ดนตรีผู้อยู่เบื้องหลังของการคิดค้นทฤษฎีสัมพัทธภาพ

A A
Apr 22, 2022
Apr 22, 2022
A A

ดนตรีผู้อยู่เบื้องหลังของการคิดค้นทฤษฎีสัมพัทธภาพ

 

วิชาดนตรีไม่ได้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มวิชาหลักและโรงเรียนบางแห่งไม่มีแม้แต่เครื่องดนตรีกลายเป็นวิชาที่หลายคนไม่ได้ให้ความสำคัญ

 

 

  • วิชาดนตรีไม่ได้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มวิชาหลักและโรงเรียนบางแห่งไม่มีแม้แต่เครื่องดนตรีกลายเป็นวิชาที่หลายคนไม่ได้ให้ความสำคัญ
  • การฝึกดนตรีเป็นการวางโครงประสาทที่ช่วยเพิ่มความสามารถของสมองเหมือนกับการต่อสายไฟระหว่างส่วนต่าง ๆ ของสมอง ช่วยเพิ่มพลังสมองในทุกส่วน และยังช่วยเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์และคิดนอกกรอบ
  • อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ คืออัจฉริยะที่เล่นดนตรีตั้งแต่เด็กและสมองของเขาถูกค้นพบว่ามีการเชื่อมโยงกันเป็นอย่างดีของสมองสองซีก ทั้งความสามารถในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ของสมองซีกขวา และตรรกะของสมองซีกซ้ายไปพร้อมกัน ทุกอย่างล้วนเกิดจากการเล่นดนตรี

เราเรียนวิชา “ดนตรี” ในโรงเรียนกันบ่อยแค่ไหน เมื่อเทียบกับวิชาหลัก หรือถ้าเป็นคุณ ในฐานะพ่อแม่ ต้องเลือกเรียนวิชาเสริมให้กับลูก ระหว่าง ดนตรี กับ วิทยาศาสตร์ คุณจะเลือกอะไร?

ดนตรีเป็นศาสตร์ที่ถูกละเลย และไม่ได้รับความสำคัญมากพอที่จะให้อยู่ในวิชาหลักของการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน

โรงเรียนหลายแห่งไม่ได้จัดให้วิชาดนตรีอยู่ในกลุ่มสาระฯวิชาหลัก โรงเรียนบางแห่งไม่มีแม้แต่เครื่องดนตรี อาจเพราะไม่มีงบประมาณเพียงพอ หรือไม่มีครูที่จบมาทางด้านดนตรีโดยเฉพาะ หากมีเด็กคนไหนที่สนใจด้านนี้เป็นพิเศษและมีทุนทรัพย์มากพอก็จะเป็นจะต้องเสียเงินเพิ่มเพื่อเรียนตามสถาบันดนตรีต่าง ๆ แต่ถ้าไม่มีเด็กก็อาจจะต้องเสียโอกาสนั้นไป ไม่ต่างไปจากที่สหรัฐอเมริกามีผลการวิจัยชี้ว่า 75 เปอร์เซ็นต์ของนักเรียนมัธยมปลายในสหรัฐฯ ไม่ค่อย หรือ ไม่เคยได้เรียนดนตรี หรือ ศิลปะ นอกหลักสูตร นั่นอาจหมายถึงว่าดนตรีเป็นศาสตร์ที่ถูกละเลย และไม่ได้รับความสำคัญมากพอที่จะให้อยู่ในวิชาหลักของการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน

ดนตรีกลายเป็นวิชาที่หลายคนไม่ได้ให้ความสำคัญ อาจเป็นเพราะว่าเราไม่ได้เล่นดนตรีในที่ทำงาน และดนตรีอาจไม่ใช่ศาสตร์ที่ประยุกต์ใช้ให้เห็นเหมือนสาระวิชาหลักทั่วไป แต่การฝึกดนตรีเป็นการวางโครงประสาทที่ช่วยเพิ่มความสามารถของสมองเหมือนกับการต่อสายไฟระหว่างส่วนต่างๆ ของสมอง ช่วยเพิ่มพลังสมองในทุกส่วน และยังช่วยเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์และคิดนอกกรอบอีกด้วย ถ้ายังคิดไม่ออกว่าจะช่วยสร้างสรรค์สมองของเราได้อย่างเรา เราขอยกตัวอย่าง “อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์” ถ้าเราไม่รู้จัก อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ในฐานะอัจฉริยะนักฟิสิกส์ผู้คิดค้นทฤษฎีสัมพัทธภาพที่ปฏิวัติวงการวิทยาศาสตร์ เราเองก็อาจจะรู้จักเขาในฐานะนักดนตรีก็เป็นได้ ไม่ค่อยมีใครรู้ว่าไอน์สไตน์เป็นนักไวโอลินที่ประสบความสำเร็จเขาเริ่มเล่นไวโอลินเมื่ออายุได้ 6 ปีและเริ่มหลงใหลเสียงดนตรีตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

 

“ชีวิตที่ปราศจากการเล่นดนตรีเป็นสิ่งที่ไม่น่าเชื่อสำหรับฉัน ฉันใช้ชีวิตโดยอาศัยความฝันในเสียงเพลง ฉันเห็นชีวิตของฉันในแง่ของดนตรี … ฉันมีความสุขที่สุดในชีวิตจากเสียงเพลง” – อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

ความเป็นอัจฉริยะของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ถูกค้นพบว่าอาจเป็นเพราะการเชื่อมโยงกันเป็นอย่างดีของสมองสองซีก ทั้งความสามารถในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ของสมองซีกขวา และตรรกะของสมองซีกซ้ายไปพร้อมกัน อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ไอน์สไตน์เป็นอัจฉริยะอย่างเหลือเชื่อ นอกจากนี้ ดนตรียังเป็นแรงบันดาลใจให้ไอน์สไตน์เห็นความสอดคล้องระหว่างสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งวิทยาศาสตร์ และมนุษยศาสตร์อีกด้วย จึงไม่แปลกอะไรที่เราเห็นว่าเขาเองเป็นนักต่อสู้เพื่อสันติภาพไปพร้อม ๆ กับการเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้วยเช่นกัน 

นอกจากนั้น ยังพบว่าการฝึกดนตรีเป็นการเชื่อมโยงการทำงานของสมองที่ดีขึ้น และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น จากวารสารประสาทวิทยาพบว่าการฝึกดนตรีก่อนอายุ 7 ปีมีผลอย่างมากต่อการพัฒนาสมองมนุษย์ การวิจัยซึ่งนำโดยศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยคอนคอร์เดีย เวอร์จิเนีย เพนฮูน ร่วมกับ โรเบิร์ต เจ. ซาตอร์เร พบว่ายิ่งเริ่มเล่นดนตรีอายุน้อยเท่าใดการเชื่อมต่อของสมองก็จะได้รับประโยชน์มากขึ้นเท่านั้น และยังพบว่าเด็กที่เล่นดนตรีตั้งแต่เล็ก ๆ จะพบสสารสีขาวซึ่งเป็นมัดของเส้นใยประสาทที่เชื่อมต่อบริเวณด้านซ้าย และด้านขวาของสมอง งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวกับสมองของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ที่ถูกค้นพบว่ามีการเชื่อมต่อสสารสีขาวระหว่างซีกของสมองเช่นเดียวกัน

ถึงแม้วิทยาศาสตร์จะเปลี่ยนโลกแต่ความคิดสร้างสรรค์เองก็มีส่วนหล่อเลี้ยงวิทยาศาสตร์เช่นกัน เราอาจแยกไม่ได้เลยด้วยซ้ำว่าการเรียนรู้ใดสำคัญกว่าการเรียนรู้ใด เพราะนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ก็เป็นศิลปินได้เช่นกัน

การศึกษานี้แสดงหลักฐานที่แน่ชัดว่าหากฝึกดนตรีในช่วงอายุระหว่าง 6 ถึง 8 ปี จะส่งผลต่อการพัฒนาสมองอย่างมีนัยสำคัญ และสามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสมองในระยะยาวได้ เพราะการเล่นดนตรีต้องอาศัยการประสานระหว่างมือกับสายตาหรือการได้ยิน เพิ่มการเจริญเติบโตของการเชื่อมต่อระหว่างส่วนสั่งการและประสาทสัมผัสของสมอง 

 

รายงานจาก American Psychological Association (APA) พบว่า การฝึกดนตรีสามารถนำไปสู่หน่วยความจำที่เพิ่มขึ้นทำให้เด็ก ๆ มีสมาธิในห้องเรียนได้ง่ายขึ้น และพัฒนาทักษะการสื่อสารของพวกเขาช่วยเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ส่งผลให้การเรียนด้านวิชาการนั้นดีขึ้นตามไปด้วย ถึงแม้การเล่นดนตรีในช่วงเวลาสั้น ๆ เพียงวันละ 30 นาที ก็สามารถเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังซีกซ้ายของสมอง และกระตุ้นสมองได้เช่นเดียวกัน

บางครั้งแนวคิดนี้อาจส่งผลต่อวิธีการที่ให้เด็ก ๆ เล่นดนตรีให้มากขึ้นแล้วอ่านหนังสือให้น้อยลงบ้าง เพราะการเล่นดนตรีอาจส่งผลย้อนกลับในการพัฒนาและความฉลาดทางสมองที่เชื่อมโยงกับผลการเรียน ถึงแม้วิทยาศาสตร์จะเปลี่ยนโลกแต่ความคิดสร้างสรรค์เองก็มีส่วนหล่อเลี้ยงวิทยาศาสตร์เช่นกัน ดนตรีเองก็มีส่วนเสริมการใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ เราอาจแยกไม่ได้เลยด้วยซ้ำว่า การเรียนรู้ใดสำคัญกว่าการเรียนรู้ใด เพราะนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ก็เป็นศิลปินได้เช่นกัน

 

อ้างอิง
https://www.psychologytoday.com/us/blog/the-athletes-way/201503/10-ways-musical-training-boosts-brain-power
https://blog.stannah-stairlifts.com/health/music-boost-brain-activity/
https://www.psychologytoday.com/intl/blog/the-athletes-way/201310/einsteins-genius-linked-well-connected-brain-hemispheres
https://www.psychologytoday.com/intl/blog/the-athletes-way/201406/does-playing-musical-instrument-make-you-smarter
https://www.charlotteacademyofmusic.com/you-know-what-they-say-practice-makes-genius/

 

 

Tag

Share

Tag

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS