เรายังเป็นเราอยู่ไหม ? ในวันที่เรียนภาษาอื่น

A A
Nov 4, 2023
Nov 4, 2023
A A

 

เรายังเป็นเราอยู่ไหม ? ในวันที่เรียนภาษาอื่น

 

 

“มนุษย์ตกอยู่ใต้อิทธิพลของภาษา

เพราะมนุษย์ไม่ได้คำนึงว่า ภาษาเป็นเพียงระบบสัญลักษณ์ที่มนุษย์ใช้แทนสิ่งต่าง ๆ เท่านั้น”

Edward Sapir (1884-1939)

 

เมื่อเราพูดถึงอิทธิพลของภาษาที่มีต่อความคิดของคนเรา ตามทฤษฎี “Sapir-Whorf Hypothesis”  ของ Edward Sapir นักภาษาศาสตร์ชื่อดังชาวอเมริกา ซึ่งเป็นแนวคิดนี้มานานตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ในยุโรป โดยตั้งหลักการไว้ว่า ภาษาเป็นตัวชี้นำความคิดของคนเรา คนเราไม่ได้มีชีวิตอยู่อย่างอิสระเสรี แต่เรามีชีวิตอยู่ภายใต่อิทธิพลของภาษาและสังคม  เมื่อภาษาของเปลี่ยนไปในลักษณะไหน คนก็เปลี่ยนตามไปตามนั้น

 

โลกใบนี้มีมากกว่า 5,000 ภาษา

 

ซึ่งแต่ละภาษาก็จะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันออกไป เสียง ศัพท์ โครงสร้างประโยค รวมไปภูมิหลังทางวัฒนธรรมของภาษานั้น ๆ ด้วย ซึ่งแน่นอนว่าอัตลักษณ์ของแต่ละภาษา จะสะท้อนตัวตนของเจ้าของภาษานั้นด้วย 

 

Harumi Murakami นักเขียนชื่อดังรางวัลโนเบลชาวญี่ปุ่น กล่าวไว้ว่า “การเรียนรู้ภาษาอื่นก็เป็นเหมือนอีกคนหนึ่ง” โดยคำกล่าวนี้ชี้ให้เห็นว่า ภาษาสร้างความเป็นจริงของเราโดยมีอิทธิพลต่อวิธีที่เราตีความสิ่งต่าง ๆ 

 

ถ้าถามว่าทำไมภาษาถึงมีพลังในการสร้างบุคลิกให้กับผู้พูดได้มากขนาดนี้ ก็คงต้องย้อนไปถึงต้นตอภาษาศาสตร์และระบบภาษา โดยแต่ละภาษาจะมีโครงสร้าง ไวยากรณ์ ลักษณะทางภาษาที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างง่าย ๆ ภาษาไทยของเราแค่เพียงสรรพนามบุรุษที่ 1 สำหรับใช้เรียกแทนตนเองได้สารพัดตั้งแต่ ฉัน ผม หนู เรา ข้า กู ข้าพเจ้า ลูกช้าง หม่อมฉัน และอีกมากมายที่แต่ละคนสามารถนึกออกตามกรอบประสบการณ์และละครหลังข่าวที่ชอบดู ซึ่งความน่าสนใจ คือ แต่ละคำมีการแบ่งลำดับจุดประสงค์ของการใช้แตกต่างกันอย่างชัดเจน ถ้าคุยกันในลักษณะทางการก็ต้องใช้ ดิฉัน กระผม อะไรประมาณนี้ แต่ถ้าคุยกับเพื่อนสนิท คำว่า ดิฉัน กระผม ก็อาจจะกลายเป็น กู ข้า แทน ซึ่งในเชิงภาษาศาสตร์ตรงนี้ทำให้เราเห็นได้ว่าลักษณะของภาษาไทยมีการเน้นเรื่องของความสัมพันธ์ ให้ความเคารพ ทำให้การใช้ภาษาไทยนั้นจะสื่อบุคลิกของผู้พูดได้อย่างค่อนข้างชัดเจน เวลาพูดเราจึงต้องมีการใช้น้ำเสียงนอบน้อม หรือพูดเลี่ยงๆ อ้อมๆ ยิ้มเข้าไว้จนติดเป็นนิสัย เหมือนที่ชาวต่างชาตินิยมเรียกเราว่า “สยามเมืองยิ้ม”

 

เปรียบเทียบกับภาษาอังกฤษในสรรพนามบุรุษที่ 1 เหมือนกัน แต่เขามีเพียงตัวเดียวคือ I (ไอ) ซึ่งตัว I นี้ไม่ได้แปลได้แค่คำว่า “ฉัน” เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่สามารถแปลได้หลายอย่างไมว่าจะเป็น ฉัน เรา พวกเรา พวกกู กู แทนตัวของแม่ขณะพูดกับลูก แทนตัวของครูขณะพูดกับนักเรียน โดยเปลี่ยนไปตามบริบทที่พูด ณ ขณะนั้น เราจึงเห็นได้ว่าความสุภาพไม่ใช่เรื่องใหญ่ในเชิงภาษาศาสตร์ของภาษาอังกฤษ แต่จะเน้นภาพของเสรีภาพ ความเท่าเทียมมากกว่า และระบบภาษาก็ส่งผลต่อลักษณะนิสัย วัฒนธรรมทางความคิดด้วยเช่นกัน อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา ประเทศแรก ๆ ที่เป็นแม่บทต้นแบบสิทธิเสรีภาพ พลเมืองให้ความสำคัญกับความเท่าเทียม และยอมรับความเห็นต่าง แม้การชุมนุมประท้วงเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนสามารถทำได้อย่างอิสระโดยไม่ผิดกฎหมาย 

 

 

ภาษา

ชื่อภาพ : Language change personality

 

 

เรื่องพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมของภาษานั้น ๆ ก็มีส่วน 

 

อย่างภาษาจีน ทุกครั้งที่เราได้ยินคนจีนพูดคุยกัน เราจะรู้สึกว่าเขานั้นคุยกันเสียงดัง ถูกต้องไหมครับ ?  ทำไมให้เราอดสงสัยไม่ได้ว่าที่เขาพูดกันนั้นไม่ได้ยินจริง ๆ หรือเปล่า แต่แท้จริงแล้วมันเป็นเรื่องของจำนวนมประชากรมากกว่า การที่ประชากรชาวจีนมีจำนวนมาก และส่วนใหญ่จะอยู่รวมกันหลายๆรุ่นเป็นครอบครัวใหญ่ เมื่อเป็นครอบครัวใหญ่ก็ส่งผลให้ระดับการใช้เสียงของคนจีนนั้นต้องดังมากยิ่งขึ้น ฉะนั้นเวลาได้ยินคนจีนพูดเสียงดังกันในที่สาธารณะ ให้นึกในใจไว้เสมอว่าเขาไม่ได้มีเจตนารบกวนใคร เขาแค่ชินกับการคุยกันด้วยน้ำเสียงแบบนี้

จากงานวิจัยจาก University of Connecticut สหรัฐอเมริกา ตั้งสมมติฐานว่าประสบการณ์ที่เรามีต่อวัฒนธรรมประเทศหรือภาษานั้น ๆ จะส่งผลต่อบุคลิกและความประพฤติของเราตอนพูดภาษานั้นได้ 

Margarita สาวครึ่งรัสเซีย-อเมริกา ปัจจุบันมีสถานะเป็นผู้ลี้ภัย บอกว่าระหว่างที่พูดภาษารัสเซีย เธอรู้สึกเป็นคนเข่งขรึม ในขณะที่เปลี่ยนไปสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ เธอกลับรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคมมากขึ้น มีความกล้าแสดงออกมากขึ้น 

บบอกว่าเธอรู้สึกเป็นคนเงียบขรึมมากขึ้นพอพูดภาษารัสเซีย แต่จะรู้สึกเข้าสังคมได้ง่ายและยังกล้าแสดงออกมากขึ้น เมื่อเธอใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร

ซึ่งทฤษฎีเหล่านี้ก็เกิดขึ้นกับตัวนักจิตวิทยาเองด้วยเช่นกัน 

“When I’m around Anglo-Americans, I find myself awkward and unable to choose my words quickly enough … When I’m amongst Latinos/Spanish-speakers, I don’t feel shy at all. I’m witty, friendly, and … I become very outgoing.”

คำอธิบายจากนักจิตวิทยาประจำ Neuchâtel University, Switzerland เขียนบอกไว้ว่า

“ขณะที่อยู่ท่ามกลางประชาชนอเมริกัน ผมค่อนข้างจะพูดช้า ๆ เพราะคิดคำได้ไม่เร็วพอ แต่ได้พูดภาษาสเปนหรือลาติน ผมพูดได้คล่องอย่างไม่อายเลย” 

และเขายังขยายความเพิ่มต่อในภายหลังอีกว่า ระหว่างพูดภาษาอังกฤษ ถึงแม้จะช้าก็จริง เพราะต้องพูดไปคิดคำไปด้วย แต่สิ่งหนึ่งที่เขารู้สึกว่าเปลี่ยนไปเลย คือ เสียงผมจะอ่อนโยน สุภาพมาก ตั้งใจฟัง และเคารพคู่สนทนามากขึ้น แม้จะมีความคิดเห็นต่างกันก็ตาม จะมีคำขึ้นต้นด้วย ‘ขอโทษครับ’ และ ‘กรุณาด้วยครับ’ เสมอ

 

เราจะเห็นได้ว่า ทุกการสื่อสาร ทุกบทสนทนา มักจะมีเศษเสี้ยวของวัฒนธรรมติดไปกับภาษานั้นด้วยเสมอ 

วันนี้ “ภาษา” อาจไม่ได้ทำหน้าที่แค่สื่อสารเพียงอย่างเดียว แต่เป็นวัตถุดิบที่เชื่อมโลกทั้งใบเข้าหากัน มีอิทธิพลต่อแนวทางการคิด การมองโลก การมองมนุษย์ด้วยกันเอง 

และแน่นอนว่า แม้จะรู้ภาษามากขึ้น เราก็ยังคงเป็นเราเหมือนเดิมนั่นแหละ แต่เป็นเราในเวอร์ชันที่รู้จักความเป็นมนุษย์มากขึ้นนั่นเอง 

 

อ้างอิง

https://atlasls.com/languages-change-personality/

https://www.psychologytoday.com/intl/blog/life-bilingual/201111/change-language-change-personality

https://qz.com/925630/feel-more-fun-in-french-your-personality-can-change-depending-on-the-language-you-speak

 

Share

Tag

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS