มีอะไรในสมองของคนพูดสองภาษา (เด็ก Bilingual)

A A
Jun 22, 2023
Jun 22, 2023
A A

มีอะไรในสมองของคนพูดสองภาษา (เด็ก Bilingual)

 

   

โดยธรรมชาติแล้วเราทุกคนต่างเกิดมาพร้อมกับความสามารถในการเรียนรู้ภาษา ยกตัวอย่างเช่น ในวัยทารกเราสามารถได้ยินเสียงพยัญชนะทั้ง 600 เสียง และเสียงสระ 200 เสียงของภาษาต่าง ๆ ในโลก เป็นเสมือนของขวัญแรกวิเศษติดตัวมาเลยก็ว่าได้ 

Naja Ferjan Ramirez นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ได้ทำการศึกษากระบวนการของสมองในการเรียนรู้เสียงในภาษาของทารกวัย 11 เดือนจากครอบครัวที่พูดภาษาอังกฤษภาษาเดียว เปรียบเทียบกับทารกจากครอบครัวที่พูดได้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาสเปน โดยการวัดคลื่นแม่เหล็กจากสมองที่เรียกว่า Magnetoencephalography (MEG) เมื่อทารกได้ยินเสียงภาษาสเปนและภาษาอังกฤษทีละพยางค์ งานวิจัยนี้ค้นพบความแตกต่างที่สำคัญระหว่างทารกจากครอบครัวภาษาเดียวและสองภาษาเมื่อทารกอายุ 11 เดือน ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนที่เขาจะเริ่มพูดคำแรกได้ โดยทารกจากครอบครัวที่พูดภาษาเดียวมีความเชี่ยวชาญในการประมวลผลและตอบสนองเสียงในภาษาอังกฤษ แต่ไม่เชี่ยวชาญในการประมวลผลเสียงในภาษาสเปน ซึ่งเป็นภาษาที่ไม่คุ้นเคย ในขณะที่ทารกจากครอบครัวที่พูดสองภาษามีความเชี่ยวชาญในการประมวลผลตอบสนองเสียงแบบ bilingual ได้อย่างดีเยี่ยม

 

 

ห้องเรียน bilingual

 

 

ช่วงอายุกับการเรียน Bilingual สำคัญแค่ไหน 

แน่นอนว่าการเริ่มเรียนภาษาตั้งแต่วัยเด็กย่อมได้เปรียบกว่าวัยผู้ใหญ่

 

การเรียนรู้ภาษามีหลากหลายวิธี ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละบุคคล เช่น การเรียนรู้ภาษาจากสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ การเรียนภาษาที่โรงเรียนหรือสถาบัน และการเรียนภาษาจากการดูภาพยนตร์ ช่วยผลักดันให้เรามีทักษะแบบ Bilingual เร็วขึ้น

 

ผลการศึกษาของนักวิจัยชาวอิสราเอล โดยให้ผู้ใหญ่ที่เข้าใจหลักไวยากรณ์ของภาษาได้ดีเข้าร่วมการทดสอบคำศัพท์ จะแบ่งกลุ่มออก 3 กลุ่ม คือ ช่วงอายุ 8 ปี ช่วงอายุ 12 ปี และ คนหนุ่มสาว ผลปรากฎว่า ผู้คนหนุ่มสาวทำคะแนนออกมาได้สูงที่สุด และเด็กช่วงอายุ 12 ปี ทำได้ดีกว่าเด็กช่วงอายุ 8 ปี 

 

ในปี 2018 สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือ MIT ของสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาโดยการทดสอบความรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษผ่านทางออนไลน์กับคนจำนวน 670,000 คน พบว่าช่วงเวลาของการเรียนรู้ภาษาจะเริ่มยากมากขึ้นเมื่อผ่านพ้นช่วงวัยหนึ่งไปแล้ว

 

ช่วงวัยที่สำคัญที่สุดในการเรียนรู้ให้เทียบเท่าเจ้าของภาษา คือ ช่วงประมาณอายุ 10 ขวบ อย่างไรก็ตาม Josh Tenenbaum ศ. ด้านสมองและวิทยาการการรู้ ผู้ร่วมเขียนงานวิจัยออกมาให้ความเข้าใจว่า การเรียนรู้ภาษานั้นขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม อาทิ เด็กอายุ 17 หรือ 18 ปี ออกไปทำงานนอกบ้าน หรือเรียนมหาวิทยาลัยก็เป็นส่วนช่วยในการเรียนรู้ภาษานั้น ๆ ด้วยเช่นกัน ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ผู้ใหญ่จะสามารถเรียนรู้ภาษาใหม่ได้เหมือนกับเด็ก ทว่าการเรียนรู้ภาษานั้นอาจยากขึ้นกว่าเดิม

 

เด็กสามารถเรียนรู้ภาษาได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ เพราะการพัฒนาสมองของเด็กปรับเปลี่ยนตามสภาพแวดล้อมได้ดีกว่า เด็กจะใช้สมองทั้งสองซีกในการเรียนรับรู้ภาษา ในขณะที่การรับรู้ภาษาของผู้ใหญ่จะใช้สมองซีกใดซีกหนึ่ง ซึ่งมักจะเป็นสมองซีกซ้าย และผู้รู้สองภาษาจะมีสมองส่วนเนื้อเยื้อสีเทาที่เยอะกว่า ผู้รู้สองภาษาแบบ จะใช้สมองทั้งสองซีกทำงานในการควบคุมภาษาได้ดีกว่าผู้รู้ภาษาเดียว ซึ่งการควบคุมการทำงานของสมองผู้รู้ภาษาเดียวมักจะอยู่ที่สมองซีกซ้ายด้วยเช่นกัน

 

สมองซีกซ้ายมีความโดดเด่นในกระบวนการการวิเคราะห์ การใช้เหตุผล การควบคุมภาษา ขณะที่สมองซีกขวามีความโดดเด่นในการควบคุมอารมณ์ ความรู้สึก และการใช้ความสร้างสรรค์

ผลการศึกษาพบว่า หากเราสามารถพูดได้มากกว่า 1 ภาษา ตั้งแต่ Bilingual การทำงานของระบบสมองจะสามารถคิดอะไรที่ซับซ้อนได้ดี สมองจะสามาถจัดระเบียบและแยกแยะข้อมูลที่ไหลเข้ามาพร้อมกันได้ดีกว่าผู้รู้ภาษาเดียว สามารถเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว ช่วยให้สมองได้ทำงานมากกว่าปกติ เหมือนเป็นการลับคมมีดให้เฉียบยิ่งขึ้น ยิ่งประมวลผลในการสื่อสารและการแปลมากเท่าไร ก็จะยิ่งช่วยให้สมองได้ใช้งานมากขึ้นเท่านั้น ก็เปรียบเหมือนกับการเล่นเกมแนวแก้ปริศนาต่าง ๆ

 

 

Tim Doner  อัจฉริยะที่เป็นมากกกว่า Bilingual

 

 

Tim Doner  อัจฉริยะที่เป็นมากกกว่า Bilingual

 

ชายหนุ่มคนนี้พูดได้ 20 ภาษา เล่าถึงประสบการณ์ในการเรียนภาษาให้ประสบความสำเร็จ และวิธีก้าวข้ามอุปสรรค์ในการเรียนภาษาต่างประเทศ การเรียนภาษาคือการสร้างแรงจูงใจ อย่าคิดว่าการเรียนภาษาคือภาระหน้าที่ แต่ให้คิดว่ามันคืองานอดิเรกที่เราสนใจ หากคุณเดินไปร้านกาแฟทุกวัน คุณจะจำเส้นทางการเดินของคุณได้ ดังนั้นหากคุณต้องการเรียนรู้อะไรเพิ่มเติม คุณก็ทำได้ง่าย ๆ โดยการเพิ่มสิ่งที่คุณต้องการเรียนเข้าไปในทิศทางที่คุณเดินอยู่ทุกวัน

 

ยิ่งรู้ภาษา…

ยิ่งพาเราไปได้ไกล…

 

ในโลกไร้พรมแดน ทำให้ผู้คนทั่วทุกมุมโลกสามารถติดต่อสื่อสารกัน ภาษาสากลอย่างภาษาอังกฤษ ทำให้เราพูดคุยกับคนชาติใดก็ได้ที่เขาพูดภาษาอังกฤษได้ แต่ปัจจุบัน การรู้แค่ภาษาอังกฤษมันไม่พออีกต่อไป เพราะภาษาอื่น ๆ ก็เริ่มเข้ามามีบทบาทในวงการศึกษาและวงการธุรกิจมากขึ้น ใช้กันหลากหลายขึ้น เพราะฉะนั้น ถ้าเราสามารถรู้ภาษาได้มากกว่าภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จะช่วยให้เราได้เปรียบคนอื่น นอกจากนี้ภาษายังช่วยให้เราได้เรียนรู้วัฒนธรรมที่แฝงมากับด้วย เช่น ถ้าเรารู้ภาษาญี่ปุ่น เราก็จะเข้าใจความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ หรือวิถีชีวิตของคนประเทศญี่ปุ่นได้ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดระหว่างวัฒนธรรมได้ด้วย เพราะสุดท้ายแล้วในโลกที่ความหลากหลายทางภาษานับร้อยนับพัน หากไม่ติดต่อกับคนชาติอื่นเลย ชีวิตคงไร้สีสันน่าดู การที่รู้มากกว่า 1 หรือ 2 ภาษา ก็จะทำให้เราสื่อสารกับคนที่ไม่ใช่คนไทยด้วยกันสนุกขึ้นด้วยนั่นเอง

 

.

อ้างอิง

https://www.pregnancybirthbaby.org.au/raising-bilingual-children

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6168212/

https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fpsyg.2017.00552/full

 

 

Tag

Share

Tag

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS