เรียนประวัติศาสตร์ให้อะไร ? ในวันที่โลกกำลังหมุนไปข้างหน้า

A A
Jan 20, 2023
Jan 20, 2023
A A

เรียนประวัติศาสตร์ให้อะไร ?

ในวันที่โลกกำลังหมุนไปข้างหน้า

 

 

  • หนึ่งในปัญหาของการเรียนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาที่ทำให้เด็กไม่รู้สึกสนุก คือ เด็กไม่เห็นความเชื่อมโยงของประวัติศาสตร์ไทย และประวัติศาสตร์โลก เห็นได้จากหนังสือเรียนจะใช้เป็น พ.ศ. ขณะที่ประวัติศาสตร์โลกจะใช้ ค.ศ. ซึ่งหากเด็กลองนำมาแปลงเป็น ค.ศ.เขาก็จะเห็นประเทศไทยอยู่ในบริบทโลก การเรียนรู้ก็จะสนุกยิ่งขึ้น 
  • ครูควรเริ่มต้นจากคำถามว่าทำไมต้องเรียนเรื่องนี้ น่าสนใจอย่างไร จะต่อยอดไปเรื่องอื่นอย่างไร เป็นการจุดประกายให้ครูทำให้เด็กเห็นว่าเรื่องนี้น่าสนใจ เช่นการใช้คำถาม Why และ How ที่ตอบยากกว่าแทนการถาม What Where When Who คำถามเหล่านี้กระตุ้นให้เด็กคิด ไตร่ตรอง และหาคำตอบในห้องเรียน
  • สิ่งสำคัญของการเรียนประวัติศาสตร์ คือ เราคุยกันเพื่อให้เห็นความสมเหตุสมผลของสิ่งต่าง ๆ พอเด็กทำงานเขาก็ต้องเจอเหตุการณ์แบบนี้ ถ้าเป็นผู้บริหาร ลูกน้องคนหนึ่งส่งข้อมูลมาแบบหนึ่ง อีกคนส่งมาอีกแบบหนึ่ง เขาต้องเข้าใจความสมเหตุสมผล เป็นการฝึกระบบคิด ประวัติศาสตร์จึงเป็นการต่อจิ๊กซอว์ในหัวมนุษย์

 

ในวันที่โลกกำลังหมุนไปข้างหน้า วิทยากรต่าง ๆ รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีเริ่มเข้ามาแทนที่ทรัพยการต่าง ๆ บนโลกใบนี้ การเรียนรู้รุดหน้าเกินกว่าเพียงแต่จะอยู่ในห้องเรียน ขณะที่เรากำลังตั้งคำถามต่อโลกว่าอีก 5 ปี หรือ 10 ปีข้างหน้าโลกใบนี้จะมีหน้าตาเป็นแบบใด แล้วการพูดถึงประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาแล้วมากกว่า 50 ปี หรืออาจจะ 100 ปีก่อนจะยังมีประโยชน์อะไรกับโลกในยุคนี้ 

เมื่อวิชาประวัติศาสตร์ยังคงมีความจำเป็นต่อนักเรียนในยุคปัจจุบัน อาจเกิดเป็นคำถามที่นักเรียน และครูในยุคนี้ตั้งคำถามว่า

“จะสอนประวัติศาสตร์อย่างไรในวันที่อะไร ๆ ก็มุ่งหน้าไปสู่โลกแห่งอนาคตกันหมด”

ซึ่งคำถามนี้คุณตะวัน เทวอักษร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อักษร เอ็ดดูเคชั่น จำกัด (มหาชน) และ ดร. วิทย์ สิทธิเวคิน วิทยากรผู้เชี่ยวชาญเรื่องประวัติศาสตร์และเศรษฐกิจโลก ได้มาร่วมเสวนาในหัวข้อนี้ว่า “หนึ่งในปัญหาของการเรียนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาที่ทำให้เด็กไม่รู้สึกสนุก คือ เด็กไม่เห็นความเชื่อมโยงของประวัติศาสตร์ไทย และประวัติศาสตร์โลก เห็นได้จากหนังสือเรียนจะใช้เป็น พ.ศ. ขณะที่ประวัติศาสตร์โลกจะใช้ ค.ศ. ซึ่งหากเด็กลองนำมาแปลงเป็น ค.ศ.เขาก็จะเห็นประเทศไทยอยู่ในบริบทโลก การเรียนรู้ก็จะสนุกยิ่งขึ้น นอกจากนี้ประวัติศาสตร์อาจมีการผสมปนเปกันระหว่างความจริงและเรื่องเล่า หนึ่งในทักษะสำคัญที่เด็กจะได้ฝึกฝน  และเรียนรู้จากวิชาประวัติศาสตร์คือการวิเคราะห์แยกแยะว่า ควรจะเชื่อหรือไม่เชื่ออะไร”

 

History

 

Critical thinking สร้างได้ด้วยการเรียนประวัติศาสตร์

 

เพราะโลกประวัติศาสตร์เต็มไปด้วยข้อเท็จจริง รายละเอียด และมีข้อมูลมากมายที่ต้องเรียนรู้ จดจำข้อเท็จจริง การเรียนประวัติศาสตร์คือการสร้างเชื่อมโยงข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจจากภาพรวมจากนั้นค่อย ๆ ลงไปสู่รายละเอียด เกิดการลำดับเหตุการณ์ ในการเรียนประวัติศาสตร์ในห้องเรียนเองสามารถทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการค้นหาคำตอบด้วยตัวเอง ซึ่งคุณคุณตะวัน เทวอักษร ได้เสริมวิธีการที่ครูจะช่วยส่งเสริมทักษะเหล่านี้ได้โดยมองว่า ครูควรเริ่มต้นจากคำถามว่าทำไมต้องเรียนเรื่องนี้ น่าสนใจอย่างไร จะต่อยอดไปเรื่องอื่นอย่างไร เป็นการจุดประกายให้ครูทำให้เด็กเห็นว่าเรื่องนี้น่าสนใจ เช่นการใช้คำถาม Why และ How ที่ตอบยากกว่าแทนการถาม What Where When Who คำถามเหล่านี้กระตุ้นให้เด็กคิด ไตร่ตรอง และหาคำตอบในห้องเรียน ซึ่งดร.วิทย์ ยังเสริมอีกด้วยว่า เมื่อเด็กมีแรงบันดาลใจที่จะค้นหาคำตอบด้วยตนเอง เขาจะสร้างทักษะในการดำรงชีวิตจากกระบวนการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นการหาหลักฐาน การพิสูจน์ความจริง ได้คิดไตร่ตรอง แล้วสรุปผล สิ่งสำคัญของการเรียนประวัติศาสตร์ คือ เราคุยกันเพื่อให้เห็นความสมเหตุสมผลของสิ่งต่าง ๆ พอเด็กทำงานเขาก็ต้องเจอเหตุการณ์แบบนี้ ถ้าเป็นผู้บริหาร ลูกน้องคนหนึ่งส่งข้อมูลมาแบบหนึ่ง อีกคนส่งมาอีกแบบหนึ่ง เขาต้องเข้าใจความสมเหตุสมผล เป็นการฝึกระบบคิด ประวัติศาสตร์จึงเป็นการต่อจิ๊กซอว์ในหัวมนุษย์ ดร.วิทย์ กล่าว

 

ประวัติศาสตร์ส่งผลกระทบต่อชีวิตของเราในปัจจุบันอย่างไร?

 

เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ทำให้โครงสร้างของสิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนไปทั้งระบบการปกครอง ระบบเศรษฐกิจ

ทำให้ส่งผลกระทบไปถึงคนที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน เช่น ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุดช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์อเมริกา วิกฤตเศรษฐกิจนี้ทำให้คนเกือบ 15 ล้านคนต้องตกงาน และส่งผลให้ครอบครัวจำนวนนับไม่ถ้วนเข้าสู่ภาวะไร้บ้าน  รัฐบาลเองต้องเรียนรู้วิธีช่วยเหลือ ซึ่งจากเหตุการณ์นี้เองก่อให้เกิดประกันสังคม เกิดโครงการบรรเทาทุกข์ฉุกเฉินของรัฐบาลกลาง และเงินทุนเพื่อช่วยเหลือในการว่างงาน การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้ชีวิตชาวอเมริกันหลายล้านคนมีความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งเห็นได้ว่าสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดนี้เองเป็นผลมาจากการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์

 

ประวัติศาสตร์สร้างระบบคิด

 

สุดท้ายแล้ว คุณตะวัน และ ดร. วิทย์ ได้แลกเปลี่ยนมุมมองของการนำหลักคิดในวิชาประวัติศาสตร์ไปบูรณาการข้ามศาสตร์วิชาสำหรับครูไว้ว่า“การคิดอย่างมีวิจารณญาณเป็นทักษะที่เราคาดหวังจากเด็กทุกคนอยู่แล้ว ครูต้องทำให้เด็กคิดเป็น วิพากษ์เป็น สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ เป็น เป็นพื้นฐานของทุกวิชา และเป็นวิชาที่สร้างทักษะแห่งโลกยุคใหม่”ด้าน ดร. วิทย์ เสริมว่า “ประวัติศาสตร์ก็เหมือนตึก ถึงจะวิวัฒนาการไปขนาดไหน แต่ฐานรากมันเหมือนเดิม คือ มีความเชย เป็นคอนกรีตแท่งซีเมนต์ แต่ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้ตึกก็อยู่ไม่ได้ ประวัติศาสตร์ไม่ใช่วิชาชีพ แต่มันเป็นระบบคิด

 

อ้างอิง
https://www.mooc.org/blog/why-is-it-important-to-study-history
https://www.educationcorner.com/history-study-skills-guide.html
https://www.mastersportal.com/articles/2855/7-reasons-why-you-should-study-a-history-degree-in-2023.html

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS