สรุปให้รู้ตามทันโลกการศึกษา EP7 ช่องว่างทางเพศ อุปสรรคซ่อนเร้นในการศึกษา

A A
Aug 1, 2022
Aug 1, 2022
A A

สรุปให้รู้ ตามทันโลกการศึกษา
ช่องว่างทางเพศ อุปสรรคซ่อนเร้นในการศึกษา

 

 

  • จากรายงานของ Global Gender Gap Report 2022 มนุษย์โลกเราจะสามารถลดช่องว่างทางเพศได้อย่างสมบูรณ์ตามสี่มิติหลักพื้นฐานของความเท่าเทียม ได้แก่ สุขภาพและการดำเนินชีวิต การมีส่วนร่วมและโอกาสทางเศรษฐกิจ ความสำเร็จทางการศึกษา และการเสริมอำนาจทางการเมือง คาดว่าจะเกิดขึ้นได้จริงในอีก 132 ปีข้างหน้า
  • ช่องว่างทางเพศเป็นจุดเริ่มต้นของการเหลื่อมล้ำในสังคมมาอย่างช้านาน ด้วยค่านิยมชายเป็นใหญ่ในอดีตฝังรากลึกไปอีกเป็นร้อย ๆ ปีต่อจากนี้ หรือแม้แต่เรื่องภายใน เช่น การสืบทอดต่อมรดก และธุรกิจของครอบครัว
  • ในปัจจุบันโลกเรายังไม่มีเมืองตัวอย่างในเรื่องเท่าเทียมทางเพศได้ 100 % แต่จากรายงานก็ระบุว่ามี 10 ประเทศที่สามารถลดช่องว่างทางเพศได้อย่างน้อย 80 % และไอซ์แลนด์คือแห่งแรกที่ลดช่องว่างทางเพศได้มากที่สุดในโลกกว่า 90% คือ ไอซ์แลนด์ (90.8%,1) รองลงมาคือ ฟินแลนด์ (86%, 2) นอร์เวย์ (84.5%, 3) นิวซีแลนด์ (84.1 %, 4) สวีเดน (82.2%, 5) รวันดา (81.1%, 6) นิการากัว (81%, 7) นามิเบีย (80.7%, 8) ไอร์แลนด์ (80.4%) และเยอรมนี (80.1%)

 

  

จากรายงานของ Global Gender Gap Report 2022 มนุษย์โลกเราจะสามารถลดช่องว่างทางเพศได้อย่างสมบูรณ์ตามสี่มิติหลักพื้นฐานของความเท่าเทียม ได้แก่ สุขภาพและการดำเนินชีวิต การมีส่วนร่วมและโอกาสทางเศรษฐกิจ ความสำเร็จทางการศึกษา และการเสริมอำนาจทางการเมือง คาดว่าจะเกิดขึ้นได้จริงในอีก 132 ปีข้างหน้า ถึงตอนนั้นมนุษย์อาจวิวัฒนาการไปอยู่บนดาวอังคารแล้วก็เป็นได้นะครับ

หลายคนคงสงสัยว่าทำไมเราถึงต้องให้ความสำคัญกับช่องว่างทางเพศนี้และทำให้มันลดลงให้ได้ ?

คำตอบคือ ช่องว่างทางเพศเป็นจุดเริ่มต้นของการเหลื่อมล้ำในสังคมมาอย่างช้านาน ด้วยค่านิยมชายเป็นใหญ่ในอดีตฝังรากลึกไปอีกเป็นร้อย ๆ ปีต่อจากนี้ หรือแม้แต่เรื่องภายใน เช่น การสืบทอดต่อมรดก และธุรกิจของครอบครัว หลายประเทศมีวัฒนธรรมที่ต้องเป็นลูกชายทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?

เมื่อโอกาสเข้าถึงได้ยากช่องว่างก็มากขึ้นเรื่อย ๆ โลกใบนี้ขับเคลื่อนด้วยระบบทุนนิยมการมีรายได้ทำให้ชีวิตอยู่ง่ายขึ้นแต่การทำงานในองค์กร และการศึกษาเป็นสิ่งที่เพศหญิงเข้าถึงได้ยากจนกระทบต่อด้านอื่น ๆ เช่น สุขภาพและการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะอำนาจทางการเมืองเมื่อสิ่งเหล่านี้เป็นตัวกำหนดกฎหมาย และค่าครองชีพแต่เพศหญิงถูกปิดกั้นในการเข้าถึงอาจเกิดการสองมาตรฐานได้ จึงต้องแก้ที่ต้นเหตุทำให้ทั่วโลกตระหนัก และพยายามลดช่องว่างเหล่านี้ลงเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมอย่างแท้จริง

โดยการเก็บข้อมูลของ Global Gender Gap Report 2022 กว่า 146 ประเทศทั่วโลกตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปี 2565 ได้สรุปออกมาแล้วว่าจากการรณรงค์ และนโยบายต่าง ๆ ช่องว่างทางเพศทั่วโลกลดลงกว่า 68.1% แบ่งเป็น 4 มิติ คือ การมีส่วนร่วมและโอกาสทางเศรษฐกิจ 60.3% ความสำเร็จทางการศึกษา 94.4% สุขภาพและการดำเนินชีวิต 95.8% และการเสริมอำนาจทางการเมือง 22%

 

ช่องว่างทางเพศ

เราจะมาพูดถึงประเด็นที่สร้างโอกาสและเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างการศึกษา

อุปสรรคซ่อนเร้นที่เกิดขึ้นโดยเริ่มต้นจากทัศนคติเมื่อครอบครัว และโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของการสอนบรรทัดฐานทางสังคม ต่าง ๆ ค่านิยม การเข้าสังคม การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และการเรียนรู้เพศสภาพ ซึ่งโรงเรียนมีอิทธิพลสูงมากในการสร้างค่านิยม และช่องว่างทางเพศโดยไม่รู้ตัว อาจจะด้วยอคติทางเพศในมุมต่างๆ ได้ก่อตัวผ่านวิถีปฏิบัติ และหลักสูตรการสอนของโรงเรียน ค่านิยมทางสังคมในเรื่องของ “ความเป็นชาย” และ “ความเป็นหญิง” นั้นถูกส่งผ่านสามารถเห็นได้จากทัศนคติ และความเชื่อของคุณครูไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในไทย คือการสอนเรื่องเพศสภาพกับนักเรียนส่วนใหญ่ยังเชื่อในมาตรฐานทางเพศแบบเดิมเป็นทัศนคติที่มองว่า หญิงต้องรักนวลสงวนตัวในขณะที่ชายสามารถมีอิสระทางเพศได้ทัศนคติแบบสองมาตรฐานทางเพศของการสอนเหล่านี้นำไปสู่ผลลัพธ์เชิงลบของการสอนเพศวิถีศึกษา และทำให้ความคิดชายเป็นใหญ่เพิ่มมากขึ้น ค่านิยมทางเพศที่ฝั่งลึกเป็นปัจจัยผลักดันความไม่เท่าเทียมกันทางเพศของสังคม 

ยกตัวอย่างประเด็นสำคัญที่กำลังเป็นที่นิยมในศตวรรษที่ 21 อย่างอาชีพ STEM พบว่าผู้หญิงยังคงเป็นตัวแทนในอาชีพด้านการศึกษา และด้านสุขภาพแต่กับมีบทบาทที่น้อยในด้าน STEM เมื่อโลกอนาคตต้องขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีผู้หญิงที่จบด้านบัณฑิตสาขาสารสนเทศและการสื่อสารเทคโนโลยี (ICT) มีเพียง 1.7% เทียบกับ 8.2% ของผู้ชายที่จบการศึกษา หรือในด้านวิศวกรรม และการผลิต ผู้ชายมีมากถึง 24.6% และเป็นผู้หญิงเพียง 6.6% สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อเด็กที่จะกลายเป็นผู้ใหญ่ และสืบทอดทัศนคติแบบนี้ต่อไปในองค์กร การทำงาน การส่งต่อลูกหลานจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้ช่องว่างเหล่านี้ไม่หมดไปสักที

10ประเทศตัวอย่างลดช่องว่างทางเพศ

ในปัจจุบันโลกเรายังไม่มีเมืองตัวอย่างในเรื่องเท่าเทียมทางเพศได้ 100 % แต่จากรายงานก็ระบุว่ามี 10 ประเทศที่สามารถลดช่องว่างทางเพศได้อย่างน้อย 80 % และไอซ์แลนด์คือแห่งแรกที่ลดช่องว่างทางเพศได้มากที่สุดในโลกกว่า 90% คือ ไอซ์แลนด์ (90.8%,1) รองลงมาคือ ฟินแลนด์ (86%, 2) นอร์เวย์ (84.5%, 3) นิวซีแลนด์ (84.1 %, 4) สวีเดน (82.2%, 5) รวันดา (81.1%, 6) นิการากัว (81%, 7) นามิเบีย (80.7%, 8) ไอร์แลนด์ (80.4%) และเยอรมนี (80.1%) 10 ประเทศนี้อาจเป็นประเทศนำร่องของความเท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์ให้อีกหลายร้อยกว่าประเทศได้เป็นแบบอย่างในอนาคตอันใกล้นี้

 

 

อ้างอิง
https://www.weforum.org/reports/global-gender-gap-report-2022/digest
https://www3.weforum.org/docs/WEF_GGGR_2022.pdf
https://blogs.worldbank.org/th/eastasiapacific/gender-in-thai-schools-do-we-grow-up-to-be-what-we-are-taught 

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS