเด้ง อีเมลเข้า หรือโฆษณาเด้งซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้ทำลายสมาธิได้อย่างรวดเร็วจนทำให้คุณไม่สามารถเข้าใจอะไรได้ง่าย ๆ เหมือนการอ่านบนหนังสือ

 

 

การอ่านหนังสือ

 

 

แล้วเราจะทำอย่างไรเมื่อการอ่านบนดิจิทัลยังต้องอยู่กับโลกเราไปอีกนาน

 

   สิ่งหนึ่งที่ควรทำคือการอ่านให้ช้าลงจะทำให้คุณมีสมาธิกับเรื่องที่อ่าน นอกจากนี้ควรปิดการแจ้งเตือนทุกอย่างบนเครื่องมือดิจิทัลเพื่อที่จะได้ไม่รบกวนสมาธิ เทคนิคอีกอย่างคือการจดสรุปใจความสำคัญจากสิ่งที่อ่านจะทำให้คุณจดจำเรื่องที่อ่านได้ดีขึ้น

 

   สมองมักยืดหยุ่นพร้อมปรับตัวอยู่เสมอ ส่วนหนึ่งที่เราทุกคนทำได้คือการเปิดใจยอมรับการเปลี่ยนแปลงในโลกที่ก้าวหน้าไปเร็วเกินคาดเดา ทำให้เราทุกคนต่างต้องเตรียมความพร้อมและปรับตัวเพื่อให้รับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ การอ่านอาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ จุดหนึ่งในการปรับตัวและเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้

 

อ้างอิง

https://www.snexplores.org/article/learn-comprehension-reading-digital-screen-paper

https://www.theguardian.com/lifeandstyle/2024/jan/17/kids-reading-better-paper-vs-screen

https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1018445

https://online.ewu.edu/degrees/education/med/reading-literacy/reading-from-paper-or-screens/

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS