ทำไมการเป็น “เด็กดี” อาจทำให้โตไปเป็น“เจ้านายที่แย่

A A
Aug 7, 2024
Aug 7, 2024
A A

ทำไมการเป็น “เด็กดี” อาจทำให้โตไปเป็น“เจ้านายที่แย่

 

 

  • หลายคนมักเชื่อว่าการเป็นเด็กที่ดีนั้นจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี แต่การเป็นเด็กดีอาจไม่ได้ตอบโจทย์ในการเป็นผู้ใหญ่เสมอไป
  • เด็กดีที่เชื่อฟังผู้ใหญ่ โตมาโดยเป็นคนที่แบกรับความต้องการและความคาดหวังจากผู้ใหญ่เพื่อหลีกเลี่ยงคำวิพากษ์วิจารณ์ ในฐานะเจ้านายที่โตมาในลักษณะนี้การทำตามคำสั่งอาจทำให้เขาบรรลุวัตถุประสงค์ได้ แต่เมื่อมากเกินไปก็ทำให้เขาไม่สามารถขับเคลื่อนนวัตกรรมได้ ทำงานได้ยากเมื่อต้องอยู่ในสถานะที่กำหนดกลยุทธ์ด้วยตนเอง 
  • เมื่ออยู่ภายใต้แรงกดดัน เรามักจะแสดงพฤติกรรมที่มาจากวัยเด็ก ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงานของเรา เราอาจจำเป็นต้องรู้ว่าอดีตหล่อหลอมเราอย่างไร เพื่อที่จะช่วยให้เราไม่กลับไปมีพฤติกรรมแบบเดิม

 

 

หลายคนมักเชื่อว่าการเป็นเด็กที่ดีนั้นจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี แต่การเป็นเด็กดีอาจไม่ได้ตอบโจทย์ในการเป็นผู้ใหญ่เสมอไป ประสบการณ์ในการเป็นเด็กที่อาจติดตัวไปตอนเป็นผู้ใหญ่อาจไม่ก่อให้เกิดประโยชน์

 

   แม้ว่าจะมีคนกล่าวว่าเวลาเปลี่ยนคนเราก็เปลี่ยน แต่ละคนอาจเปลี่ยนไปตามวัย แต่หากมองเชิงประสาทวิทยาแล้วไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป จากงานวิจัยในช่วงทศวรรษ 1950 งานวิจัยของนักจิตวิทยา Donald Hebb แสดงให้เห็นว่าเส้นทางประสาทของเราแข็งแกร่งขึ้นเมื่อมีประสบการณ์และพฤติกรรมซ้ำๆ กัน เส้นประสาทเหล่านี้จะทำให้สมองทำงานไวขึ้นและรุนแรงขึ้นเมื่อใช้บ่อย ๆ เป็นสาเหตุทำให้เราสามารถจดจำและตอบสนองต่อบางสิ่งได้เร็ว เช่น โฟกัสใบหน้าที่คุ้นเคยได้อย่างรวดเร็วในฝูงชน มีแนวโน้มที่จะยิ้มเก่ง และถึงแม้ว่าเราจะโตขึ้นแต่ เส้นประสาทที่แข็งแรงนี้เองทำให้มนุษย์สามารถจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ และส่งผลต่อการตัดสินใจโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เราอยู่ภายใต้แรงกดดันหรือไม่มีเวลาคิด ไตร่ตรอง อาจจะพบว่าตัวเองหวนกลับไปใช้วิธีคิดและพฤติกรรมแบบเดิม

 

   แม้ว่าเราจะสามารถสร้างเส้นทางใหม่ของเส้นประสาทได้ แต่เส้นประสาทเหล่านั้นสร้างบนรากฐานของเส้นประสาทเดิม เช่น คนที่พูดได้สองภาษาก็จะส่งผลต่อการเรียนรู้ภาษาที่สาม เพราะเรามักจะได้รับอิทธิพลจากแนวโน้มที่เราเป็นอยู่แล้ว เด็กดีที่มองโลกในแง่ดีก็มักจะมีมุมมองต่อสิ่งต่าง ๆในแง่ดี จึงเป็นสาเหตุที่เมื่อเราเรียนรู้อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วไม่ค่อยจะกลายเป็นคนตรงกันข้าม

 

   สิ่งเหล่านี้คือกลไกที่ทำให้คนเรียนรู้ที่จะคิด รู้สึก และทำติดตัวมาจนโตในหลายทศวรรษต่อมา เมื่อโตขึ้นเส้นประสาทหรือวิธีการตัดสินใจในวัยเด็กส่งผลให้เขาเติบโตเป็นเจ้านายได้หลายรูปแบบ

 

 

เด็กดี

 

 

คุณเป็นเด็กดีแบบไหนในวัยเด็ก

 

   เด็กดีที่มีความเอาใจใส่ เด็กบางคนเติบโตมาโดยมีความอ่อนไหวต่อความรู้สึกของผู้อื่นเป็นพิเศษและต้องการทำให้พวกเขามีความสุข แนวโน้มนี้ทำให้เขาโตไปเป็นคนที่เห็นอกเห็นใจคนอื่น การมีสิ่งเหล่านี้มากเกินไปอาจเป็นผลเสียได้ การวิจัยพบว่าคนที่ใจดีเกินไป ถึงขนาดต้องการเลี่ยงความตึงเครียด อาจทำให้เกิดการยากที่จะแก้ไขสิ่งต่าง ๆ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือไม่สามารถผลักดันการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆได้

   เด็กดีที่เชื่อฟังผู้ใหญ่ เด็กบางคนโตมาโดยเป็นคนที่แบกรับความต้องการและความคาดหวังจากผู้ใหญ่เพื่อหลีกเลี่ยงคำวิพากษ์วิจารณ์ ไม่ท้าทายคำสั่ง ในฐานะเจ้านายที่โตมาในลักษณะนี้การทำตามคำสั่งอาจทำให้เขาบรรลุวัตถุประสงค์ได้ แต่เมื่อมากเกินไปก็ทำให้เขาไม่สามารถขับเคลื่อนนวัตกรรมได้ ทำงานได้ยากเมื่อต้องอยู่ในสถานะที่กำหนดกลยุทธ์ด้วยตนเอง 

 

   เด็กดีที่โตมาในครอบครัวที่ตามใจหรือไม่ค่อยถูกลงโทษ มักจะอ่อนไหวต่อคำวิจารณ์และความขัดแย้ง ซึ่งบุคคลที่อ่อนไหวต่อความตึงเครียดจะมีความกระตือรือร้นหรือหลีกเลี่ยงการปะทะซึ่งอาจจะเป็นข้อดี แต่ในขณะเดียวกันก็อาจกลายเป็นแนวโน้มที่จะออกห่างจากการโต้เถียงที่จะเป็นประโยชน์

 

   เมื่ออยู่ภายใต้แรงกดดัน เรามักจะแสดงพฤติกรรมที่มาจากวัยเด็ก ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงานของเรา เราอาจจำเป็นต้องรู้ว่าอดีตหล่อหลอมเราอย่างไร เพื่อที่จะช่วยให้เราไม่กลับไปมีพฤติกรรมแบบเดิม แล้วเราจะจัดการกับเด็กในตัวเองได้อย่างไร เพื่อไม่ให้นิสัยในวัยเด็กส่งผลกระทบต่อการทำงานของเรา 

 

วิธีจัดการกับเด็กดีในตัวเองในวัยเด็ก

 

1.ทำความเข้าใจตัวเองในอดีต ทำความเข้าใจตัวเองว่าอดีตที่ผ่านมาในวัยเด็กคุณเป็นอย่างไร เป็นเด็กดีประเภทใดพฤติกรรมไหนในวัยเด็กที่คุณจะทำเมื่ออยู่ภายใต้แรงกดดันการกระทำเหล่านั้นจะช่วยคุณในสถานการณ์นี้ได้อย่างไรและเมื่อใดที่การกระทำเหล่านี้จะช่วยไม่ได้

2.ดำเนินการเชิงรุกเพื่อหยุดนิสัยที่ไม่ดี ด้วยกิจวัตรประจำวันง่าย ๆ ด้วยการพูดกับตัวเอง เช่นพูดกับตัวเองซ้ำ ๆ ว่าจะไม่ทำสิ่งนี้ ๆ หรือหาคนตำหนิตัวเองในช่วงเวลาที่ทำพฤติกรรมที่ไม่ดีเพื่อเป็นวิธีหยุดแรงที่จะแสดงนิสัยเดิมในตัวเอง

3.พัฒนารูปแบบกิจวัตรใหม่เพื่อช่วยสร้างนิสัยใหม่ ให้ตัวเองเข้าใจปัญหาและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นได้ดีขึ้น และใช้เวลาหาคำตอบได้ดีที่สุด

   แต่ทั้งนี้ตัวเราเองจำเป็นต้องระบุให้ได้ว่าสิ่งที่ซ่อนเร้นในวัยเด็กของเราคืออะไร เพื่อจะได้หยุดยั้งอิทธิพลเมื่อเราโตเป็นผู้ใหญ่ หากเราเข้าใจตัวเองได้เป็นอย่างดีเด็กดีที่เราเคยเป็นจะไม่ขัดขวางให้เราเป็นเจ้านายที่ดีอย่างที่เราอยากเป็น

อ้างอิง : https://bigthink.com/business/why-being-a-good-kid-can-make-you-a-bad-boss/

 

Share

Tag

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS