วิทยาศาสตร์แห่งความตาย นาฬิกาชีวิตช่วงนาทีสุดท้ายก่อนร่างกายดับสูญ

A A
Aug 16, 2022
Aug 16, 2022
A A

วิทยาศาสตร์แห่งความตาย

นาฬิกาชีวิตช่วงนาทีสุดท้ายก่อนร่างกายดับสูญ

 

เราทุกคนล้วนต้องตาย…สัจธรรมของชีวิตที่เลี่ยงไม่ได้

และสัจธรรมนี้มีคำให้อธิบายในเชิงวิทยาศาสตร์

 

ตัวละครสำคัญของความเป็นความตายคือกลไกของสมอง

ในช่วงเวลาห้วงสุดท้ายของชีวิตมนุษย์เราไม่ได้มีเวลามานั่งคิดถึงความน่ากลัวของความตายมากขนาดนั้น เพราะสมองมีกลไกปกป้องไม่ให้เราจดจ่ออยู่กับความกลัวตาย หากมีการรับรู้ข้อมูลที่เชื่อมโยงกับความตาย สมองส่วนที่ทำหน้าที่คาดการณ์ถึงอนาคตจะหยุดทำงานทันที และจัดประเภทให้ข้อมูลเรื่องความตายนั้นกลายเป็นเรื่องของคนอื่นแทน

 

สมองของคนเข้าใกล้ความตายจะรู้สึกคล้ายความฝัน

โดยเมื่อเข้าสู่สภาวะใกล้ตาย สมองจะลดการทำงานส่วนที่ไม่สำคัญลง จนเราแทบไม่รู้สึกอะไรหรืออยู่ในภาวะคล้ายฝัน เพราะพลังงานของสมองทั้งหมดจะถูกจัดลำดับความสำคัญไปที่การหายใจเพื่อให้ร่างกายมีชีวิตรอด ส่วนอะไรที่ไม่สำคัญสมองจะลดการสั่งการซึ่งรวมไปถึงประสาทสัมผัส และความสามารถในการรับรู้ต่าง ๆ เริ่มจากการพูดและการมองเห็น จากนั้นก็จะเป็นการสัมผัสและการได้ยินตามลำดับ จนกระทั่งเมื่อร่างกายและสมองค่อยๆ หยุดทำงาน เราก็จะเริ่มเข้าสู่ภาวะสงบ ทำให้เราเห็นได้ว่าช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตไม่ได้ทรมานอย่างที่ใครคาดคิด

 

แต่วาระสุดท้ายของใครบางคน..ที่ดูเหมือนทรมาน

อาการหายใจติดขัด ลมหายใจฟืดฟาด ในทางการแพทย์เรียกอาการนี้ว่า Death Rattle เป็นชื่อเรียกของเสียงที่เกิดจากของเหลวในลำคอ อาจจะฟังแล้วเหมือนทรมานแต่ในความเป็นจริงคนใกล้ตายเหล่านั้นกลับไม่รู้สึกอะไรเลย เพราะสมองถูกถ่ายเทพลังงานไปกับสิ่งสำคัญอื่นแทนจนไม่เกิดการรับรู้การทรมานในส่วนนี้

 

อดีตทั้งหมดอาจมาปรากฏตรงหน้าก่อนลมหายใจสุดท้ายจะถูกพรากไป

Dr. Sam Parnia รองศาสตราจารย์ด้านการแพทย์ของอังกฤษแห่ง NYU Langone Medical Center ได้ทำการบันทึกภาพสมองที่กำลังจะตายเป็นครั้งแรกของโลกไว้ได้ จากการตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) เพื่อตรวจรักษาอาการชักในชายวัย 87 โดยผู้ป่วยชายรายนี้เข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน จากการลื่นล้มจนทำให้เลือดคั่งในสมอง แต่ในขณะที่กำลังบันทึกอยู่นั้น ผู้ป่วยก็หัวใจวายและเสียชีวิตไป

 

ภาพประกอบบทความวิทยาศาสตร์แห่งความตาย

 

ภาพบันทึกคลื่นสมองใบนั้นได้แสดงให้เห็นบางสิ่งที่ทำให้วิทยาศาสตร์หลังความตายใกล้ความจริงมากขึ้น โดยรายละเอียดของคลื่นสมองนั้นได้อธิบายไว้ว่าในช่วง 30 วินาทีก่อนและหลังความตายนั้น การทำงานของสมองมีลักษณะคล้ายกับเวลาฝัน การระลึกถึงความทรงจำ รวมถึงการสงบจิตนั่งสมาธิ โดยผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า สมองของคนเราอาจยังคงทำงานอยู่ในระหว่างที่กำลังจะตาย หรือแม้กระทั่งหลังจากที่ตายไปแล้ว พบว่ามี

การสั่นของประสาทประเภทต่าง ๆ เช่น คลื่นอัลฟา เบต้า เดลต้า และแกมม่า ซึ่งเป็นส่วนในการทำงานด้านความทรงจำ หรือตามภาษาที่เข้าใจง่าย คือ ชายคนนี้กำลังระลึกชาติ 

ช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตคนๆ หนึ่งจะเป็นช่วงที่อยู่ในความทรงจำของครอบครัวไปชั่วชีวิต หมั่นสร้างความทรงจำร่วมกันที่จะช่วยทำให้เรารู้สึกดีขึ้นทุกครั้งเมื่อเราขุดมันขึ้นมาเปิดดู

เรื่องความตายมีความพิศวง และยังคงเป็นเรื่องท้าทายในทางวิทยาศาสตร์ต่อไป มียังประตูอีกหลายบานที่ยังต้องเปิดออกไปค้นพบ ถึงแม้ความตายอาจดูเป็นสัจธรรมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่มีใครรู้ว่าชายผู้นี้มีคนที่รักรอทานข้าวอยู่ที่บ้าน หรือมีเค้กครบรอบวันเกิดให้รอไปเป่าอยู่หรือไม่ แต่ที่สุดแล้วลมหายใจสุดท้ายของชายผู้นี้ได้เปลี่ยนโลกวิทยาศาสตร์ไปแล้วอย่างสิ้นเชิง

“สิ่งที่เราอาจเรียนรู้จากงานวิจัยนี้คือ แม้บุคคลที่รักจะหลับตาลงและจากเราไปพักผ่อนแต่สมองของพวกเขา ก็อาจจะกำลังระลึกถึงช่วงเวลาที่ดีที่สุด ที่พวกเขาได้เจอมาทั้งชีวิตก็เป็นได้”

Dr. Sam Parnia 

 

 

อ้างอิง
https://cnn.it/3bOHcT0
https://bit.ly/3nFLqyT
https://ab.co/3IlFK6H

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS