ใคร ๆ ก็ฟัง Podcast ถ้า “การฟัง” สำคัญขนาดนั้นนี้แล้ว “การอ่าน” ยังจำเป็นอยู่ไหม

A A
Oct 27, 2023
Oct 27, 2023
A A

 

ใคร ๆ ก็ฟัง Podcast ถ้า “การฟัง” สำคัญขนาดนั้นนี้แล้ว “การอ่าน” ยังจำเป็นอยู่ไหม

 

 

“God gave us two ears but only one mouth”

“พระเจ้าประทานหูมาให้สองข้าง แต่ประทานปากมาเพียงปากเดียว”

สุภาษิตเชิงปรัชญาในภาษาอังกฤษที่ทำให้เราเห็นสัจธรรมที่ว่าธรรมชาติสร้างค์มนุษย์ให้ฟังคนอื่นมากเป็นสองเท่าของการพูด

ในขณะที่ปัจจุบัน ทุกคนต่างมีเรื่องราวของตัวเองที่อยากจะพูด โซเชียลมีเดียทำให้เราติดต่อสื่อสารกันง่ายขึ้น ทำให้ทุกคนมีพื้นที่พูด มีพื้นที่แสดงความคิดเห็นของตัวเองออกมา

และเมื่อมีคนพูดก็ต้องมีคนฟัง เรื่องนี้จึงทำให้เรารู้จักกับวัฒนธรรม “Podcast”

 

Podcast คืออะไร? มาทำความรู้จักกันก่อน

 

Podcast คือรายการเสียงที่เผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์ ด้วยวิธีการออกมาเล่าเรื่องต่าง ๆ หรืออาจเป็นการให้สัมภาษณ์ที่เปรียบเสมือนรายการวิทยุ แต่เป็นคอนเทนต์ที่หลากหลาย ผู้ฟังสามารถเลือกฟังคอนเทนต์แบบเฉพาะเจาะจงได้ ตอบโจทย์ผู้ฟังในยุคสมัยนี้ ซึ่งจุดกำเนิดของสิ่งนี้มีมาตั้งแต่ปี 2004 โดย Adam Kerry วีเจช่อง MTV ได้เริ่มอัดคลิปเสียง จัดรายการเกี่ยวกับประเด็นข่าวต่าง ๆ ในแต่ละวัน ลงบนโลกอินเทอร์เน็ต ต่อมา Ben Hammerly แห่งสำนักข่าว The Guardian ได้คิดค้นคำที่ใช้เรียกแพลตฟอร์มนี้ โดยรวมคำว่า “iPod” ผลิตภัณฑ์ฟังเพลงของ บริษัท Apple และ “Broadcast” ที่แปลว่าออกอากาศ เข้าไว้ด้วยกัน

โดยสิ่งที่ทำให้ Podcast น่าสนใจ คือ ในช่วงปีที่ผ่านมารายงาน Culture Next โดย Spotify กล่าวว่า ผู้ฟังพอดแคสต์โดยเฉลี่ยในกลุ่ม Gen Z ในสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น 62% บน Spotify ระหว่างไตรมาส 1 ปี 2022 และปีก่อนหน้า ในส่วนหนึ่งของเนื้อหาระบุว่า “สำหรับ Gen Z พอดแคสต์ทำหน้าที่เป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับการประมวลผลความรู้สึกของพวกเขา ไม่ว่าพวกเขาจะรู้สึกอ่อนแอเกินกว่าจะพูดออกมาหรือยังคงคิดทบทวนคำที่เหมาะสมเพื่ออธิบายสิ่งที่พวกเขากำลังรู้สึกอยู่ พอดแคสต์จะเป็น Judgment-free zone สำหรับพวกเขา” รายงานกล่าว “พอดแคสต์ยังได้กลายเป็นพื้นที่สำหรับ Gen Z ในการผ่านปัญหาที่ซับซ้อนที่สุดในชีวิตอีกด้วย”

การวิจัยพบว่ามากกว่าครึ่งของชาวอเมริกันอายุ 18 ถึง 24 ปี กล่าวว่าพวกเขาหันไปฟังพอดแคสต์เพื่อหาคำตอบสำหรับเรื่องส่วนตัวหรือคำถามที่ยาก ๆ ก่อนที่จะพูดคุยกับครอบครัวของพวกเขา และ 62% บอกว่าพวกเขาฟังพอดแคสต์ เพื่อจะได้หยิบยกประเด็นต่าง ๆ ไปพูดคุยกับเพื่อน ๆ

นอกจากนี้ Spotify ยังแสดงแนวโน้มว่าโรคระบาดส่งผลให้ประเภทพอดแคสต์ “หมวดสุขภาพจิต” กลายเป็นที่นิยมไปทั่วโลกของหมู่ผู้ใช้ Gen Z โดยระบุว่ามีจำนวนการสตรีมเพิ่มขึ้น 54% ในหมู่ผู้ฟัง Gen Z ในสหรัฐอเมริกาในไตรมาสที่ 1 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และเมื่อพิจารณาจากข้อมูลยังแสดงให้เห็นว่า Gen Z ในสหรัฐอเมริกามีแนวโน้มว่าพวกเขามี “ภาวะความเครียด” มากกว่าคนรุ่นก่อนๆ

อีกหนึ่งเหตุผลที่คาดการณ์ว่าทำให้พอดแคสต์ครองใจชาว Gen Z คือความรู้สึกเชื่อมโยงระหว่าง Audience และ Creator จากรายงาน Culture Next โดย Spotify แสดงสถิติให้เห็นว่า 66% ของผู้ฟัง Gen Z เชื่อว่าเสียงช่วยให้พวกเขารู้สึกโดดเดี่ยวน้อยลงอีกด้วย

ทำไมเราถึงบอกว่ามีคนพูดแต่ไม่มีคนฟัง ทั้ง ๆ ที่ดูจากสถิติตัวเลขการรับชมสูงขนาดนี้

สถิติล่าสุดของ Podcast ได้เผยตัวเลขที่น่าตกใจ นั่นคือ ในช่วงเวลาเพียง 2 ปีมานี้ กลับมีจำนวนของรายการ Podcast เกิดใหม่ลดลงกว่า 80% เหตุการณ์นี้เป็นสัญญาณอันตรายของ Podcast? หรือจริง ๆ แล้วอาจจะไม่มีอะไรเลยก็ได้ หากอ้างอิงตัวเลขจาก Listen Note ซึ่งเก็บข้อมูลของ Podcast จากทั่วโลก ได้เปิดเผยตัวเลขของ Podcast รายการใหม่ที่ลดลงเรื่อย ๆ ไล่จากปี 2020 ที่เคยพีคสุดด้วยรายการเกิดใหม่ 1,109,000 รายการ ก่อนจะลดลงมาในปี 2021 เหลือ 729,000 รายการ จนถึงในปี 2022 ที่เหลือเพียง 219,000 รายการเท่านั้น และไม่ใช่เพียงฝั่งผู้ผลิตเท่านั้น เพราะในฝั่งของผู้ฟังก็ลดลงด้วยเช่นกัน โดยอ้างอิงจากผลสำรวจของ Infinite Dial ที่เก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ฟังสหรัฐ พบว่าจากเดิมที่ยอดผู้ฟังของ Podcast เติบโตต่อเนื่อง และพีคสุดในปี 2021 ที่มียอดผู้ฟังถึง 41% ในเดือนก่อนหน้า แต่ในปี 2022 ตัวเลขนี้กลับตกลงมาเหลือ 38%

จุดเปลี่ยนสำคัญที่เห็นได้ชัดที่สุดจากตัวเลขเหล่านี้คือ ทั้งฝั่งผู้ฟังและผู้ผลิต Podcast ที่เติบโตขึ้นสุดขีดในช่วงปี 2020-2021 นั้น มีเหตุผลมาจากโรคระบาด และส่งผลให้คนที่กักตัวอยู่บ้านได้ใช้เวลาว่างเพื่อเริ่มต้นทำ Podcast รวมถึงการเปิด Podcast ไว้เป็นเพื่อนยามเหงา กลับกันในปี 2022 ซึ่งมาตรการล็อคดาวน์เริ่มผ่อนคลาย คนจึงออกไปกิจกรรมอื่น ๆ มากขึ้น นั่นก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ความนิยมของ Podcast น้อยลงตามไปด้วย ”

 

 

Benefits of Listening to Podcast

ชื่อภาพ : Benefits of Listening to Podcast

 

 

จริง ๆ เราสามารถนิยาม Podcast ว่า “หนังสือสะดวกฟัง” ก็ได้

 

เพราะท่ามกลางข้อมูลที่มีเยอะแยะมากมายในทุกวันนี้กลับมีคนที่มาคัดกรองและย่อยข้อมูลให้เราฟังอย่างง่าย ๆ โดยที่เราไม่ต้องเสียเวลาอ่าน หรือดูวิดีโอเอง อีกทั้งยังสามารถฟังขณะที่ทำกิจกรรมอื่นไปด้วย หรือโหลดเก็บไว้ฟังทีหลัง ที่ไหน เมื่อไรก็ได้

ซึ่งการฟัง Podcast เป็นการฟังในลักษณะ Passive คือการฟังแบบตั้งใจฟังจริง ๆ โดยไม่ต้องโต้ตอบอะไร ซึ่งเป็นหนึ่งในสกิลที่มีประโยชน์ไม่แพ้การฟังแบบ Active และเป็นสกิลที่หายากได้มากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน การเป็นนักสนทนาที่ดีจริง ๆ แล้วควรเริ่มจากการเป็นผู้ฟังที่ดี เพราะใคร ๆ ก็ชอบการสนทนากับคนที่มีอัธยาศัย รับฟัง และเข้าอกเข้าใจผู้อื่น

 

ถ้า “การฟัง” สำคัญขนาดนี้แล้ว “การอ่าน” ยังจำเป็นอยู่ไหม

คนส่วนใหญ่มักจะมีข้ออ้างว่า “ไม่มีเวลา” อ่านหนังสือ เพราะต้องเอาเวลาไปทำนู่นนั่นนี่สารพัด ทำให้หลายคนหันหลังให้กับการรับสารด้วยวิธีการอ่านแล้วหันไปรับสารด้วยวิธีการฟังแทน เนื่องจากในระหว่างที่เราฟัง เราก็สามารถทำกิจกรรมอื่น ๆ ไปด้วยได้ ไม่ต้องเสียเวลาเพ่งสายตาจดจ่ออยู่กับหนังสือเพียงอย่างเดียว ทำให้คนยุคใหม่เริ่มที่จะรับสารผ่านการฟังหรือดูพวกคลิปวิดีโอสรุปสั้น ๆ กันมากขึ้น ซึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามันรับข้อมูลได้สะดวกกว่าจริง ๆ และท้ายที่สุด มันก็ทำให้เราได้รับทราบข้อมูลเหมือนกัน ดังนั้น ไม่จำเป็นต้องอ่าน เราก็รู้ข้อมูลได้

ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการรับสารด้วยการฟังหรือการอ่าน สุดท้ายเราก็ได้รับสารนั้น ๆ มาอยู่ดี เพราะการฟังก็ทำให้เราสามารถรับรู้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพเทียบเท่าการอ่าน จากงานวิจัยจาก Gallant Lab มหาวิทยาลัย University of California ที่พบว่าถ้าข้อมูลมีเนื้อหาเดียวกัน สมองของเราสามารถรับรู้ข้อมูลจากการอ่านและการฟังได้ไม่ต่างกัน เพราะฉะนั้นจะฟังหรือจะอ่านก็คงไม่ต่างกัน แต่เราจะสามารถทิ้งการอ่านหนังสือไปเลย แล้วเลือกที่จะฟังเอาอย่างเดียวเลยได้หรือไม่

บ่อยครั้งที่การอ่านและการฟัง มีกระบวนการต่างกัน มันจึงมีผลต่อความทรงจำเราต่างกันไปด้วย การรับสารผ่านการอ่าน เราจะอ่านได้รู้เรื่องและเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง เราต้องใช้สมาธิในการจดจ่อค่อนข้างมาก ในระหว่างที่ตาเห็นตัวอักษร สมองส่วนหนึ่งจะถูกใช้ไปกับการอ่านคำที่ถูกร้อยเรียงเป็นรูปประโยคยาว ๆ สมองอีกส่วนจะพยายามถอดตัวอักษรที่เป็นรูปประโยคยาว ๆ นั้นให้ออกมาเป็นภาพเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ทำให้ระหว่างนั้น สมองจะเริ่มจดจำข้อมูลต่าง ๆ ที่ตาเห็นและได้ประมวลผลตามกระบวนการดังกล่าว

สุดท้ายแล้วการฟังไม่ใช่แค่การได้ยินด้วยหู แต่เป็นการรับสารด้วยความเข้าใจ และหัวใจที่เปิดกว้าง เราไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยทั้งหมดกับสิ่งที่ผู้พูดคิด แต่ Empathetic Listening คือการพยายามทำความเข้าใจมุมมองความคิดของผู้พูดเสมือนการพาตัวเราเองให้เข้าไปอยู่ในสถานการณ์เดียวกับเขา ให้ถามตัวเองว่า “ถ้าสิ่งนั้นเกิดขึ้นกับเราจะรู้สึกอย่างไร” แล้วเราจะตอบสนองสิ่งนั้นได้ดียิ่งขึ้น

 

อ้างอิง

https://www.vastsolution.com/resources/the-benefits-of-listening-to-podcasts

https://elearningindustry.com/what-are-the-benefits-of-using-podcasts-for-elearning

https://time.com/5388681/audiobooks-reading-books/

Tag

Share

Tag

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS