การนอนหลับ มีส่วนช่วยให้การแก้ปัญหาของคุณง่ายขึ้น

A A
Sep 16, 2022
Sep 16, 2022
A A

การนอนหลับ มีส่วนช่วยให้การแก้ปัญหาของคุณง่ายขึ้น

 

  • การนอนหลับเป็นการหยุดความพยายามในการแก้ปัญหา พร้อมช่วยปรับอารมณ์ และทำให้การเข้าถึงข้อมูลในของสมองเราดีขึ้น
  • จากการศึกษาพบว่ากลุ่มที่นอนหลับได้ก่อนสามารถแก้ปัญหาที่ยากให้ประสบความสำเร็จได้มากที่สุด เห็นได้ชัดว่าการนอนประโยชน์มากที่สุดเมื่อต้องรับมือกับการตัดสินใจที่ยากลำบาก แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นนี้จะเกิดเฉพาะกับปัญหาที่ “ยาก” เท่านั้น การนอนกับปัญหาที่ง่ายไม่มีผลใด ๆ
  • การนอนอย่างเพียงพอก่อนเรียนรู้จะช่วยเติมพลังสมอง และทำให้พร้อมที่จะรับข้อมูลใหม่ และการนอนหลับหลังการเรียนรู้ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยเชื่อมโยงข้อมูลใหม่นั้นเข้ากับรูปแบบของสมองซึ่งทำให้คุณมีโอกาสน้อยที่จะลืมมัน
  •  

ถ้าคุณกำลังเจอปัญหากับหัวหน้าที่รุมเร้า งานที่หนักหน่วง ช่วงเวลาที่ทะเลาะกับเพื่อนสนิท บางเวลาที่ทะเลาะกับแฟน กังวลเกี่ยวกับการตัดสินใจครั้งสำคัญ คำแนะนำที่ดีที่สุดสำหรับช่วงเวลาแบบนี้คือ “การนอน” เมื่อต้องตัดสินใจทั้งเรื่องใหญ่ และเรื่องเล็ก การนอนหลับมีอิทธิพลต่อการตอบสนองต่อสถานการณ์ทางอารมณ์ และช่วยให้จัดการสุขภาพจิตได้ แต่ทำไมแค่นอนถึงทำให้การแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ดีขึ้น

 

การนอนหลับช่วยแก้ปัญหา

 

การนอนหลับ ไม่เพียงต่อส่งผลในการแก้ปัญหาแต่ยังช่วยจัดการอารมณ์ให้ดีขึ้น

 

“การนอนหลับ” ช่วยแก้ และเข้าใจปัญหาได้ดีขึ้นจริงหรือ หรืออาจเป็นเพียงข้ออ้างในการเลื่อนการตัดสินใจไปจนถึงวินาทีสุดท้าย อย่างไรก็ตามมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถอธิบายได้ว่า การนอนเป็นคำแนะนำที่ถูกต้องจริง ๆ การวิจัยแสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาดีขึ้นในช่วงเวลาการนอนหลับเมื่อเทียบกับตอนตื่น แต่การศึกษาไม่ได้บอกว่าการนอนหลับมีประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาหรือไม่ เพียงแต่การนอนหลับเป็นการหยุดความพยายามในการแก้ปัญหา พร้อมช่วยปรับอารมณ์ และทำให้การเข้าถึงข้อมูลในของสมองเราดีขึ้น

สิ่งสำคัญอันดับแรกคือต้องเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในสมองเมื่อเราพบกับอารมณ์บางอย่าง บริเวณสมองหลักมีสองส่วนที่มีปฏิสัมพันธ์เพื่อสร้างการตอบสนองทางอารมณ์ อย่างแรกคือระบบ ลิมบิก ซึ่งอยู่ลึกลงไปในสมองของเรา สิ่งนี้ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมอารมณ์ประเมินสถานการณ์อย่างรวดเร็ว และช่วยให้เราตัดสินใจว่าจะตอบสนองอย่างไร และส่วนที่สองเยื่อหุ้มสมองส่วนหน้าที่ตั้งอยู่ด้านหลังหน้าผากของเราช่วยให้เราเพิ่มหรือลดการตอบสนองทางอารมณ์ของเราตามความจำเป็น เมื่อเรานอนหลับพื้นที่สมองต่าง ๆ มีการเชื่อมต่อกัน และปรับการตอบสนองทางอารมณ์อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อเราอดนอนความเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่เหล่านี้จะลดลง จากการศึกษาพบว่าการนอนหลับไม่ดีทำให้เรามีแนวโน้มที่จะเลือกวิธีจัดการอารมณ์ที่มีประสิทธิภาพน้อยลง ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตของเราได้ ดังนั้นหากคุณได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ คุณเองก็จะมีแนวโน้มที่จะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ การนอนหลับอย่างเพียงพอจะช่วยให้สามารถประมวลผลสิ่งพบระหว่างวัน และสามารถนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในภายหลัง

จากการศึกษาของมหาวิทยาลัย Lancaster ได้ทำการศึกษาผู้เข้าร่วมการศึกษาที่แก้ปัญหาทั้งง่ายและยาก พบว่ากลุ่มที่นอนหลับได้ก่อนสามารถแก้ปัญหาที่ยากให้ประสบความสำเร็จได้มากที่สุด เห็นได้ชัดว่าการนอนประโยชน์มากที่สุดเมื่อต้องรับมือกับการตัดสินใจที่ยากลำบาก แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นนี้จะเกิดเฉพาะกับปัญหาที่ “ยาก” เท่านั้น การนอนกับปัญหาที่ง่ายไม่มีผลใด ๆ 

ในการเรียนระหว่างวันในแต่ละวันสิ่งที่ได้เรียนรู้จะถูกลืมไปเพราะเมื่อเราสร้างความทรงจำครั้งแรกความจำเหล่านั้นจะยังเปราะบาง และถูกลืมได้ง่ายแต่เมื่องีบหลับการนอนหลับจะเป็นช่วงเวลาพิเศษที่สมองจะตัดสินว่าจะเก็บอะไรไว้และอะไรที่ไม่ควรเก็บไว้

 

ไม่ใช่เพียงแค่การตัดสินใจเท่านั้นการนอนหลับยังสร้างความทรงจำที่ดีที่จำเป็นต่อการเรียนรู้อีกด้วย

 

นอกจากนี้ผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยBerkeley ,California พบว่าการนอนหลับอย่างเพียงพอก่อนเรียนรู้จะช่วยเติมพลังสมอง และทำให้พร้อมที่จะรับข้อมูลใหม่ Dr. Matthew Walker นักวิทยาศาสตร์การนอนหลับแห่งมหาวิทยาลัยBerkeley, California  กล่าวว่า “การนอนหลับจะช่วยเตรียมสมองให้พร้อมสำหรับการสร้างความทรงจำในขั้นต้น จากนั้นการนอนหลับหลังการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยเชื่อมโยงข้อมูลใหม่นั้นเข้ากับรูปแบบของสมองซึ่งทำให้คุณมีโอกาสน้อยที่จะลืมมัน” ในขณะที่งีบหลับสมองจะเตรียมความพร้อมก่อนการเรียนรู้ถัดไป ซึ่งหากคุณไม่ได้นอนความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อาจลดลงได้ถึง 40% การอดนอนส่งผลกระทบต่อส่วนหนึ่งของสมองที่เรียกว่าฮิปโปแคมปัส ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความทรงจำใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นอย่างมากมายระหว่างหลับ

ในการเรียนระหว่างวันในแต่ละวันสิ่งที่ได้เรียนรู้จะถูกลืมไปเพราะเมื่อเราสร้างความทรงจำครั้งแรกความจำเหล่านั้นจะยังเปราะบาง และถูกลืมได้ง่ายแต่เมื่องีบหลับการนอนหลับจะเป็นช่วงเวลาพิเศษที่สมองจะตัดสินว่าจะเก็บอะไรไว้และอะไรที่ไม่ควรเก็บไว้ ความทรงจำในสมองจะมีเสถียรภาพมากขึ้นในช่วงระหว่างการหลับลึก และการหลับช่วง REM ในสมองจะมีการเชื่อมโยงความทรงจำที่เกี่ยวข้องทำให้การนอนหลับในช่วง REM นี้เองที่ช่วยให้ประมวลผลความทรงจำทางอารมณ์ ซึ่งสามารถลดความรุนแรงของอารมณ์ได้ แต่รูปแบบการนอนมักจะเปลี่ยนไปเมื่อเราอายุมากขึ้น ระยะการนอนหลับที่เสริมความจำเริ่มลดลงในวัย 30 ปลาย ๆ การศึกษาโดย Dr. Matthew Walker พบว่าผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีจะมีการสูญเสียการนอนหลับลึก 70% เมื่อเทียบกับคนหนุ่มสาวอายุ 18-25 ปี  จึงไม่แปลกที่ผู้สูงอายุจะจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ยากกว่าคนหนุ่มสาว ดังนั้นในช่วงวัยเรียนควรคิดไว้เสมอว่าการนอนหลับพักผ่อนให้เต็มที่นั้นสำคัญพอ ๆ กับเวลาเรียนในเวลาปกติ

 

 

อ้างอิง
https://theswaddle.com/why-sleep-on-it-is-good-advice-for-stressful-situations/
https://economictimes.indiatimes.com/magazines/
https://link.springer.com/article/10.3758/s13421-012-0256-7
https://newsinhealth.nih.gov/2013/04/sleep-it
https://www.webmd.com/sleep-disorders/features/does-sleeping-on-it-really-work

 

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS