5 วิธีส่งเสริมการคิดเชิงระบบ (Systems Thinking)

A A
Dec 14, 2024
Dec 14, 2024
A A

การคิดเชิงระบบสกิลช่วยสร้างศักยภาพให้การศึกษา

 

 

  • การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking) เป็นกระบวนการมองและวิเคราะห์ปัญหาโดยพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์เพื่อทำความเข้าใจถึงโครงสร้าง กลไก และผลกระทบที่เกิดขึ้นในระบบทั้งหมด ไม่ใช่เพียงแค่การแก้ปัญหาเฉพาะจุดหรือมองปัญหาในมุมเดียว
  • กลยุทธ์ในการนำการคิดเชิงระบบเข้าสู่การเรียนมีหลากหลายวิธีทั้งหมดเพื่อพานักเรียนไปสู่การแก้ปัญหาในภาพกว้าง  

 

 

 

       ในโลกที่ซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบกับปัญหาที่มีความหลากหลายทับซ้อนกันอย่างยุ่งเหยิง ทำให้การแก้ปัญหาในแต่ละครั้งอาจมีความยุ่งยากขึ้นเรื่อย ๆ การคิดเชิงระบบ จึงอาจเป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาต่าง ๆ แม้ว่าการคิดเชิงระบบนี้จะยังไม่เป็นวิธีการหลักในระบบการศึกษา แต่เป็นแนวคิดที่ทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแนวคิดที่ซับซ้อนได้

การวิจัยแสดงให้เห็นว่าการบูรณาการการคิดเชิงระบบในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทำให้ส่งเสริมความเข้าใจแบบองค์รวมของปัญหาที่ซับซ้อน ผู้เรียนที่มีภูมิหลังด้านการเรียนรู้ที่ต่างกันก็สามารถคิดเชิงระบบได้ โดยสามารถช่วยให้ผู้เรียนที่มีความหลากหลายคิดผ่านปัญหาใหม่ ๆ ได้

 

การคิดเชิงระบบคืออะไร  

การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking) เป็นกระบวนการมองและวิเคราะห์ปัญหาโดยพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์เพื่อทำความเข้าใจถึงโครงสร้าง กลไก และผลกระทบที่เกิดขึ้นในระบบทั้งหมด ไม่ใช่เพียงแค่การแก้ปัญหาเฉพาะจุดหรือมองปัญหาในมุมเดียว 

ลักษณะของการคิดเชิงระบบมีดังนี้ 

  1. การมองภาพรวม (Holistic View): เข้าใจว่าระบบประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่เชื่อมโยงกัน ทุกส่วนของระบบมีผลกระทบซึ่งกันและกัน
  2. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ (Interconnectedness): ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบในระบบ เช่น การกระทำหนึ่งอาจส่งผลกระทบต่อองค์ประกอบอื่นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว 
  3. การมองแบบพลวัต (Dynamic Thinking): เข้าใจว่าระบบมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา วิเคราะห์ผลกระทบที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา 
  4. การใช้เหตุและผล (Causal Relationships): ค้นหาสาเหตุและผลลัพธ์ของปัญหาหรือสถานการณ์ 

การคิดเชิงระบบจึงเป็นทักษะสำคัญในยุคปัจจุบันที่ช่วยให้เรารับมือกับปัญหาซับซ้อนและทำการตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดและรอบคอบกว่าเดิมช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาความเข้าใจที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นเกี่ยวกับระบบที่ซับซ้อนได้อย่างเต็มที่  การคิดแบบนี้จะทำให้ผู้เรียนคิดอย่างรอบด้าน กระตุ้นให้เกิดการสำรวจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น 

 

 

Systems Thinking

 

กลยุทธ์ในการนำการคิดเชิงระบบเข้าสู่การเรียน 

 

ปรับการสอนเพื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย  

การคิดเชิงระบบสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการปรับสภาพการเรียนรู้ให้กับนักเรียนที่มีความสามารถที่แตกต่างกัน เช่น ขยายเวลาเรียนให้กับนักเรียนบางกลุ่ม สนับสนุนสกิลเพิ่มเติมที่จะช่วยส่งเสริมความสามารถให้นักเรียน โดยแนวทางนี้จะช่วยให้ผลลัพธ์การเรียนรู้สอดคล้องและเท่าเทียมกัน บูรณาการวิชาต่าง ๆ เข้าด้วยกันไม่ว่าจะเป็นคณิตศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ หรือภาษาไทยกับสังคมศึกษา 

 

กระตุ้นความอยากรู้เพื่อดึงดูดความสนใจของนักเรียน 

ความอยากรู้เป็นพลังของการเรียนรู้ และยังสร้างแรงบันดาลใจในการค้นหา ตั้งคำถาม และเชื่อมโยงแนวคิดต่าง ๆ จากนอกห้องเข้าสู่ภายในห้องเรียน  ตั้งแต่คำถามสู่การเชื่อมโยงแนวคิดต่าง ๆ  ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง เพื่อนำไปสู่ประสบการณ์การเรียนรู้ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นน เช่น การเข้าใจว่าสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี และเศรษฐกิจมีความเกี่ยวข้องกัน 

 

ทำแผนที่ภาพ 

หากการคิดเชิงระบบยังยากอยู่ครูสามารถให้นักเรียนทำแผนที่ภาพเพื่อสร้างระบบและเห็นวิธีคิดอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้ ช่วยให้นักเรียนเรียนสามารถแสดงความคิดของตนได้อย่างมั่นใจและพัฒนาการใช้ความคิดอย่างเป็นระบบ ลดปัญหาด้านอุปสรรค หากทำงานเป็นกลุ่มก็จะช่วยส่งเสริมการทำงานร่วมกัน การทำแผนที่ภาพยังช่วยให้มองปัญหาในภาพรวม เข้าใจเหตุและผล และคาดการณ์ผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต 

การส่งเสริมให้นักเรียนมีวิธีคิดเชิงระบบอาจทำให้พวกเขามีทักษะที่จะพร้อมรับสกิลใหม่ ๆ เห็นความเชื่อมโยงของทุกสิ่งมองทุกอย่างเป็นองค์รวม เตรียมนักเรียนให้พร้อมต่อความเปลี่ยนแปลง เช่น การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ระบบเศรษฐกิจ หรือสังคม โดยมองหาความเชื่อมโยงระหว่างปัจจัยต่าง ๆ และพัฒนาแนวทางรับมืออย่างยั่งยืน 

 

อ้างอิง 

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS