ครูควรประเมินความคิดสร้างสรรค์อย่างไร
- ความคิดสร้างสรรค์ คือสิ่งหนึ่งที่ AI อาจจะยังทดแทนไม่ได้และเป็นทักษะที่โลกต้องการอย่างมากในการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ
- ความคิดสร้างสรรค์สามารถประเมินได้ เพราะว่าถึงแม้เราจะเห็นคุณค่าของความคิดสร้างสรรค์ แต่ถ้าเราไม่ประเมิน เราก็อาจละเลยมันไป
- โดยก่อนที่ครูจะคำนึงถึงวิธีการประเมินครูควรรู้ถึงแนวคิดของความคิดสร้างสรรค์ โดยมีดังนี้ คิดแตกต่าง ทดลอง ไตร่ตรอง สื่อสาร
ปฎิเสธไม่ได้ว่า ความคิดสร้างสรรค์ คือสิ่งหนึ่งที่ AI อาจจะยังทดแทนไม่ได้และเป็นทักษะที่โลกต้องการอย่างมากในการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ซึ่งความคิดสร้างสรรค์สามารถสร้างได้ตั้งแต่วัยเด็ก ความคิดสร้างสรรค์เป็นทักษะที่ไม่สามารถเรียนรู้ได้ผ่านบทเรียน แต่สามารถสร้างได้จากบริบทรอบตัว เช่น ความช่างสังเกต การประยุกต์ใช้ ครูสามารถช่วยส่งเสริมความสามารถในความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนได้ แต่อย่างหนึ่งที่หลายคนอาจจะยังสงสัยว่า แล้วความคิดสร้างสรรค์นี้มีวิธีประเมินอย่างไร แล้วทำไมต้องประเมินความคิดสร้างสรรค์
คำตอบคือ หากเราไม่ประเมินเราก็อาจละเลยมันได้
ในทุกแง่มุมของชีวิตสิ่งที่เราให้คุณค่าสิ่งนั้นจะกลายเป็นสิ่งสำคัญ หากคุณให้ความสำคัญกับการวิ่ง คุณจะหมั่นสะสมระยะที่คุณวิ่งได้มากขึ้น ปรากฏการณ์เดียวกันนี้ยังเกิดขึ้นกับการสอนอีกด้วย หากเราให้ความสำคัญกับสิ่งที่เราประเมิน ดังนั้นแม้ว่าเราจะเห็นคุณค่าของความคิดสร้างสรรค์ แต่ถ้าเราไม่ประเมิน เราก็อาจละเลยมันไป งานสร้างสรรค์จึงกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนจะทำเมื่อเรามีเวลา หากไม่ระวัง Skill ด้านนี้ก็จะลดลง แต่ในขณะเดียวกันหากประเมินมากเกินไปก็อาจจะส่งผลเสียต่อความสนุกสนานซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งของการสร้างสรรค์ สิ่งที่ครูควรตระหนักคือ วิธีการที่จะประเมินความคิดสร้างสรรค์ โดยก่อนที่ครูจะคำนึงถึงวิธีการประเมินครูควรรู้ถึงแนวคิดของความคิดสร้างสรรค์

แนวคิดของความคิดสร้างสรรค์
1.คิดแตกต่าง: โดยการสร้างสรรค์แนวคิดหรือวิธีแก้ปัญหาที่หลากหลาย
2.ทดลอง: ผสมผสานและจัดการความคิดให้เกิดบริบทใหม่และพัฒนาความเป็นไปได้เพิ่มเติม
3.ไตร่ตรองและประเมิน: พิจารณาถึงคุณค่าของแต่ละความคิด สนับสนุนการแก้ไขปัญหาหรือส่งเสริมผลลัพธ์ที่ตั้งใจ
4.สื่อสาร: เรียนรู้ที่จะสื่อสารถึงแนวคิดของตนเอง
วิธีการออกแบบการประเมินความคิดสร้างสรรค์
1.มุ่งเน้นที่กระบวนการสร้างสรรค์มากกว่าผลลัพธ์
เมื่อนักเรียนเริ่มสร้างผลงานนักเรียนอาจจะยังมีความกังวลว่าสิ่งที่ทำไม่สร้างสรรค์พอ หรือรู้สึกว่าผลงานที่ทำอาจไม่ดีพอจนทำให้เกิดความต้องการในการพยายามที่จะสร้างสรรค์แต่ผลลัพธ์จนทำให้ผลลัพธ์ที่ได้เกิดมาจากลอกเลียนแบบและอาจทำให้ความสร้างสรรค์ไม่เกิด จริง ๆ แล้วเราทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์อยู่ในตัว แต่ความคิดสร้างสรรค์ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเดี่ยว ๆ แต่ต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ โดยมีดังนี้ การคิดแบบแตกต่างภายใต้ข้อจำกัดเพื่อสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ๆ การคิดแบบเชื่อมโยงผสมผสาน ความสามารถในการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ การคิดนอกกรอบ การแก้ไขปัญหา ความอยากรู้อยากเห็น ความกล้าในการทำสิ่งใหม่ การทดลองและการรวบรวมข้อมูล สิ่งเหล่านี้ยังเป็นกระบวนการที่นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ และเป็นชุดความคิดที่นำไปปรับใช้ มุ่งไปสู่การผลักดันความคิดสร้างสรรค์
2.มุ่งเน้นการเติบโตและการปรับปรุงมากกว่าความสำเร็จ
ความคิดสร้างสรรค์ไม่ใช่พรสวรรค์ที่ติดตัวมาแต่กำเนิด สำคัญคือต้องมุ่งเน้นการพัฒนาและเติบโตในวิธีคิดจึงไม่ควรเปรียบเทียบกระบวนการสร้างสรรค์ของใคร ควรให้นักเรียนได้ตรวจสอบการเติบโตของตัวเอง และครูเองควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แก้ไขและส่งงานเพื่อเรียนรู้และให้อิสระต่อความผิดพลาด รวมถึงช่วยส่งเสริมวิธีการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน เช่น ช่วยให้นักเรียนสร้างแผนผังแนวคิดนำไปสู่การคิดเชื่อมโยง ไม่ยึดติดกับคำตอบที่ถูกต้องส่งเสริมให้นักเรียนได้คิดนอกกรอบบ้าง
3.ส่งเสริมให้นักเรียนประเมินตนเอง
สิ่งหนึ่งที่อาจจะทำให้ความคิดสร้างสรรค์ไม่ประสบความสำเร็จคือ นักเรียนอาจจะกังวลกับการประเมินภายนอกมากกว่าการสะท้อนในตนเอง สิ่งที่ครูจะช่วยนักเรียนได้คือครูควรเน้นที่กระบวนการสร้างสรรค์และให้คำแนะนำแทนการให้คะแนน เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการนั้น และจะได้ผลก็ต่อเมื่อนักเรียนได้มีส่วนร่วมในการประเมินตนเองเพื่อให้นักเรียนเป็นเจ้าของกระบวนการนั้น การประเมินตนเองอาจไม่จำเป็นต้องเป็นทางการเสมอไป เช่นให้นักเรียนได้บรรยายเกี่ยวกับกระบวนการสร้างสรรค์ของตนเอง หรือได้บันทึกกระบวนการสร้างสรรค์ของตนในรูปแบบวิดีโอ
คุณครูมีบทบาทสำคัญในการเป็นแบบอย่างของความคิดสร้างสรรค์ เป็นแบบอย่างของพฤติกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ไม่เพียงแต่เป็นผู้ให้คุณค่ากับพฤติกรรมที่สร้างสรรค์การประเมินความคิดสร้างสรรค์เท่านั้น แต่ยังพิ่มศักยภาพความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนได้อีกด้วย และความคิดสร้างสรรค์อาจพัฒนาได้ดีที่สุดผ่านกลยุทธ์การเรียนการสอนแบบสร้างสรรค์ในชีวิตประจำวัน
อ้างอิง