การบูลลี่เกิดขึ้นมานานแค่ไหน
- การบูลลี่คือการทำร้ายโดยเจตนาไม่ว่าจะเป็น การกลั่นแกล้งหลากหลายรูปแบบ ทั้งด้านพฤติกรรมที่ก้าวร้าว ความรุนแรงทางร่างกาย การล้อเลียนด้วยวาจาโดยบุคคลที่เป็นผู้ถูกกระทำไม่สามารถตอบโต้ได้
- การกลั่นแกล้งหรือการบูลลี่กันพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะในโรงเรียน การบูลลี่ได้รับความสนใจอย่างมากในช่วงปี 1970 โดยศาสตราจารย์ Dan Olweus เป็นคนแรกที่ทำการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งในหมู่นักเรียน
- ผลการศึกษาโครงสร้างและสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัวนั้นไม่ชัดเจนว่ามีผลหรือไม่ที่ส่งผลให้เด็กเกิดพฤติกรรมกลั่นแกล้งหรือบูลลี่คนอื่น แต่เด็กที่ต้องเผชิญความขัดแย้งรุนแรงภายในบ้านไม่ว่าจะเป็น การทะเลาะหรือการลงโทษทางร่างกายอย่างรุนแรง มีแนวโน้มที่จะส่งผลให้เด็ก ๆ กลั่นแกล้งผู้อื่น
การบูลลี่คือการทำร้ายโดยเจตนาไม่ว่าจะเป็น การกลั่นแกล้งหลากหลายรูปแบบ ทั้งด้านพฤติกรรมที่ก้าวร้าว ความรุนแรงทางร่างกาย การล้อเลียนด้วยวาจา การคุกคาม ปล่อยข่าวลือต่าง ๆ โดยบุคคลที่เป็นผู้ถูกกระทำไม่สามารถตอบโต้ได้
การกลั่นแกล้งหรือการบูลลี่กันพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะในโรงเรียน การบูลลี่ได้รับความสนใจอย่างมากในช่วงปี 1970 โดยศาสตราจารย์ Dan Olweus เป็นคนแรกที่ทำการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งในหมู่นักเรียน นอกจากนั้นในปี 1983 ยังมีการยิงกันในโรงเรียนต่อมาปลายทศวรรษในปี 1990 สื่อได้ให้ความสนใจกับการกลั่นแกล้งในโรงเรียนกันมากขึ้น การศึกษาของสหรัฐอเมริกาพบว่า การบูลลี่กันในโรงเรียนส่งผลกระทบต่อนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นถึงมัธยมศึกษาตอนปลายประมาณร้อยละ 30 หรือ 5.7 ล้านคน
การวิจัยพบว่าการกลั่นแกล้งหรือการบูลลี่เพิ่มอย่างรวดเร็วเมื่อนักเรียนโตขึ้น โดยมีจุดสูงสุดในช่วงวัยรุ่นตอนต้นและลดลงในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย พบว่าเด็กผู้ชายกลั่นแกล้งเพื่อนร่วมชั้นบ่อยกว่าเด็กผู้หญิง และเด็กผู้ชายมักจะเลือกเด็กผู้ชายคนอื่นเป็นเป้าหมาย โดยเป็นการกลั่นแกล้งกันอย่างเปิดเผย แต่ในขณะเดียวกันการรุกรานทางไซเบอร์ ( การเผยแพร่ข่าวลือ การโพสว่ากล่าวคนอื่นโดยไม่ระบุตัวตน) ทำให้ช่องว่างทางเพศและอายุลดน้อยลง เด็กชายหรือหญิงไม่ว่าวัยไหนก็สามารถกลั่นแกล้งคนอื่นได้เช่นกัน ขณะเดียวกัน เด็กผู้หญิงก็มีแนวโน้มที่จะตกเป็นเหยื่อมากกว่า ทั้งจากเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงด้วยกันเอง
สารตั้งต้นของพฤติกรรมบูลลี่เกิดจากอะไร
ผลการศึกษาโครงสร้างและสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัวนั้นไม่ชัดเจนว่ามีผลหรือไม่ที่ส่งผลให้เด็กเกิดพฤติกรรมกลั่นแกล้งหรือบูลลี่คนอื่น แต่เด็กที่ต้องเผชิญความขัดแย้งรุนแรงภายในบ้านไม่ว่าจะเป็น การทะเลาะหรือการลงโทษทางร่างกายอย่างรุนแรง มีแนวโน้มที่จะส่งผลให้เด็ก ๆ กลั่นแกล้งผู้อื่น กลุ่มเพื่อนก็มีอิทธิพลเช่นเดียวกันในการกลั่นแกล้งคนอื่น การกลั่นแกล้งอาจเกิดจากการมีระดับความนับถือตนเองและความเห็นอกเห็นใจต่ำ หรือจากระดับความวิตกกังวลภาวะซึมเศร้า แม้ว่าสาเหตุที่แท้จริงของการกลั่นแกล้งยังคงไม่ชัดเจน แต่ผลกระทบต่อเหยื่อนั้นชัดเจนมาก การบูลลี่หรือกลั่นแกล้งในโรงเรียนในช่วงกว่าห้าทศวรรษทำให้คนที่ตกเป็นเหยื่อมีความคิดฆ่าตัวตาย ความโดดเดี่ยวทางสังคม ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า ความนับถือตนเองต่ำ ปัญหาสุขภาพกาย ผลการเรียนที่ลดลง ซึ่งผลกระทบเหล่านี้หลายอย่างอาจคงอยู่จนถึงวัยผู้ใหญ่
อ่านมาถึงตรงนี้ทำให้เกิดคำถามว่ากว่า 50 ปี ที่โลกพัฒนาไปอย่างรวดเร็วทำไมการบูลลี่ถึงยังคงอยู่เหมือนเดิม การบูลลี่หรือการแกล้งกันในโรงเรียนไม่เคยหายไป อาจถึงเวลาที่สังคมควรรณรงค์ให้ทุกคนได้เห็นคุณค่าของตนเอง นับถือตนเอง รวมไปถึงเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ เพื่อสร้างสังคมที่ดีให้เกิดขึ้นบนโลกใบนี้
อ้างอิง