จิตวิทยาสีกับการรับรู้

A A
Dec 1, 2023
Dec 1, 2023
A A

 

จิตวิทยาสีกับการรับรู้

 

 

  • จากงานวิจัยพบว่าผู้คนตัดสินใจหรือมีปฎิสัมพันธ์ภายใน 90 วินาที สีมีผลต่อการตัดสินใจประมาณ 62-90 เปอร์เซ็นต์ การเลือกใช้สีจึงมีผลต่อความรู้สึกทั้งเชิงบวกและเชิงลบ
  • ในทศวรรษ 1980 ผู้คุมเรือนจำได้ใช้จิตวิทยาสีทาสีห้องขังด้วยสีชมพูเพื่อให้นักโทษชายรู้สึกสงบขึ้น 
  • นอกจากจิตวิทยาสีด้านความรู้สึกแล้วสีก็ถูกนำมาใช้ในการเรียนรู้ไม่ต่างกัน  นักจิตวิทยาต่างศึกษาผล กระทบผลต่อสีที่มีต่อผู้เรียนสีอย่างสีเหลืองและสีส้มให้ความรู้สึกที่เป็นมิตร ดึงดูดผู้เรียนได้ส่วนสีเขียวและสีน้ำเงินให้ความรู้สึกถึงความสงบและเป็นธรรมชาติ ส่งผลให้ชื่อมโยงกับความสามารถในการประมวลผลข้อมูลและการมีสมาธิที่ดีขึ้นด้วย

 

 

   สีต่าง ๆ ส่งผลต่ออารมณ์และพฤติกรรมของเราอย่างไร เคยสังเกตไหมว่าในร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดเต็มไปด้วยสีแดง ไม่ว่าจะเป็น แมคโดนัลด์ KFC เบอร์เกอร์คิง พิซซ่าฮัท และพบจานชาม ช้อนส้อม เก้าอี้เป็นสีแดง แต่เราจะแทบไม่พบสีฟ้าเป็นสีหลักในร้านอาหารเลย เพราะสีแดงช่วยกระตุ้นความอยากอาหารได้ และสีน้ำเงินสามารถระงับความอยากอาหารได้ จากงานวิจัยพบว่าผู้คนตัดสินใจหรือมีปฏิสัมพันธ์ภายใน 90 วินาที สีมีผลต่อการตัดสินใจประมาณ 62-90 เปอร์เซ็นต์ การเลือกใช้สีจึงมีผลต่อความรู้สึกทั้งเชิงบวกและเชิงลบ

 

 

จิตวิทยาสีกับสีชมพู

 

   สีชมพูบางเฉดช่วยลดความก้าวร้าวได้ มีการใช้สีชมพูเพื่อลดความก้าวร้าวของนักโทษลงในห้องขัง แต่ในขณะเดียวการใช้สีชมพูก็ยังเป็นเรื่องละเอียดอ่อนอยู่ เพราะเป็นผลพวงที่เกิดจากทัศนคติแบบเหมารวมทางเพศว่าสีชมพูเป็นสีของเด็กผู้หญิง และสีฟ้าเหมาะกับเด็กผู้ชาย ด้านจิตวิทยาเราเชื่อมโยงสี ความเป็นผู้หญิงและทัศนคติความเหมารวมทางเพศไว้กับ ความอ่อนแอ ความเขินอาย Annmarie Adams นักประวัติศาสตร์ทางสถาปัตยกรรม กล่าวว่า  สีชมพูไม่ได้บ่งบอกถึงความเป็นผู้หญิงเสมอไป จุดเริ่มต้นของสีชมพูกลายเป็นสัญลักษณ์ของผู้หญิงเกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ก่อนหน้านั้นเป็นเรื่องปกติที่ผู้หญิงจะใส่ชุดสีน้ำเงิน หรือเด็กผู้ชายแต่งตัวด้วยสีชมพู ในช่วงเยอรมันยุคนาซี นาซีบังคับให้ชาวยิวใส่สีเหลืองเพื่อระบุตัวตน และบังคับให้เกย์ใส่สีชมพู นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สีชมพูก็ถือเป็นสีที่สงวนไว้สำหรับเด็กผู้หญิง

 

 

การใช้จิตวิทยาสีลดความก้าวร้าว

 

   ในทศวรรษ 1980 ผู้คุมเรือนจำได้ใช้จิตวิทยาสีทาสีห้องขังด้วยสีชมพูเพื่อให้นักโทษชายรู้สึกสงบขึ้น โดยผู้คุมได้รับแรงบันดาลใจมาจากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ Alexander Schuss โดยเขาอ้างว่าสีชมพูสามารถลดความแข็งทางกายภาพและความก้าวร้าวของผู้ต้องขังชายได้ในการศึกษาของ Schauss ให้ผู้ถูกทดลองมองกระดาษสีชมพูขนาดใหญ่โดยกางแขนออก จากนั้นเขาก็พยายามบังคับดันแขนของพวกเขาให้ลงซึ่งสามารถทำได้อย่างง่ายดาย แต่เมื่อทำการทดลองเดิมซ้ำด้วยกระดาษสีฟ้า ความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อต่างๆก็กลับมา สีชมพูนี้ถูกเรียกว่า Baker-Miller Pink

 

 

จิตวิทยาสีกับการเรียนรู้

ชื่อภาพ : จิตวิทยาสี

 

 

จิตวิทยาสีกับการเรียนรู้

 

   นอกจากจิตวิทยาสีด้านความรู้สึกแล้วสีก็ถูกนำมาใช้ในการเรียนรู้ไม่ต่างกัน  นักจิตวิทยาต่างศึกษาผล กระทบผลต่อสีที่มีต่อผู้เรียนสีอย่างสีเหลืองและสีส้มให้ความรู้สึกที่เป็นมิตร น่าดึงดูด และมองโลกในแง่ดี สีเหล่านี้ช่วยดึงดูดผู้เรียนได้ดี ส่วนสีเขียวและสีน้ำเงินให้ความรู้สึกถึงความสงบและเป็นธรรมชาติ ส่งผลให้เชื่อมโยงกับความสามารถในการประมวลผลข้อมูลและการมีสมาธิที่ดีขึ้นด้วย

 

   ผู้เรียนระดับประถมศึกษามักจะสนใจสีเหลือง แดง และส้มมากกว่า ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษามักจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดในสภาพแวดล้อมที่มีสีที่เย็นกว่า เช่นสีเขียว น้ำเงิน และสีม่วง สีโทนอุ่นจะเพิ่มพลังงาน ความตื่นเต้นในการเรียนรู้ และอารมณ์ การใช้สีแดง/ส้ม/สีที่สดใสมากเกินไปอาจทำให้เกิดผลตรงกันข้าม อาจทำให้เกิดความกังวล และก้าวร้าว 

 

   การใช้จิตวิทยาสีควรคำนึงถึงอายุของผู้เรียน ขนาดของพื้นที่ ความสมดุลของสี และวิชาที่กำลังสอน เช่นในพื้นที่ขนาดใหญ่อย่างโรงอาหารหรือในศูนย์การเรียนรู้สามารถรองรับสีที่สมดุลได้ 4-6 สี (ขึ้นอยู่กับสี) และการใช้สีอย่างสีเหลืองและสีส้มจะเหมาะสำหรับวิชาที่สร้างสรรค์อย่างวิชาประวัติศาสตร์ และภาษา ส่วนเฉดสีฟ้าและเขียวจะดีสำหรับคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์สีเป็นส่วนเสริมที่ยอดเยี่ยมให้กับสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ สีที่ต่างกันมีความหมายที่แตกต่างกัน ดังนั้นการเลือกพาเลทสีให้มีความหมายจึงเป็นเรื่องสำคัญ

 

   นอกจากการใช้จิตวิทยาสีในห้องแล้วในสื่ออื่น ๆ การใช้สีก็สำคัญด้วยเช่นกันหากเป้าหมายของครูคือการใช้สีเพื่อเพิ่มโฟกัส ควรไฮไลต์ข้อความด้วยสีเพื่อดึงดูดสายตา ยิ่งขจัดความซ้ำซากจำเจในเนื้อหาหลักสูตรได้มากเท่าไร ก็จะสามารถอบสนองความต้องการความหลากหลายของมนุษย์ได้ ตัวอย่างเช่น ถ้ามีสามสไลด์และจะต้องพูดคุยกันเป็นเวลาสามนาทีในแต่ละสไลด์ สไลด์หนึ่งอาจเป็นสีเขียว สไลด์ต่อไปอาจเป็นสีเทาอบอุ่น และอีกสไลด์อาจเป็นสีฟ้าอ่อนการให้ความหลากหลายแก่นักเรียนจะช่วยเพิ่มความสนใจและตอบสนองความต้องการด้านสี นอกจากนี้การใช้สีคอนทราสต์ก็สำคัญ จากงานวิจัยพบว่าดวงตาจะโฟกัสได้ดีที่สุดก็ต่อเมื่อวัตถุสองชิ้นมีความสว่างและสีที่ต่างกัน การเลือกใช้สีพื้นหลังที่ตรงข้ามกับข้อความจะช่วยเพิ่มความสะดวกในการอ่านและช่วยให้จดจำได้ง่ายขึ้น

 

อ้างอิง

https://bigthink.com/neuropsych/pink-calm/

https://www.thinkific.com/blog/how-colors-influence-learning/

https://norvanivel.com/the-power-of-color-in-a-learning-environment/

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS