ส่อง Insight เทรนด์ครอบครัวยุคใหม่ในวันที่ใครก็เลี้ยงลูกแบบ OPOL

A A
May 17, 2024
May 17, 2024
A A

 

ส่อง Insight เทรนด์ครอบครัวยุคใหม่

ในวันที่ใครก็เลี้ยงลูกแบบ OPOL

 

 

   เทรนด์การเลี้ยงลูกแบบ OPOL กำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในหมู่ครอบครัวพหุวัฒนธรรมในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นวิธีที่ช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้ภาษาที่สองได้อย่างเป็นธรรมชาติผ่านการสื่อสารกับพ่อหรือแม่ที่ใช้ภาษาต่างกัน นอกจากจะทำให้เด็กสามารถสื่อสารได้อย่างคล่องแคล่วในทั้งสองภาษาตั้งแต่เล็กแล้ว มันยังเปิดโอกาสให้เด็กได้สัมผัสมรดกทางวัฒนธรรมหลากหลายผ่านพ่อหรือแม่อีกด้วย

 

การเลี้ยงลูกเทรนด์ใหม่ สไตล์พ่อภาษาหนึ่ง แม่อีกภาษาหนึ่ง

 

   หลักการพื้นฐานของ OPOL ย่อมาจาก “One Parent, One Language” ซึ่งเราสามารถนิยามความหมายของหลักการนี้แบบตรงตัวได้เลยว่า พ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งจะสื่อสารกับลูกด้วยภาษาหนึ่งเท่านั้น และอีกคนหนึ่งจะใช้ภาษาที่แตกต่างออกไป เช่น พ่อใช้ภาษาไทย แม่ใช้ภาษาอังกฤษ 

   เรื่องนี้ถูกนำเสนอครั้งแรกโดยนักภาษาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส Claude Hagège ในหนังสือ “L’enfant aux deux langues” ที่ตีพิมพ์เมื่อปี 1996  บริบทสังคมในยุคนั้นที่มีการเคลื่อนย้ายแรงงาน การขยายตัวของโลกาภิวัตน์ มีการเติบโตของอุฒสาหกรรมต่าง ๆ มากมาย รวมไปถึงเกิดความตื่นตัวในเรื่องสิทธิมนุษยชน ความเสมอภาค และการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้รับความสนใจมากขึ้นจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้แนวคิดการเลี้ยงลูกแบบ OPOL ค่อย ๆ ได้รับความสนใจมากขึ้น

   ซึ่งสถานการณ์โลกช่วงนั้นมีการเติบของอุตสาหกรรมมากขึ้น จึงเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศ จึงทำให้ความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมต่างหอบลูกจูงหลานเดินทางไปสู่เมืองใหม่เพื่ออนาคตที่ดีกว่า กระเตงเดินทางกระจัดกระจายทำให้มีครอบครัวพหุวัฒนธรรมเพิ่มมากขึ้น จึงเกิดความต้องการให้บุตรหลานได้เรียนรู้ภาษาของทั้งสองฝ่ายพ่อและแม่

   แน่นอนว่าในอดีตการเลี้ยงลูกแบบไทย ๆ ดั้งเดิมค่อนข้างต่างออกไป เพราะพ่อแม่ส่วนใหญ่มักเน้นย้ำให้ลูกเรียนรู้และใช้แต่เพียงภาษาเดียวคือภาษาไทย นักจิตวิทยาครอบครัวต่างก็ลงความเห็นไปในแนวทางเดียวกัน พบว่า ในอดีตพ่อแม่ไทยบางส่วนเชื่อว่าการสอนให้ลูกพูดหลายภาษาตั้งแต่เล็กจะทำให้เด็กสับสนและส่งผลเสียต่อพัฒนาการทางภาษา แต่อย่างไรก็ตามสมมติฐานดังกล่าวได้ถูกพิสูจน์ว่าไม่เป็นความจริงจากงานวิจัยระดับนานาชาติมากมาย ยกตัวอย่างเช่น Bilingual Acquisition: A Child’s Journey จากวารสาร Journal of Child Language ในปี 2012 ได้ติดตามพัฒนาการทางภาษาของเด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบ OPOL ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 3 ขวบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้และพัฒนาภาษาพร้อมกันสองภาษาในเด็กวัยเล็ก ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบ OPOL สามารถแยกแยะระบบไวยากรณ์ของแต่ละภาษาได้อย่างถูกต้องตั้งแต่วัยทารก และสามารถสร้างพื้นฐานความเข้าใจในทั้งสองภาษาได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่เกิดความสับสนหรือปัญหาในการเรียนรู้ภาษา และการทดลองครั้งนี้ยังค้นพลอีก การฝึกสมองให้คุ้นเคยกับสองระบบภาษาตั้งแต่วัยทารก จะส่งผลให้พัฒนาการทางสมองและระบบสติปัญญาดีขึ้น สามารถการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาได้ดีกว่าเด็กที่ใช้ภาษาเดียว 

   ความสำเร็จในงานวิจัยนี้ได้รับการอ้างอิงอย่างกว้างขวางจากนักวิชาการทั่วโลก กลายเป็นต้นแบบองค์ความรู้ทางจิตวิทยาภาษาศาสตร์ยุคใหม่ที่ผลักดันให้นักการศึกษาทั่วโลก ได้ลองมองกลับหลัง หันมาโฟกัสกันใหม่ที่ ‘สถาบันครอบครัว’ ที่หักล้างความเชื่อดั้งเดิมที่ทำตามๆกันมา

 

 

พ่อแม่เลี้ยงลูก

 

 

การเลี้ยงลูกเทรนด์ใหม่ ครองใจซุปตาร์

 

   ปัจจุบันแนวคิด One Parent One Language ถูกสื่อสารออกมาในหลากหลายรูปแบบ และได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆในกลุ่มครอบครัวพหุวัฒนธรรม โดยข้อมูลสถิติจากการสำรวจของศูนย์วิจัยเยาวชนและครอบครัวจาก University of Minnesota ระบุว่า จำนวนครอบครัวที่เลี้ยงลูกแบบ OPOL เพิ่มขึ้นกว่า 35% ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา

 

   แม้แต่ตำนาน Hollywood อย่างบ้าน Bratt Pitt และ Angelina Jolie คู่รักใจบุญที่สร้างครอบครัวแบบพหุวัฒนธรรมขนานแท้จากการรับอุปการะบุตรบุญธรรมจากทั้งเวียดนาม กัมพูชา และเอธิโอเปีย โดยคู่รักคนดังจะแบ่งกันเลี้ยงลูก ๆ ทั้ง 6 คนด้วยภาษาหลักอย่างอังกฤษเยอรมันและภาษาฝรั่งเศส และค่อย ๆ เรียนรู้พัฒนามาจนถึง 6 ภาษาในปัจจุบัน และขณะที่เรากำลังคุยกันในบทความนี้ ‘น็อกซ์’ ลูกชายวัย 15 ปีของทั้งคู่กำลังสื่อสาร ภาษามือ กับเพื่อนบ้านอยู่ก็เป็นได้

   หากเรามองมาในบริบทของประเทศไทย ผลสำรวจกลับพบว่ามีครอบครัวไทยเพียง 5% เท่านั้นที่เลี้ยงลูกแบบ OPOL ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ แต่ก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากเพียง 3% ในปี 2558

   ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าแนวโน้มการเลี้ยงลูกแบบ OPOL นั้นกำลังแพร่หลายมากขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มครอบครัวที่มีพื้นฐานทางวัฒนธรรมหลากหลาย ซึ่งผลจากการเปิดรับวิถีชีวิตแบบพหุวัฒนธรรมและการอพยพย้ายถิ่นข้ามประเทศมากขึ้น คาดการณ์ว่าสัดส่วนของครอบครัว OPOL จะยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต

.

การเลี้ยงลูกก็เหมือนเหรียญ….ย่อมมีสองด้านเสมอ

 

   ถึงแม้ว่าเทรนด์นี้ได้รับความสนใจและมีนักวิชาการออกมาสนับสนุนแนวคิดมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ก็มียังข้อถกเถียงและประเด็นที่น่าสนใจหลายที่เราต้องพิจารณา ขณะเดียวกันงานวิจัยที่พิสูจน์ว่า เด็กๆจะสามารถแยกแยะระบบภาษาต่างๆได้โดยธรรมชาติ แต่ก็มีคงบางกรณีที่เด็กบางคนอาจประสบปัญหาความสับสนในระยะแรก โดยเฉพาะถ้าพ่อแม่ไม่สามารถแบ่งแยกการใช้ภาษาต่างๆได้อย่างชัดเจน เนื่องจากข้อจำกัดหลักๆจากความสามารถของพ่อแม่ การใช้ OPOL จำเป็นต้องมีพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งสามารถพูดภาษาแม่ได้คล่องแคล่ว หากคู่สมรสไม่สามารถสื่อสารในภาษาแม่ของกันและกันได้อย่างถูกต้อง อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางภาษาของบุตรได้ และอาจบานปลายสู่ความขัดแย้งของบทบาทพ่อแม่ในครอบครัวก็เป็นได้ ในบางกรณีอาจเกิดช่องว่างระหว่างพ่อและลูก หรือแม่และลูก เนื่องจากเด็กไม่ได้สื่อสารกับพ่อหรือแม่โดยตรงในภาษาหลัก ซึ่งอาจสร้างความรู้สึกแปลกแยกระหว่างกันได้ และยังไม่นับข้อถกเถียงอื่น ๆ ในแง่ของเรื่องดราม่าอย่างข้อจำกัดด้านสถานะทางสังคมขึ้นอยู่กับความนิยมและทัศนคติของคนในแต่ละวัฒนธรรมที่มีต่อการใช้ภาษาต่างประเทศนั้น

   เมื่อมองมาในบริบทของประเทศไทย จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ามีครอบครัวไทยเพียง 5% เท่านั้นที่เลี้ยงลูกแบบ OPOL ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ แต่ก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากเพียง 3% ในปี 2558

   ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าแนวโน้มการเลี้ยงลูกแบบ OPOL นั้นกำลังแพร่หลายมากขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มครอบครัวที่มีพื้นฐานทางวัฒนธรรมหลากหลาย ซึ่งผลจากการเปิดรับวิถีชีวิตแบบพหุวัฒนธรรมและการอพยพย้ายถิ่นข้ามประเทศมากขึ้น คาดการณ์ว่าสัดส่วนของครอบครัว OPOL จะยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต

   การเลี้ยงลูกแบบ OPOL อาจจะจะกลายเป็นเทรนด์การเลี้ยงลูกในกระแสหลัก หากพ่อแม่วางรากฐานและดำเนินการได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มันจะก่อให้เกิดประโยชน์และเปิดมุมมองใหม่ๆแก่บุตรหลานได้เป็นอย่างดี แต่ในขณะเดียวกันก็จำเป็นต้องระมัดระวังปัญหาที่อาจตามมาด้วย คงไม่ได้มีคำตอบสำเร็จรูปว่าการเลี้ยงลูกแบบไหนจะเหมาะที่สุด ทุกครอบครัวมีปัจจัยที่ต้องพิจารณาไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นความสามารถ และสภาพแวดล้อมของแต่ละครอบครัว

แต่ยังมีสิ่งหนึ่งที่คนเป็นพ่อเป็นแม่เขารู้กันเสมอ

คือ ‘ลูกไม่ได้เกิดมาพร้อมคู่มือ เราต้องค่อยๆเรียนรู้กันและกัน’

 

อ้างอิง

https://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3/2564/Full_report_q4_64.pdf

https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED238029.pdf

https://www.sheknows.com/parenting/slideshow/2519910/celebrity-parents-bilingual-kids/

https://www.psychologytoday.com/intl/blog/life-bilingual/201504/one-person-one-language-and-bilingual-children

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS