DINK แนวคิดคนรุ่นใหม่ รักกันไปแบบไม่ต้องมีลูก

A A
Aug 26, 2022
Aug 26, 2022
A A

DINK แนวคิดคนรุ่นใหม่ รักกันไปแบบไม่ต้องมีลูก

 

  • คนรุ่นใหม่อย่างคน Gen Zป็นกลุ่มประชากรที่ใหญ่ที่สุดในโลกชาว Gen Z มากกว่า 1 ใน 4 ไม่ต้องการมีลูก มองว่าการใช้ชีวิตที่สบายทางการเงินเป็นสิ่งสำคัญที่สุด รองลงมาคือการมีสุขภาพจิตที่ดี  ตามมาด้วยหน้าที่การงานที่มั่นคง และเรื่องของการมีลูกเป็นสิ่งที่มีความสำคัญน้อยที่สุด
  • DINK (Dual Income No Kids) จึงกลายเป็นนิยามอธิบายคู่สามีภรรยาที่ไม่มีลูก โดยเหตุผลหลักคือต้องการมีความสุขและอยากมีชีวิตที่ยืดหยุ่น รองลงมาคือความกังวลด้านการเงิน และต้องการมีเวลาให้ตัวเอง
  • แต่แนวคิดแบบ DINK ก็มีทั้งข้อดี และข้อเสียในตัวเองโดยข้อดีหลัก ๆ คือจะทำให้คุณรู้จักวางแผนการเงินที่มากขึ้นมีเวลาเพิ่มเยอะขึ้น แต่ข้อเสียก็คือคุณจะใช้จ่ายเกินตัวขาดวิสัยทัศน์ในระยะยาวในการใช้เงิน
    •  
    •  

           ช่วง 50 ปีที่ผ่านมาพบว่าอัตราการเจริญพันธุ์ทั่วโลกลดลงครึ่งหนึ่ง จำนวนการเกิดใหม่ของเด็กต่อผู้หญิงหนึ่งคนลดลง พบข้อมูลจากกองประชากรแห่งสหประชาชาติแผนภูมิยืนยันว่าการได้รับการศึกษาที่สูงขึ้นมีความเกี่ยวข้องกับภาวะเจริญพันธุ์ที่ต่ำลง เพราะการศึกษามีความสำคัญต่อวิธีคิด และความรู้เรื่องการคุมกำเนิด และบรรทัดฐานทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป จากงานวิจัย Pew Research Center แสดงให้เห็นถึงการศึกษาของคนแต่ละ Generation พบว่าในบรรดาผู้หญิงในรุ่น Silent Generation (อายุ 25 ถึง 37 ในปี 1968) มีเพียง 11% เท่านั้นที่จบปริญญาตรี ผู้หญิงยุค Millennial มีแนวโน้มว่าจะสำเร็จการศึกษาจากรุ่นก่อน ๆ ในวัยเดียวกันถึง 4 เท่า (43%) จากกราฟจะเห็นได้ว่าทิศทางแนวโน้มการได้รับการศึกษามีเพิ่มขึ้นในทุก Generation

 

PEW research
ภาพประกอบจากข้อมูลจาก Pew Research Center

 

การเกิดแนวคิด DINK อาจเกิดจากการผลพวงภาวะเศรษฐกิจครั้งใหญ่

 

Gary Becker นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกันมองว่าการศึกษาที่สูงขึ้นส่งผลให้มีมุมมองเรื่องการเตรียมความพร้อมในการมีลูกที่ต่างออกไปจากที่เคยเป็นมาในอดีต เพราะนอกจากค่าใช้จ่ายทางการเงินที่ผู้ปกครองต้องเสียทั้งทางตรง เช่น ค่าดูแลเด็กหรือค่าเล่าเรียน ยังมีส่วนค่าใช้จ่ายทางอ้อม เช่น ค่าเสียโอกาสในเวลาที่จำเป็นสำหรับการตั้งครรภ์ และเวลาในการเลี้ยงดูจึงทำให้ผู้หญิงต้องการมีลูกน้อยลงเป็นเพราะค่าเสียโอกาสนั้นมีสูง

นอกจากนี้ไม่ใช่แค่เพียงการเสียโอกาสที่เป็นปัจจัยหลักของการมีลูกที่ลดลง สาเหตุที่เป็นผลพวงมาจากภาวะเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปี 2008 คน ทำให้Gen X สูญเสียทรัพย์สินไปถึง 45%  และเกือบครึ่งหนึ่งของ Gen Millennials และหนึ่งในสามของ Gen X มีหนี้จำนวนมาก ส่งผลให้คนที่เป็น Gen Millennials และ Gen X จำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่เลือกจะไม่มีลูกเนื่องจากต้องใช้ทรัพยากรทางการเงินในการเลี้ยงดูลูกจึงอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิด DINK

คนรุ่นใหม่อย่างคน Gen Z เป็นกลุ่มประชากรที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีประชากร 2.5 พันล้านคน และมีรายได้ที่เติบโตเร็วที่สุด และชาว Gen Z มากกว่า 1 ใน 4 ไม่ต้องการมีลูก และมองว่าการใช้ชีวิตที่สบายทางการเงินเป็นสิ่งสำคัญที่สุด รองลงมาคือการมีสุขภาพจิตที่ดี  ตามมาด้วยหน้าที่การงานที่มั่นคง และเรื่องของการมีลูกเป็นสิ่งที่มีความสำคัญน้อยที่สุด

เกม Minecraft ช่วยฝึกทักษะด้านมิติสัมพันธ์
ภาพประกอบจากข้อมูลจาก Pew Research Center

 

DINK จึงเป็นคำนิยามของคู่สามีภรรยาที่ไม่ต้องการมีลูก

 

DINK (Dual Income No Kids) จึงกลายเป็นนิยามอธิบายคู่สามีภรรยาที่ไม่มีลูก โดยเหตุผลหลักคือต้องการมีความสุขและอยากมีชีวิตที่ยืดหยุ่น รองลงมาคือความกังวลด้านการเงิน และต้องการมีเวลาให้ตัวเอง

แนวคิด DINK
ภาพประกอบจากข้อมูลจาก https://www.rubyhome.com/blog/dink-lifestyle/

 

แล้วการเลี้ยงดูเด็กหนึ่งคนต้องใช้เงินเท่าไร ?


ตามข้อมูลล่าสุดจากสหรัฐอเมริกา กรมวิชาการเกษตร คู่สามีภรรยาที่มีรายได้ปานกลาง จะต้องมีค่าใช้จ่ายประมาณ $233,610 หรือเท่ากับ 8,367,910 บาทเพื่อเลี้ยงเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 18 ปี จำนวน 1 คนซึ่งไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหลังจากเด็กอายุ 18 ปี เช่น ค่าเล่าเรียนของมหาวิทยาลัย ค่าอาหาร ค่ากิจกรรม ส่วนในประเทศไทยค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็กหนึ่งคนให้จบมัธยมปลายมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 1,038,400 บาทต่อคน ด้วยเหตุนี้เองคู่รักที่เลือกที่จะไม่มีลูกอาจมีข้อได้เปรียบทางการเงินที่สำคัญบางอย่าง นอกจากนี้สำนักสถิติแรงงานของสหรัฐอเมริกาประมาณการว่าเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปียังใช้เวลาในการเลี้ยงดูเฉลี่ย 1.36 ชั่วโมงต่อวันในการดูแล เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปีจะใช้เวลานานกว่าโดยเฉลี่ย 2.14 ชั่วโมงต่อวัน เวลาที่เสียไปยิ่งทำให้แนวความคิดการใช้ชีวิตแบบ Dual Income No Kids หรือ DINK เป็นที่นิยมในปัจจุบัน เกือบ 1 ใน 4 ของ Gen Z คาดว่าจะเป็นครอบครัว DINK ในสักวันหนึ่ง และชาว Gen Z มากกว่า 1 ใน 4 คนไม่ต้องการมีลูก

 

ข้อดีของการเป็น DINK

  • เวลาว่างที่เยอะขึ้น เพราะนอกเหนือจากการทำงานที่ต้องรับผิดชอบแล้วจะมีอิสระในการใช้ชีวิต เช่น ไปยิม ดูหนัง ทานอาหารที่ร้านโปรด โดยไม่ต้องกังวลค่าใช้จ่ายที่จะต้องเก็บไว้ให้ลูก
  • ช่วยให้มีอิสรภาพทางการเงินที่เพิ่มขึ้น เพราะการแบกรับค่าเลี้ยงดูลูกเป็นความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ เกือบครึ่งหนึ่งของครอบครัวในสหรัฐฯ ไม่มีเงินออมเพื่อการเกษียณ นั่นก็เพราะสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการเลี้ยงดูลูก
  • เพิ่มความคล่องตัว คู่รักไม่มีความสัมพันธ์ที่ต้องกังวล สามารถเดินทางหรือตัดสินใจในการทำกิจกรรมได้ทันทีโดยไม่ต้องกังวลเรื่องการดูแลเด็ก ๆ 

 

ข้อเสียของแนวคิดนี้

  • แนวโน้มที่จะใช้จ่ายเกินตัว เพียงเพราะคิดว่าไม่มีลูกให้ดูแล ดังนั้นจึงสามารถใช้จ่ายเกินตัว มีความรับผิดชอบในการออมน้อย มักใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อของ กินข้าวนอกบ้านเป็นประจำ หรือวางแผนการพักผ่อนช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์
  • ขาดวิสัยทัศน์ในระยะยาว เมื่อไม่มีลูกคู่รักอาจจ่ายเงินไปกับไลฟ์สไตล์ในแบบที่ต้องการจนลืมวางแผนการเงินเพื่ออนาคต เช่น การสำรองค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิด

 

ความคาดหวังของกลุ่มคนชาว DINK

คน Gen Z มักถูกมองว่าเป็นคนรุ่นใหม่ที่ใช้ชีวิตฟุ่มเฟือยไม่ระมัดระวังทางการเงิน แต่ผลสำรวจกลับพบว่า คน Gen Z ส่วนใหญ่ 86% ใช้เงินไปกับการซื้อบ้านหรือที่อยู่อาศัย และ 85% เลือกการเดินทาง ตามมาด้วยการซื้อของให้กับครอบครัว และลงทุนเรื่องสุขภาพ

แนวคิด DINK
ภาพประกอบจากข้อมูลจาก https://www.rubyhome.com/blog/dink-lifestyle/

 

แม้ว่าการมีลูกจะดูเป็นขั้นตอนที่สมบูรณ์แบบสำหรับคู่รักในรุ่นก่อน ๆ แต่การแสวงหาวิถีชีวิตของคนที่เป็น DINK และคนรุ่นต่อ ๆ ไปอาจไม่ได้เป็นไปตามความคาดหวังแบบเดิม ๆ อีกต่อไปแล้ว และนั่นอาจทำให้พวกเขาค้นพบคำตอบในชีวิตก็เป็นได้

 

อ้างอิง
https://www.rubyhome.com/blog/dink-lifestyle/
https://www.meetbreeze.com/blog/dual-income-no-kids-dink/
https://www.thebalance.com/what-is-dual-income-no-kids-dink-5186453
https://ourworldindata.org/fertility-rate
https://www.jagranjosh.com/articles/double-income-no-kid-couples-a-trend-or-a-wise-decision-1512711185-1
https://bit.ly/3nKly55
https://www.schroders.com/de/ch/wealth-management/insights/markte/what-investors-need-to-know-about-gen-z/
https://www.sofi.com/learn/content/dual-income-no-kids-lifestyle/

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS