อยากความจำดี ต้องลืมให้เก่ง

A A
Dec 2, 2022
Dec 2, 2022
A A

อยากความจำดี ต้องลืมให้เก่ง

 

 

  • การลืมเป็นกลไกความปลอดภัยของสมองที่ปกป้องเราจากข้อมูลที่มากเกินไป เพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการตัดสินใจอย่างชาญฉลาดและความจำที่ดี
  • ประโยชน์ของการลืมจะทำให้เราปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ใหม่ ๆ ได้ดียิ่งขึ้นเพราะหากเรายังสามารถจำข้อมูลเก่า ๆ อาจะทำให้เราเข้าใจผิดและไม่สามารถปรับตัวกับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ ได้
  • เทคนิคที่ดีที่สุดสำหรับการจัดเก็บความทรงจำ คือ การไม่จดจำทุกสิ่งอย่างครบถ้วน เพราะหากคุณกำลังพยายามตัดสินใจบางสิ่งบางอย่าง ความทรงจำที่มีอยู่อาจจะโจมตีคุณด้วยข้อมูลที่ไร้ประโยชน์ตลอดเวลา

 

คนที่ความจำดีได้เปรียบในห้องเรียนเสมอ และถูกมองว่า “ฉลาด” แต่การลืมก็อาจเป็นสัญญาณของความฉลาดเช่นเดียวกัน

 

     คนที่ความจำดี และไม่ลืมอะไรเลยมักจะได้ยินเสมอว่าเป็นคนฉลาดเพราะบอกอะไรก็จำได้หมด ยิ่งการเรียนที่ต้องอาศัยการท่องจำด้วยแล้วล่ะก็ยิ่งทำให้คนที่ความจำดีได้เปรียบในห้องเรียนเสมอ และถูกมองว่า “ฉลาด” มากกว่าคนที่ความจำไม่ดีที่เรียนอะไรมักจะลืมเสมอ แต่จริง ๆ แล้ว การที่ “ลืม” อาจเป็นสัญญาณที่บอกว่าคุณฉลาดก็เป็นได้

 

 

อยากความจำดี ต้องลืมให้เก่ง

 

สมองมีกลไกในการส่งเสริมการเสียความจำ

     งานวิจัยของ Paul Frankland ผู้อาวุโสของ CIFAR’s Child & Brain Development program และ Blake Richards ในโครงการ Learning in Machines & Brains ชี้ให้เห็นว่าการลืมเป็นกลไกความปลอดภัยของสมองที่ปกป้องเราจากข้อมูลที่มากเกินไป เป้าหมายของหน่วยความจำไม่ใช่การส่งข้อมูลที่แม่นยำที่สุดเมื่อเวลาผ่านไป แต่เพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการตัดสินใจอย่างชาญฉลาดโดยยึดเฉพาะข้อมูลที่มีค่าเท่านั้นตัวอย่างเช่น สมองของเราลืมรายละเอียดย่อย ๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีต แต่ก็ยังคงจำภาพรวมได้โดยนักวิจัยเชื่อว่าสิ่งนี้ช่วยให้เราสามารถสรุปประสบการณ์ในอดีตได้ดีขึ้น เมื่อเทียบกับคนที่จำรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ของเหตุการณ์ได้มากกว่าโดยพื้นฐานแล้ว การลืมรายละเอียดเป็นระยะ ๆ เป็นสัญญาณของความจำที่ดีซึ่งเป็นไปตามที่ควรจะเป็นโดย Richards ได้ให้ความเห็นว่า

 

“สิ่งสำคัญคือสมองจะลืมรายละเอียดที่ไม่เกี่ยวข้อง และมุ่งเน้นไปที่สิ่งที่จะช่วยตัดสินใจในโลกแห่งความเป็นจริงแทน”

 

     ที่น่าแปลกคือสมองมีกลไกในการส่งเสริมการเสียความทรงจำโดยการลดการเชื่อมต่อแบบซินแนปติก ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทในขณะที่เกิดกระบวนการเรียนรู้ เมื่อเราลืมแล้วสมองจะสร้างเซลล์ประสาทใหม่เพื่อเขียนทับความทรงจำเหล่านั้น  Frankland และ Richards  ให้เหตุผลว่าการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างการจดจำ และการลืมทำให้เราสามารถตัดสินใจโดยใช้หน่วยความจำที่ชาญฉลาดยิ่งขึ้น โดยประโยชน์ของการลืมจะทำให้เราปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ใหม่ ๆ ได้ดียิ่งขึ้นเพราะหากเรายังสามารถจำข้อมูลเก่า ๆ อาจะทำให้เราเข้าใจผิดและไม่สามารถปรับตัวกับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ ได้  Richards  ได้บอกไว้ในงานวิจัยว่า

 

“หากคุณกำลังพยายามท่องโลกกว้าง และสมองของคุณนำความทรงจำที่ขัดแย้งกันหลาย ๆ อย่างมารวมกันข้อมูลเหล่านั้นจะทำให้การตัดสินใจยากขึ้น” 

 

     การลืมช่วยทำให้เราตัดสินใจง่ายขึ้นเพราะสมองจะจัดลำดับความสำคัญของข้อมูลหลัก โดยตัดรายละเอียดที่ไม่จำเป็นออกไปเพื่อให้เราได้มีความทรงจำที่เรียบง่ายแต่มีประสิทธิภาพมากกว่าในการตัดสินใจกับเรื่องใหม่ ๆ แต่ท้ายที่สุดกลไกเหล่านี้ถูกกำหนดโดยสภาพแวดล้อมที่เราอยู่ สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอาจทำให้เราต้องจดจำน้อยลง สิ่งหนึ่งที่แยกความแตกต่างระหว่างสภาพแวดล้อมที่คุณต้องการจดจำสิ่งต่าง ๆ กับสภาพแวดล้อมที่คุณต้องการลืมสิ่งต่าง ๆ คือสิ่งแวดล้อมนั้นมีความสม่ำเสมอเพียงใด และสิ่งเหล่านั้นจะกลับเข้ามาในชีวิตของคุณได้อย่างไร ตัวอย่างเช่น แคชเชียร์ที่พบปะผู้คนใหม่ ๆ มากมายทุกวันจะจำชื่อลูกค้าของเธอได้ในช่วงเวลาสั้น ๆ ในขณะครีเอทีฟ หรือคุณครูที่ต้องพบกับลูกค้า หรือนักเรียนเป็นประจำจะเก็บข้อมูลนั้นไว้นานขึ้น

 

     Richards กล่าว เทคนิคที่ดีที่สุดสำหรับการจัดเก็บความทรงจำ คือ การไม่จดจำทุกสิ่งอย่างครบถ้วน เพราะหากคุณกำลังพยายามตัดสินใจบางสิ่งบางอย่าง ความทรงจำที่มีอยู่อาจจะโจมตีคุณด้วยข้อมูลที่ไร้ประโยชน์ตลอดเวลาในขณะเดียวกัน การวิจัยแสดงให้เห็นว่าความทรงจำที่เป็นช่วง ๆ ที่เกิดกับเรานั้นถูกลืมได้เร็วกว่าความรู้ทั่วไปที่เราเข้าถึงได้ทุกวัน เช่นทักษะที่ต้องทำซ้ำทุกวันการฝึกฝนสิ่งต่าง ๆ  ยิ่งฝึกฝนภาษาหรือตีลูกเทนนิสมากเท่าไร จะส่งผลให้มีทักษะที่ดีขึ้นเท่านั้น และสมองจะช่วยผลักทักษะเหล่านี้อยู่ในความทรงจำระยะยาว 

 

     แต่ในขณะเดียวกันทุกคนเองก็คงไม่มีใครอยากลืมทุกสิ่งบ่อย ๆ ต้องลองสังเกตตัวเองว่าเราเป็นคนที่ลืมรายละเอียดเป็นครั้งคราวรึเปล่า ถ้าใช่นั่นอาจเป็นสัญญาณว่าระบบหน่วยความจำของเรานั้นแข็งแรงสมบูรณ์แต่หากลืมบ่อย ๆ และลืมประจำอาจจะต้องเป็นสิ่งที่ต้องกังวลเพราะอาจแสดงความผิดปกติที่ตามมา 

 

อ้างอิง

https://theswaddle.com/what-causes-you-to-forget-things-why-its-good/

https://www.sciencedaily.com/releases/2017/06/170621132910.htm

https://www.harpersbazaar.com/uk/beauty/mind-body/a26780455/being-forgetful-is-actually-a-sign-of-high-intelligence/\

https://edition.cnn.com/2017/06/30/health/poor-memory-smarter-study-partner/index.html

https://www.psychologytoday.com/intl/blog/the-fallible-mind/201711/the-ways-forgetting-makes-you-smarter

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS