รู้จักสภาวะโลกร้อนด้วย Carbon FootPrint ผ่านข้อสอบ #TCAS66

A A
Dec 16, 2022
Dec 16, 2022
A A

รู้จักสภาวะโลกร้อนด้วย Carbon FootPrint ผ่านข้อสอบ #TCAS66

 

     ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีดราม่าร้อนฉ่าเรื่องใหม่แห่งระบบการศึกษาไทย เมื่อโจทย์เจ้าปัญหาในข้อสอบ TCAS ซึ่งเป็นระบบกลางในการคัดเลือกบุคคลเข้ารับการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ กำลังสร้างข้อถกเถียงเป็นอย่างมากในสื่อสังคมออนไลน์ 

 

เมนูใดต่อไปนี้สร้างก๊าซเรือนกระจกและส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนน้อยที่สุด

1.ข้าวราดไก่ผัดกระเทียมพริกไทย

2.ราดหน้าหมู

3.สเต็กปลาแซลมอน

4.สุกี้ทะเลรวมมิตร

 

ก่อนอื่นเราไปทำความเข้าใจคร่าว ๆ เกี่ยวกับภาวะโลกร้อนที่คนออกข้อสอบอาจกำลังหมายถึงในโจทย์ข้อนี้ก่อน

 

     ภาวะโลกร้อน เกิดจากการที่โลกมีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ “ก๊าซเรือนกระจก” เพิ่มขึ้นในชั้นบรรยากาศอย่างรวดเร็ว และก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกที่ผิดปกติขึ้น รวมทั้งก๊าซชนิดอื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติดักจับความร้อนออกไปยังบรรยากาศของโลก ก๊าซเหล่านี้จะรวมตัวกันจนกลายเป็นผ้าห่มหนา ๆ ดักจับความร้อนของดวงอาทิตย์ และทำให้โลกมีอุณหภูมิร้อนขึ้นยิ่งก๊าซเหล่านี้เพิ่มมากขึ้นความร้อนก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วยจนกระทั่งกลายเป็นปัญหาโลกร้อนตามมานั่นเอง

 

แล้วภาวะโลกร้อนเกี่ยวอะไรกับอาหาร ?

 

     โดยทั่วไปเวลาเราพูดถึงภาวะโลกร้อนเรามักจะมองว่าเกิดจากการเผาไหม้สารพัดที่มาจากการกระทำมนุษย์ ซึ่งก็ไม่ผิด แต่ก็ไม่ได้ถูกซะทีเดียว เพราะในความเป็นจริงสถานการณ์ภาวะโลกร้อนมันแย่ในระดับปัจจุบันนี้ก็เพราะพื้นที่ป่าลดน้อยลง

การเลี้ยงสัตว์เพื่อการบริโภคในฟาร์มที่เราเห็นกัน เราเคยตั้งคำถามกับมันไหมว่าอาหารของสัตว์เหล่านั้นมันมาจากไหน ? คำตอบก็คือ เราต้องถางป่าเพื่อสร้างพื้นที่ทางการเกษตรปลูกพืชธัญญาหารเอาไว้เป็นอาหารสัตว์ ซึ่งกินพื้นที่มากกว่า 80% ในอุตสาหกรรมการผลิตเนื้ิอสัตว์ทั้งหมด

หากพิจารณาข้อมูลเพียงเท่านี้เพื่อตอบคำถามเจ้าปัญหาข้างบน

หลาย ๆ คนคงคิดว่าคำตอบที่ใกล้เคียงความจริงที่สุดของเมนูอาหารที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนน้อยที่สุด ก็คือ สุกี้ทะเลรวมมิตร

 

เนื่องจากระบบนิเวศทางทะเล จะเน้นความเป็นธรรมชาติ และอิสระของสัตว์น้ำมากกว่าระบบการเลี้ยงสัตว์แบบฟาร์ม เพราะไม่ต้องไปเบียดเบียนพื้นที่การเกษตร

 

“ ข้อสอบนี้มีคำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียวตามหลักวิชาการ แต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ ”

 

     คำยืนยันจากคำสัมภาษณ์ล่าสุดของนายชาลี เจริญลาภนพรัตน์ ผู้จัดการระบบ TCAS66 ในรายการเรื่องเล่า เสาร์-อาทิตย์ โดยแจ้งเพิ่มเติมว่าข้อสอบดังกล่าวเป็นการวัดความรู้เรื่อง SDGs (Sustainable Development Goals) หรือแผนการพัฒนาอย่างยั่งยืนมีการกล่าวถึงเป้าหมาย 17 ประการ โดยหนึ่งในนั้นคือเรื่องของการลดโลกร้อน 

 

“โดยปกติแล้วเรามีส่วนร่วมได้หลายวิธี รวมทั้งเรื่องการรับประทานอาหาร อาหารแต่ละประเภทจะมีคาร์บอนฟุตพรินท์ หรือ การผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณไม่เท่ากัน ไม่ว่าจะเป็นเนื้อไก่ อาหารทะเล หรือว่าปลาแซลมอนนะครับ เพราะฉะนั้นกุญแจสำคัญของเรื่องนี้คือ การตระหนักรู้ในเรื่องปริมาณ คาร์บอนฟุตพรินท์ เราก็ใช้ข้อมูลระดับโลกในการที่จะกำหนดข้อมูลของคาร์บอนฟุตพรินท์แต่ละชนิด”

 

คาร์บอนฟุตฟรินท์ อีกตัวละครลับของโจทย์ข้อนี้

     Carbon Footprint คือ  ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วย ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การประกอบชิ้นงาน การกระจายสินค้า การใช้งาน และการจัดการของเสียหลังหมดอายุการใช้งาน รวมถึงการขนส่งที่เกี่ยวข้อง โดยคำนวณออกมาในรูปของ กรัม, กิโลกรัม หรือตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยเว็บไซต์ที่ขับเคลื่ิอนโลกสีเขียวชื่อดังอย่าง https://myemissions.green ได้คำนวณปริมาณ Carbon Footprint ของเนื้อสัตว์ในระบบอุตสาหกรรมจากตัวเลือกทั้ง 4 ของข้อสอบนี้ไว้ว่า

 

1.ข้าวราดไก่กระเทียมพริกไทย : 799 gCo2e (ปล่อย Carbon Footprint ปริมาณกลาง)

2.ราดหน้าหมู :  1482  gCo2e (ปล่อย Carbon Footprint ปริมาณกลาง)

3.สเต็กปลาแซลมอน : 1008 gCo2e (ปล่อย Carbon Footprint ปริมาณน้อย)

4.สุกี้ทะเลรวมมิตร : 3576 (ปล่อย Carbon Footprint ปริมาณมาก)

 

 

Carbon FootPrint

 

 

เหตุไฉนทำไม Carbon Footprint ของสุกี้ทะเลรวมมิตรถึงสูงกว่าข้ออื่น เพราะอย่างที่เราเข้าใจไปตอนต้นว่าระบบนิเวศทางทะเล น่าจะเน้นความเป็นธรรมชาติ และอิสระของสัตว์น้ำมากกว่าระบบการเลี้ยงสัตว์แบบฟาร์มมิใช่หรือ 

 

ก็เพราะเป็นการคำนวณแบบอุตสาหกรรมใหญ่เลยไงล่ะ

คิดตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนการเพาะเลี้ยง ดักจับ ไปจนถึงระบบการขนส่งเลยทีเดียว

 

ดังนั้นปัญหาของโจทย์นี้จึงอาจไม่ได้อยู่ที่คำถามหรือคำตอบ 

     การที่ไม่ได้ระบุให้แน่ชัดว่าการคิดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของการได้มาซึ่งสัตว์ต่าง ๆ ทั้งไก่ หมู แซลมอน สัตว์ทะเล ยังไม่นับรวมพืชผักที่นำมาประกอบอาหาร ว่าคำนวณจากอุตสาหกรรมแบบจริงจรังหรือเลี้ยงแบบบ้าน ๆ ทั่วไป เพราะความคลุมเครือของข้อสอบแล้ว อาจทำให้ผู้ทำข้อสอบคิดไปไกลถึงห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นจนจบของแต่ละเมนูเลยก็ว่าได้

 

     ไม่ว่าปลายทางของดราม่าเรื่องข้อสอบนี้จะออกมาเป็นอย่างไร อย่างน้อยวันนี้เราได้เห็นว่าเรื่องราวของภาวะโลกร้อน กำลังเป็นประเด็นที่ได้รับการพูดถึงในวงกว้าง โดยเฉพาะในแวดวงการศึกษา ที่เราได้เห็นเยาวชนรุ่นใหม่ได้ตั้งประเด็นวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ต่าง ๆ  ได้เห็นการตระหนักถึงความสำคัญของวิกฤตสภาพอากาศ เป็นการจุดประเด็นทางความรู้เพื่อโลกสีเขียวที่ยั่งยืนต่อไป

 

อ้างอิง

https://myemissions.green/food-carbon-footprint-calculator/

https://on.natgeo.com/3FIxQ7F

https://bit.ly/3UQyUuK

 

 

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS