ภาพยนตร์สยองขวัญกับสิ่งที่เด็ก ๆ จะได้มากกว่าเรื่อง Jumpscare

A A
Apr 10, 2024
Apr 10, 2024
A A

 

ภาพยนตร์สยองขวัญกับสิ่งที่เด็ก ๆ จะได้มากกว่าเรื่อง Jumpscare

 

 

   มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่หลีกเลี่ยงอันตรายโดยสัญชาตญาณ ภาพยนตร์สยองขวัญเสมือนการจำลองสถานการณ์คุกคาม กระตุ้นให้เราเผชิญหน้ากับความกลัวในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ช่วยให้เราเรียนรู้วิธีควบคุมอารมณ์ จัดการกับความตึงเครียด และตัดสินใจอย่างมีสติภายใต้สถานการณ์กดดัน เปรียบเสมือนการฝึกซ้อมจิตใจให้พร้อมรับมือกับปัญหาในชีวิตจริง

 

   ภาพยนตร์สยองขวัญ มักถูกมองว่าเป็นสื่อบันเทิงที่มอบความตื่นเต้นเร้าใจ ผ่านฉากน่ากลัว เสียงเพลงประกอบที่สร้างความตึงเครียด และฉากตุ้งแช่แบบ Jump Scare ที่สร้างความตกใจแบบสุดขีด หลายคนอาจสงสัยว่า เด็กๆ จะได้รับอะไรจากการรับชมภาพยนตร์ประเภทนี้ บทความนี้จะพาทุกท่านไปเจาะลึกถึงจิตวิทยาเบื้องหลังการรับชมภาพยนตร์สยองขวัญ

 

 

ภาพยนตร์สยองขวัญ Jump Scare

 

 

มีอะไรในฉากภาพยนตร์สยองขวัญน่ากลัว Jump Scare

 

   ฉาก Jump Scare เป็นกลยุทธ์ที่ใช้สร้างความตกใจแบบฉับพลัน มักใช้เสียงดัง หรือภาพที่น่ากลัวปรากฏขึ้นอย่างกะทันหัน กลไกทางจิตวิทยาที่ทำให้เรารู้สึกตื่นเต้นเร้าใจ เกิดจากการหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลิน (Adrenaline) และคอร์ติซอล (Cortisol) ฮอร์โมนเหล่านี้กระตุ้นระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic Nervous System) ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น เหงื่อออก หายใจเร็ว กล้ามเนื้อตึงเครียด ร่างกายอยู่ในสภาวะตื่นตัวสูงสุด

 

ยิ่งสยองขวัญ ยิ่งน่ากลัว ยิ่งเรียนรู้

กลไกความกลัวตามหลักจิตวิทยาความกลัว 

 

   โดยปกติการตอบสนองต่อความกลัวระหว่างการรับภาพยนตร์ประเภทสยองขวัญ ระทึกขวัญ จะทำให้คนเราเกิดเสพติดความตื่นเต้น ความตื่นเต้นจากฉาก Jump Scare กระตุ้นระบบการให้รางวัลในสมอง หลั่งฮอร์โมนโดปามีน (Dopamine) ฮอร์โมนแห่งความสุข เกิดเป็นแรงจูงใจให้เผชิญกับความกลัวอีกครั้ง คล้ายกับการเสพติดความตื่นเต้น เพราะโดยส่วนใหญ่ ฉาก Jump Scare มักถูกเชื่อมโยงกับความตื่นเต้น เร้าใจ จนเกิดเป็นประสบการณ์ที่น่าอภิรมย์นั่นเอง

 

   และที่มากไปกว่านั้นความกลัวจะช่วยเพิ่มการจดจ่อ กระตุ้นให้สมองทำงานหนักขึ้น และช่วยให้จดจำข้อมูลได้แม่นยำ

 

   อ้างอิงจากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Psychological Science ปี 2013 ภายใต้ชื่อ “The Role of Fear in Learning and Memory” โดย Dr. Daphna Shohamy และทีมนักวิจัยจาก University of California

 

   ทำการทดสองอาสาสมัครโดยแบ่งเด็กวัยประถมศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้รับชมภาพยนตร์สยองขวัญที่มีฉาก Jump Scare กลุ่มที่สองให้รับชมภาพยนตร์ธรรมดาที่ไม่มีฉากน่ากลัว ผลการศึกษาพบว่าเด็กๆ ในกลุ่มที่รับชมภาพยนตร์สยองขวัญ จดจำเนื้อหาของภาพยนตร์และเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ได้ดีกว่ากลุ่มเด็ก ๆ ที่รับชมภาพยนตร์ธรรมดา 

 

   งานวิจัยนี้ตอบโจทย์สมมติฐานที่นักจิตวิทยาทั่วโลกตั้งเป็นธงไว้ว่า การเผชิญกับความกลัวในระดับที่เหมาะสม ช่วยให้เด็กๆ เรียนรู้และพัฒนาทักษะต่างๆ ได้

 

แล้วทักษะจากความกลัวที่ว่ามีอะไรบ้าง ?

 

ทักษะการเผชิญความกลัว เด็กๆ เรียนรู้ที่จะเผชิญหน้ากับความกลัว ฝึกฝนการควบคุมอารมณ์ และจัดการกับความวิตกกังวล

ทักษะการแก้ปัญหา ฉากในภาพยนตร์สยองขวัญ มักมีสถานการณ์ที่ตัวละครต้องเอาชีวิตรอด เด็กๆ เรียนรู้การคิดวิเคราะห์ หาวิธีแก้ปัญหา และตัดสินใจในสถานการณ์คับขัน

ทักษะการคิดวิเคราะห์ เด็กๆ เรียนรู้การสังเกต วิเคราะห์ เก็บรายละเอียด และคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น

ทักษะการทำงานเป็นทีม ภาพยนตร์สยองขวัญ มักมีตัวละครที่ต้องร่วมมือกันเอาชีวิตรอด เด็กๆ เรียนรู้การทำงานร่วมกัน แบ่งหน้าที่ และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

 

   เราจะเห็นได้ว่าภาพยนตร์สยองขวัญหลายเรื่อง นำเสนอตัวละครที่ต้องต่อสู้กับภัยคุกคาม  กลยุทธ์การเอาตัวรอดที่พวกเขาใช้  อาจเป็นแรงบันดาลใจให้เราเรียนรู้วิธีป้องกันตนเอง  ตั้งสติ วิเคราะห์สถานการณ์ และหาวิธีแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาด  ทักษะเหล่านี้  แม้จะดูขัดกับโลกความจริง  แต่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับสถานการณ์คับขันในชีวิตได้เช่นกัน

 

อ้างอิงข้อมูล

https://fox59.com/news/national-world/expert-says-early-exposure-to-horror-movies-potentially-traumatic-for-young-kids/

https://www.focusonthefamily.com/parenting/parenting-qa/technologyentertainment-qa/are-horror-movies-bad-for-kids-and-their-mental-health/

https://www.linkedin.com/pulse/horror-movies-good-children-economy-sohail-shaik

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS