ทำไม “การฆ่าตัวตาย” ของวัยรุ่นของไทยถึงสูงขึ้น

A A
Oct 7, 2022
Oct 7, 2022
A A

ทำไม “การฆ่าตัวตาย” ของวัยรุ่นของไทยถึงสูงขึ้น

 

  • ศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายแห่งชาติ กรมสุขภาพจิต พ.ศ. 2560-2564 พบว่า อัตราการฆ่าตัวตายนั้นมีจำนวนผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ และทำร้ายร่างกายตนเองในวัยเรียนเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยที่ผ่านมาพบว่า ประชากรไทยเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายประมาณ 4,500-5,000 คนต่อปี
  • การฆ่าตัวตายมีแนวโน้มเกิดขึ้นในเวลากลางคืนมากที่สุด การศึกษาดังกล่าวระบุว่ามีการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นสามเท่าตั้งแต่เที่ยงคืนถึง 6 โมงเช้ามากกว่าช่วงอื่นของวัน งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่ศูนย์การบริโภคยาภายใต้การดูแลในบราซิลพบว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะใช้ยาเกินขนาดในเวลากลางคืนเกือบห้าเท่า
  • Mind After Midnight เป็นสมมติฐานว่าผู้คนมีแนวโน้มที่จะตัดสินใจผิดพลาดมากขึ้นเมื่อพวกเขาไม่ได้นอนหลับอย่างเพียงพอเพราะว่าหลังเที่ยงคืนไปแล้วใจของมนุษย์จะจดจ่ออยู่กับอารมณ์เชิงลบมากกว่าเชิงบวก
  • นักวิจัยได้อธิบายว่าร่างกายมนุษย์และจิตใจของมนุษย์เป็นไปตามวัฏจักรของกิจกรรมตามธรรมชาติตลอด 24 ชั่วโมงที่ส่งผลต่ออารมณ์และพฤติกรรมของเราหรือที่เรียกว่า Circadian Rhythms นั่นเอง
  •  

ศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายแห่งชาติ กรมสุขภาพจิต พ.ศ. 2560-2564  พบว่า อัตราการฆ่าตัวตายนั้นมีจำนวนผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ และทำร้ายร่างกายตนเองในวัยเรียนเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยที่ผ่านมาพบว่า ประชากรไทยเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายประมาณ 4,500-5,000 คนต่อปี  ซึ่งอ่านแล้วอาจจะคิดว่าพวกเขามีความเครียดสะสมมาจากการเรียน ปัญหาชีวิต แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนลืมคิดคือ “การนอน” ในเมื่อโลกดิจิทัลทำให้เราเพลิดเพลินจนหยุดท่อง social ไม่ได้และยังมี Netflix ., Disney Plus ที่ทำให้เรานอนยากนอนเย็นเหลือเกินอีก ทั้ง Netflix ก็บอกแล้วว่าอุปสรรคของเขาคือการนอนของพวกเรานั่นเอง แล้วก็บ่อยครั้งที่เราเองมักจะเผลอตัวเผลอใจกว่าจะรู้ตัวอีกทีก็เกือบเช้าไปแล้วกว่าจะได้เริ่มการนอน 

แล้วการนอนนี้เกี่ยวข้องอะไรกับการฆ่าตัวตาย

ผลการวิจัยของนิวยอร์คเผยว่า พบว่าเด็กที่มีอายุระหว่าง 12-18 ปี จำนวน 15,500 ราย พบว่า 24% เป็นคนนอนหลัง 24.00 น. และเป็นคนที่เครียดง่ายกว่าคนที่เข้านอนในเวลา 22.00 น.และมีเด็กที่นอนน้อยกว่า 5 ชั่วโมงมากถึง 71% ซึ่งทำให้เด็กกลุ่มนี้มีความเครียดมากกว่าเด็กที่นอนวันละ 8 ชั่วโมง     ขณะเดียวกัน พ่อแม่ของเด็ก ๆ ที่เข้านอนหลังเที่ยงคืนพบว่ามีถึง 20%ที่ยอมรับว่า ลูก ๆ ของพวกเขาคิดฆ่าตัวตาย ส่วนเด็กที่นอนน้อยกว่า5 ชั่วโมงมีมากถึง 48% ที่คิดจะฆ่าตัวตาย

รู้หรือไม่ว่าแท้จริงแล้วจิตใจของมนุษย์ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้นอนหลังเที่ยงคืน

 

นักเรียน introvert

 

การนอนหลังเที่ยงคืนมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายอย่างไร

นักประสาทวิทยา Elizabeth Klerman จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดกล่าวว่ามีคนหลายล้านคนที่ตื่นกลางดึก และมีหลักฐานที่ค่อนข้างชัดว่าสมองของพวกเขาไม่ได้ทำงานเช่นเดียวกับในตอนกลางวัน โดยมีตัวอย่างจากผู้ใช้เฮโรอีนที่จัดการความอยากของตนได้สำเร็จในตอนกลางวันแต่ก็ยอมจำนนต่อความต้องการในเวลากลางคืน อีกตัวอย่างหนึ่งคือนักศึกษาวิทยาลัยที่นอนไม่หลับ ซึ่งเริ่มมีความรู้สึกถึงความสิ้นหวัง ความเหงา เมื่อนอนไม่หลับติดกันเป็นเวลาหลายคืน

หลักฐานสำคัญชิ้นหนึ่งที่ช่วยกำหนดสมมติฐานคือผลการศึกษาใน ปี 2016 ที่ ตีพิมพ์โดย National Library of Medicine ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งพบว่าการฆ่าตัวตายมีแนวโน้มเกิดขึ้นในเวลากลางคืนมากที่สุด การศึกษาดังกล่าวระบุว่ามีการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นสามเท่าตั้งแต่เที่ยงคืนถึง 6 โมงเช้ามากกว่าช่วงอื่นของวัน งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่ศูนย์การบริโภคยาภายใต้การดูแลในบราซิลพบว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะใช้ยาเกินขนาดในเวลากลางคืนเกือบห้าเท่า

 

Mind After Midnight อาจเป็นสมมติฐานอธิบายสาเหตุการฆ่าตัวตายนี้ได้ดี

Mind After Midnight เป็นสมมติฐานว่าผู้คนมีแนวโน้มที่จะตัดสินใจผิดพลาดมากขึ้นเมื่อพวกเขาไม่ได้นอนหลับอย่างเพียงพอเพราะว่าหลังเที่ยงคืนไปแล้วใจของมนุษย์จะจดจ่ออยู่กับอารมณ์เชิงลบมากกว่าเชิงบวกจากสมมติฐานใหม่ของFrontier in Network Physiology พบว่าจังหวะการเต้นของหัวใจมีอิทธิพลต่อสรีรวิทยาและพฤติกรรมของมนุษย์ เพราะส่งเสริมความตื่นตัวและการรับรู้ในระหว่างวัน ส่วนในช่วงกลางคืนทางชีวภาพ ความสามารถในการรับรู้และการควบคุมอารมณ์จะลดลง จากการวิจัยพบว่าเวลากลางคืนจะสัมพันธ์กับพฤติกรรมการหุนหันพลันแล่น โดยพฤติกรรมดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตาย ทำร้ายตัวเอง อาชญากรรมรุนแรง แอลกอฮอล์หรือการใช้สารเสพติดอื่นๆ 

 

ร่างกายมนุษย์สัมพันธ์กับ Circadian Rhythms 

นักวิจัยได้อธิบายว่าร่างกายมนุษย์และจิตใจของมนุษย์เป็นไปตามวัฏจักรของกิจกรรมตามธรรมชาติตลอด 24 ชั่วโมงที่ส่งผลต่ออารมณ์และพฤติกรรมของเราหรือที่เรียกว่า Circadian Rhythms นั่นเอง จังหวะของ Circadian คือวงจร 24 ชั่วโมงที่เป็นส่วนหนึ่งของนาฬิกาภายในของร่างกาย ซึ่งทำงานอยู่เบื้องหลังเพื่อทำหน้าที่และกระบวนการที่จำเป็น กระบวนการที่สำคัญ และเป็นที่รู้จักมากที่สุดคือวงจรการนอนหลับและตื่น ระบบต่าง ๆ ของร่างกายเป็นไปตามจังหวะของ  Circadian ที่เชื่อมต่อกับนาฬิกาหลักในสมองซึ่งได้รับอิทธิพลจากปัจจัยแวดล้อมโดยเฉพาะแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้จังหวะของนาฬิกาชีวิตเชื่อมโยงกับวัฏจักรของกลางวันและกลางคืนเพื่อสร้างกระบวนการพักฟื้นในกลางคืน และช่วยให้ทำกิจกรรมในเวลากลางวันได้มากขึ้นนอกจากมีเหตุผลเชิงวิวัฒนาการอธิบายไว้ว่าในอดีตมนุษย์เติบโตในป่า การตื่นตัวในเวลากลางคืนนั้นอาจเป็นเพราะมีความเสี่ยงที่จะถูกล่า ทำให้สมองเพิ่มความสนใจต่อสิ่งเร้าเชิงลบซึ่งครั้งหนึ่งอาจเคยช่วยให้เราก้าวไปข้ามภัยคุกคามที่มองไม่เห็น เมื่อการโฟกัสในแง่ลบส่งผลต่อการอยู่รอดจึงป้อนระบบการให้รางวัลเข้าสู่สมอง ในช่วงที่นอนไม่หลับในตอนกลางคืน มนุษย์จึงอาจรู้สึกว่าได้รับการสนับสนุนให้ทำพฤติกรรมที่เป็นอันตรายมากขึ้น ทำให้บุคคลมีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมเสี่ยงโดยเฉพาะ

ร่างกายและจิตใจมนุษย์ทำงานร่วมกันอยู่บนวัฏจักรที่ซับซ้อน แต่สิ่งที่เราปฏิเสธไม่ได้เลย คือ การนอนหลับเป็นหนึ่งในเรื่องสำคัญที่สุดที่เราทุกคนสามารถทำได้เพื่อช่วยให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีขึ้นเพื่อชีวิตที่ยืนยาว

 

 

อ้างอิง

https://www.sleepfoundation.org/circadian-rhythm
https://theswaddle.com/our-minds-may-not-be-meant-for-staying-awake-past-midnight-says-research/
https://www.sciencealert.com/the-human-mind-is-not-meant-to-be-awake-after-midnight-scientists-warn
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27337421/
https://bit.ly/3Uqgulm
https://www.bangkokbiznews.com/health/social/1025931

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS