คิดว่า “ความกลัว” มีประโยชน์ไหม ?

A A
Feb 6, 2023
Feb 6, 2023
A A

คิดว่า “ความกลัว” มีประโยชน์ไหม ?

  • ปฏิกิริยาความกลัวเริ่มเกิดขึ้นในสมอง Amygdala ที่เป็นกลุ่มเซลล์ประสาทซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในใจกลางสมอง ควบคุมการตอบสนองต่อความกลัว ในสถานการณ์ที่น่ากลัว Amygdala จะกระตุ้น Hypothalamus ซึ่งกระตุ้นระบบสองระบบในร่างกาย ทำให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนอย่างฉับพลัน และกระตุ้นการตอบสนองแบบสู้หรือหนี
  • เรามักจะเรียนรู้ความกลัวผ่านประสบการณ์ส่วนตัว เช่น การถูกสุนัขกัด หรือการเห็นคนอื่นที่ถูกสุนัขกัดซึ่งวิธีการเรียนรู้ที่ไม่เหมือนกัน วิวัฒนาการของมนุษย์เกิดจากการเรียนรู้ทั้งจากคำพูด ลายลักษณ์อักษร
  • ความกลัวสามารถทำหน้าที่เป็นปัจจัยป้องกันความวิตกกังวลได้เป็นการเรียนรู้วิธีจัดการกับสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคยและคาดเดาไม่ได้ อาจเป็นเรื่องยากที่จะต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ทำให้เราต้องกลัว แต่นี่คือเหตุผลที่ทำให้ความกลัวอาจเป็นมิตรกับคุณมากกว่าเป็นศัตรู

คุณเคยกลัวอะไรมาก ๆ ไหมแล้วทำไมเราถึงกลัวสิ่งนี้ปฏิกิริยาอะไรที่เรารู้ว่าเรากำลังกลัวแล้วทำไมเราถึงต้องกลัว ความกลัวอาจมีอายุเท่ากับชีวิตของเราบนโลกใบนี้เป็นปฏิกิริยาขั้นพื้นฐานเพื่อปกป้องสิ่งมีชีวิตจากการคุกคามต่าง ๆ เพื่อให้ชีวิตยังคงอยู่รอด ความกลัวเรียบง่ายแต่ก็ซับซ้อนภายในตัวเอง ไม่ว่าเราจะเคยมีประสบการณ์การกลัวในรูปแบบไหน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเราเองก็ยำเกรงต่อความกลัวเช่นกัน สมองของมนุษย์ที่มีสารเคมีหลักบางตัวที่นำไปสู่การตอบสนองแบบ “สู้หรือหนี” ซึ่งสารเคมีนี้ยังเกี่ยวข้องกับสภาวะทางอารมณ์ในเชิงบวกอื่น ๆ ของมนุษย์เช่น ความสุขและความตื่นเต้น แต่อะไรสร้างความแตกต่างระหว่าง “ความตื่นเต้น” กับความรู้สึกหวาดกลัวโดยสิ้นเชิง?

จิตแพทย์ที่รักษาความกลัวและเกี่ยวข้องกับระบบประสาทได้บอกว่าปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวกับความกลัว เกี่ยวข้องกับบริบทเมื่อสมองส่วนความคิด เชื่อมโยงกับสมองส่วนอารมณ์ เมื่อเรารับรู้ว่าตัวเองอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย เราเองก็สามารถเปลี่ยนวิธีที่สัมผัสกับสภาวะตื่นตัวนั้นได้อย่างรวดเร็ว โดยเปลี่ยนจากความกลัวเป็นความสนุกหรือตื่นเต้น เช่น เมื่อเราเข้าไปในบ้านผีสิงวันฮาโลวีน และเรารู้ว่านั่นไม่ใช่ภัยคุกคามจริง ๆ ด้วยบริบทแวดล้อมเหล่านั้นคุณจึงไม่รู้สึกหวาดกลัว ในทางตรงกันข้ามหากคุณกำลังเดินอยู่ในตรอกมืดตอนกลางคืนแล้วมีคนตามคุณ สมองส่วนอารมณ์ ความคิดจะประมวลบริบทแวดล้อมแล้วบอกว่าถึงเวลาที่ควรกลัว และหนีแล้วเพราะคุณอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่อาจคาดเดาได้

แต่สมองของเราทำสิ่งนี้ได้อย่างไร เมื่อปฏิกิริยาความกลัวเริ่มเกิดขึ้นในสมอง Amygdala ที่เป็นกลุ่มเซลล์ประสาทซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในใจกลางสมอง ควบคุมการตอบสนองต่อความกลัว ในสถานการณ์ที่น่ากลัว Amygdala จะกระตุ้นHypothalamusที่กระตุ้นระบบสองระบบในร่างกาย ทำให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนอย่างฉับพลัน และกระตุ้นการตอบสนองแบบสู้หรือหนี สิ่งนี้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายมีส่วนร่วมในการประมวลผลบริบทในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งช่วยให้บุคคลรู้ว่าภัยคุกคามที่รับรู้นั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่

ความกลัว

 

แล้วเราเรียนรู้ความกลัวได้อย่างไร

เรามักจะเรียนรู้ความกลัวผ่านประสบการณ์ส่วนตัว เช่น การถูกสุนัขกัด หรือการเห็นคนอื่นที่ถูกสุนัขกัดวิวัฒนาการการเรียนรู้ของมนุษย์เกิดจากการเรียนรู้ทั้งจากคำพูด ลายลักษณ์อักษร การมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มนุษย์เองก็เรียนรู้เรื่องความปลอดภัยในลักษณะเดียวกัน ทั้งบริบท การเรียนรู้ทางสังคม เรียนรู้ทุกอย่างผ่านสิ่งที่จะมีอิทธิพลต่อเราเช่นเดียวกับวิธีที่เราประสบกับความกลัว

ความกลัวเป็นอารมณ์ที่มีมาตั้งแต่โบราณ และเรื่องราวที่น่ากลัวฝังแน่นอยู่ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ โดยเฉพาะในอดีตที่มีการใช้นิทานกระตุ้นความกลัวเพื่อสอนเด็ก ๆ ถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจนถ่ายทอดมาถึงทุกวันนี้อย่างเช่นภาพยนตร์ Sci-Fi ปี 1954 Godzilla ถูกสร้างขึ้นโดยรังสีนิวเคลียร์ แสดงให้เห็นถึงความกังวล และรอยบาดแผลจากการโจมตีด้วยปรมาณูในสงครามโลกครั้งที่สอง อีกภาพยนตร์หนึ่งคือภาพยนตร์ที่นำเสนอความหวาดกลัวที่มีต่อเทคโนโลยีเช่นในหนังเรื่อง The Terminator

ความกลัวอาจช่วยนำทางในโลกที่คาดเดาไม่ได้

การศึกษาเกี่ยวกับแฟนหนังสยองขวัญในช่วงการระบาดของโควิดพบว่าคนที่ชอบดูหนังสยองขวัญมีสภาพจิตใจที่ยืดหยุ่นได้ดีกว่าแฟนที่ไม่ดูหนังสยองขวัญ Malmdorf-Andersen รองศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย Aarhus ของเดนมาร์กได้ทำการวิจัยกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเล่น และการเรียนรู้ Malmdorf-Andersen กล่าวว่าความกลัวนั้นอาจจะเป็นประโยชน์เมื่ออยู่ในรูปแบบการเล่น การเล่นของเด็กมีลักษณะเฉพาะคือการค้นหาความไม่แน่นอนในระดับปานกลาง และพยายามที่จะทำความเข้าใจกับสิ่งเหล่านี้เป็นการเชื่อมโยงกับสถานการณ์ที่คาดเดาไม่ได้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Exeter กล่าวว่า เมื่อการเล่นของเด็กมีความเสี่ยง และมีความกลัวอยู่นิด ๆ สิ่งนี้สามารถทำหน้าที่เป็นปัจจัยป้องกันความวิตกกังวลได้เป็นการเรียนรู้วิธีจัดการกับสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคยและคาดเดาไม่ได้ จริง ๆ แล้วอาจเป็นเรื่องยากที่จะต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ทำให้ต้องกลัว แต่ความกลัวก็อาจเป็นมิตรมากกว่าศัตรู

ความกลัวทำให้คุณพัฒนาตัวเองได้

การตอบสนองทางอารมณ์และร่างกายต่อความกลัวนั้นคล้ายคลึงกับความตื่นเต้น การเอาตัวเองออกจากพื้นที่ปลอดภัยทำให้เกิดความกลัวและความตื่นเต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นประโยชน์ที่จะทำให้คุณเป็นตัวเองในเวอร์ชันที่ดีขึ้น Adrenaline ที่เราได้รับจากความกลัวนี้สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน พัฒนาจิตใจ และร่างกายให้ดีขึ้น

ความกลัวช่วยให้คุณมีสมาธิ

แม้ว่าความกลัวที่เรากำลังเผชิญอยู่นั้นอาจจะมาจากสิ่งที่จินตนาการขึ้น แต่มันก็กระตุ้นความรู้สึกของการมีสมาธิที่ทำให้เราอยู่กับปัจจุบันท่ามกลางโลกที่เต็มไปด้วยสิ่งรบกวน

ความกลัวเป็นโอกาสในการฝึกฝนทักษะการเผชิญปัญหา

ประสบการณ์ที่น่ากลัวมอบโอกาสให้เราได้ควบคุมลมหายใจ และระบบความคิดเมื่อเราต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ

ความกลัวสร้างความนับถือตนเอง

การเอาชนะประสบการณ์ที่น่ากลัวสามารถส่งผลดีต่อความภูมิใจในตนเองไม่ว่าจะประสบกับอันตรายที่แท้จริงหรือสิ่งที่รับรู้ การเอาชีวิตรอดจากประสบการณ์ที่น่ากลัวจะให้ความรู้สึกถึงความสำเร็จ เพิ่มความมั่นใจ และเมื่อเวลาผ่านไปจะสร้างทัศนคติเชิงบวกต่อตนเองมากขึ้น

แม้ว่าความกลัวอาจทำให้เรารู้สึกตกอยู่ในสถานการณ์อันตราย แต่ก็สามารถเสริมพลังให้กับเราได้เช่นกัน หากเราลองเรียนรู้ที่จะเป็นเจ้าของความกลัวโอบรับทุกสิ่งที่ดีเกี่ยวกับความกลัว ความกลัวก็สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิต และมุมมองของคุณได้

อ้างอิง
https://bigthink.com/neuropsych/science-of-fright
https://www.theguardian.com/science/2022/oct/23/why-we-enjoy-fear-the-science-of-a-good-scare/
https://trulyexperiences.com/blog/fear-benefits/
https://www.empathia.com/boo-the-benefits-of-fear/

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS