คุณคิดว่าตัวเองโกหกได้ดีแค่ไหน ?
กำลังจะออกจากบ้านแล้ว…. อีก 5 นาทีถึงละ….
ตัวอย่างประโยคที่แสนคุ้นชินแต่ก็ยังคงทำให้เราหน้านิ่วคิ้วขมวดได้เช่นกัน เมื่อรู้ทั้งรู้ว่าเจ้าของประโยคเหล่านั้นกับสื่อสารบางอย่างที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “โกหก”
หรือแม้แต่ไม่ชอบทรงผมใหม่ของใครสักคนอย่างมาก เราส่วนใหญ่ก็คงจะไม่มีใครพูดออกมา เพราะเรารู้ว่าการพูดความจริงออกมาอาจจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี เหมือนเป็นการเปิดประตูสู่ Toxic Relationship อย่างเต็มรูปแบบและแน่นอนว่าการโกหกไม่ใช่เรื่องที่ดีแต่คนสมัยนี้มักจะคิดว่า “โกหกนิดหน่อยไม่เห็นเป็นอะไรเลย”
คำถามต่อมาคือแล้วคนสมัยนี้ที่ว่าคือใครละ?
ถึงแม้เราจะบอกว่ากับตัวเองว่าเราไม่ใช่คนประเภทนั้นก็ตาม เพราะสังคมจะมีความเชื่อเรื่องนี้ไปในทิศทางเดียวกันว่า การโกหกทำให้เราลดทอนความน่าเชื่อถือในตัวเราลงไป แต่คุณรู้อะไรไหม มนุษย์เราโกหกบ่อยกว่ามากกว่าที่คิด
1 ใน 3 ของประชากรโลกมีการโกหกเป็นกิจจะลักษณะ จากการสำรวจของนักจิตวิทยาชื่อดังอย่าง Dr. Richard Wiseman โดยเนื้อหาในงานวิจัยนี้ยังบอกเราอีกว่าเวลาที่คนเราเริ่มพูดโกหก สมองส่วนรับรู้ความทรงจำด้านอารมณ์จะกระตุกต่อมความรู้สึกไม่สบายใจขึ้นมา นักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สมองให้ความเห็นเรื่องนี้ไว้ว่า หากเราโกหกบ่อย ๆ จะทำให้สมองของเราจะเคยชินจนกระทั่งเลิกรู้สึกผิดไปเอง เราเลยกลายเป็นคนที่ขี้โกหกจนติดเป็นนิสัย และสามารถโกหกง่าย ๆ ได้กับทุกเรื่อง

ภาพประกอบบทความจาก : skepticon.org
เรามักจะใช้คำว่า “เจตนาดี” เพื่อหาความชอบธรรมให้กับคำโกหกอยู่เสมอ
ทุกคนต่างเคยเอ่ยคำโกหกเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการพูดเพื่อถนอมน้ำใจก็ตาม บอกว่าไม่ว่างทั้งที่ไม่อยากไป บอกว่าชุดที่เพื่อนใส่มาสวยแทบตายแต่ความเป็นจริงคือตั้งแต่หัวจรดเท้าไม่มีอะไรเข้ากันเลย และเราจะอ้างความหวังดีมากล่อมสมองเราเสมอ เป็นคำโกหกสีขาวเพราะไม่อยากให้อีกฝ่ายปวดใจกับความเป็นจริง แต่เราจะรู้ได้ไงว่าบทสนทนาหน้าลิฟต์ในเช้าวันทำงานมีคำโกหกปะปนอยู่รึเปล่า
เรามักจะคิดว่าเราจับโกหกคนอื่นเก่ง แต่ความจริงแล้วเรายังเก่งไม่เท่า…นักโทษ
จากการทดลองของ Dr. Richard Wiseman นักจิตวิทยาชื่อดังทำการสุ่มคนจากหลากหลายอาชีพ เข้ามาในห้องทดลองครั้งละ 2 คน เปิดวิดีโอที่มีคนคนหนึ่งพูดโกหก แล้วก็มีคนอีกคนหนึ่งพูดความจริง แล้วถามผู้เข้าร่วมการทดลองว่า ใครพูดความจริง ใครพูดโกหก ผลการทดลองพบว่าคนที่ตอบถูกเพียงราว 50% เท่านั้นถึงแม้กลุ่มอาชีพจะรวมไปถึงผู้ใช้อำนาจกฎหมายอย่าง ทนายความ ตำรวจ ผู้พิพากษาก็ตาม แต่กลุ่มเดียวที่ตอบถูกมากที่สุด คือ..นักโทษ
คนบางคนก็จับโกหกคนอื่นไม่เก่ง
มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่พึ่งพาการมองเห็นเป็นหลัก สมองหลายส่วนของเรามีการประมวลผลการจากมองเห็น จึงเป็นเรื่องอัตโนมัติที่จะใช้ตาเพื่อมองหาสัญญาณต่าง ๆ เมื่อต้องจับโกหกใครสักคน
ขยับตัวไหมตอนที่นั่ง ท่าทางพิรุธอะไรหรือเปล่า สีหน้าเป็นอย่างไร ?
คนเราสามารถควบคุมอากัปกิริยาท่าทางส่วนใหญ่ได้ ทำให้คนที่โกหกเก่งรู้ว่าคนอื่นกำลังพยายามจะจับผิดพวกเขาอย่างไรบ้าง แต่สัญญาณด้านคำพูดเป็นปัจจัยที่ควบคุมได้ยากกว่า หากคุณอยากพิสูจน์ว่าตัวเองจับโกหกคนอื่นเก่งแค่ไหน ลองฟังอย่างตั้งใจ และมองหารูปแบบการพูดของคนคนนั้นก็เป็นการเริ่มต้นที่ดี
คนโกหกมักจะพูดน้อย ใช้เวลาในการตอบคำถามนาน และคนกลุ่มนี้้มักจะไม่เอาตัวเองเข้าไปยุ่งเกี่ยวทางอารมณ์ ดังนั้นเรามักจะไม่ได้ยินประโยคการแสดงตัวตนอย่างคำว่า “ฉัน” “เรา” “ของฉัน” “ของเรา”
ตัว Q เป็นเหตุ สังเกตได้
คนบางคนมีทักษะโกหกเก่งกว่าคนอื่นแต่ Dr. Richard Wiseman สามารถทดสอบเรื่องได้เพียงแค่ 5 วินาทีเท่านั้นโดยการเขียนตัวอักษรภาษาอังกฤษ “Q”
โดยให้ใช้นิ้วชี้ของมือข้างที่ถนัดวาดตัวคิวลงบนหน้าผากของตัวเอง โจทย์ทดสอบจิตวิทยาว่าคุณกำลังเขียนเพื่อให้คนที่มองมาที่หน้าผากคุณอ่านได้หรือเขียนเพื่อให้ตัวเองอ่านได้
ผลสรุปทฤษฎีนี้บอกว่า หากคุณวาดหางตัวคิวไปที่ตาซ้าย เพื่อให้คนที่หันหน้ามาทางคุณอ่านได้ คุณมักจะเป็นคนที่คิดว่า ช่างวางแผน คอยคิดเสมอว่าคนอื่นจะมองคุณอย่างไร คุณจึงมักจะเป็นนักโกหกที่เก่ง แต่ถ้าคุณเขียนหางตัวคิวไปทางตาขวา คุณกำลังมองโลกจากมุมมองของตัวเอง คุณมักจะมีความซื่อสัตย์ต่อความรู้สึกมากกว่า
ยิ่งโตขึ้นมากเท่าไหร่สกิลการโกหกของคนเรายิ่งซับซ้อนมากขึ้น แต่สุดท้ายแล้วถึงความสบายใจ และความถูกต้องอาจไม่ได้ร่วมทางกันเสมอไป ไม่ว่าจะมีคำโกหกในนั้นหรือไม่ แต่บทสนทนาที่ดีมักอยู่บนพื้นฐานของวิธีการสื่อสารที่ดีเพื่อรักษาให้ความสัมพันธ์ที่ดียังคงไปเดินต่อได้เช่นกัน
แล้วคุณล่ะเป็นนักโกหกที่ดีรึเปล่า ?
อ้างอิง
https://on.today.com/3xX6w0i
http://www.richardwiseman.com/quirkology/new/USA/Experiment_lying.shtml