วัยรุ่นยุคต้มยำกุ้งอยู่อย่างไร ? เมื่อวิกฤตเศรษฐกิจพรากความฝันหนุ่มสาว Y2K

A A
Dec 8, 2023
Dec 8, 2023
A A

 

วัยรุ่นยุคต้มยำกุ้งอยู่อย่างไร ? เมื่อวิกฤตเศรษฐกิจพรากความฝันหนุ่มสาว Y2K

 

   วิกฤตการณ์การเงิน 2540 หรือ ‘วิกฤตต้มยำกุ้ง’ เริ่มต้นเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ซึ่งเป็นวันที่ประเทศไทยประกาศลอยตัวค่าเงินบาท และต้องขอความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) วิกฤตครั้งนั้นส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจและสร้างความเสียหายอย่างมากต่อประเทศไทย และส่งผลไปถึงภูมิภาคอาเซียนและอีกหลายประเทศในเอเชียจนเป็นวิกฤตทางการเงินในที่สุด 

 

   ฉะนั้นเด็กมิลเลนเนียลที่เกิดในยุคนี้ ย่อมเกิดมาในช่วงเวลาที่ประเทศกำลังเผชิญกับความย่อยยับของสถาบันการเงินที่ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกเพียงชั่วข้ามคืน หลังจาก จอร์จ โซรอส เข้าโจมตีค่าเงินบาทและทำให้ฟองสบู่เศรษฐกิจ อันเกิดจากการกู้เงินต่างประเทศมาลงทุน ขณะที่รัฐบาลพล.อ ชวลิต ยงใจยุทธ ประกาศลดค่าเงินบาท ทำให้ปีนั้นค่าเงินบาทไทย ดิ่งสู่ 56 บาทต่อหนึ่งดอลลาร์สหรัฐ 

   ณ เวลานั้นพ่อแม่ของหลายคนอาจตกงานแบบกะทันหันและต้องเปลี่ยนอาชีพ ขณะที่เศรษฐกิจอยู่ในขั้นติดลบ ระบบการศึกษาเวลานั้นก็เข้าสู่ความเปลี่ยนแปลง เมื่อมีความเห็นชอบให้เปลี่ยนระบบจากเอ็นทรานซ์ มาเป็นระบบแอดมิชชันในปี 2543

   ส่วนสภาพสังคมเวลานั้น โลกกำลังเข้าสู่ความเปลี่ยนแปลง หลังจากปี 2000 หรือปี 2543 ที่คนกลัวว่าระบบคอมพิวเตอร์จะมีปัญหาจากระบบตัวเลขที่ทำเอาแตกตื่นกันไปทั้งสังคม กับ Y2K ก่อนที่ทุกคนจะก้าวข้ามปี 2000 และเริ่มศตวรรษที่ 21 โดยไม่มีใครพูดถึง Y2K อีกแต่กลับมีเสียงเตือนเบาๆ ถึงการมาของสื่อใหม่อย่างอินเทอร์เน็ต ที่ร้อนแรงขึ้นเรื่อยๆในสังคมไทย พร้อมกับเข้าซื้อเว็บไซต์ไทยจากทุนต่างประเทศ หลายเว็บไซต์ จนทำให้อาชีพ เว็บมาสเตอร์ กลายเป็นอาชีพที่หลายคนใฝ่ฝัน

 

 

Y2K

ชื่อภาพ : Lesson from Asian Financial Crisis

 

 

ทำไมวิกฤตเศรษฐกิจถึงพรากความฝันของหนุ่มสาว Y2K

 

   ก่อนที่โลกจะก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ช่วงเวลานั้นจึงเป็นเหมือนรอยต่อระหว่างยุคอนาล็อกกับยุคดิจิทัล เป็นช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความตื่นเต้น ก่อนก้าวเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ถ้าจะบอกว่า วัยรุ่นยุค Y2K เป็นวัยรุ่นที่อับโชคก็คงจะไม่ผิดนัก เพราะพวกเขาได้เห็นการรัฐประหารในบ้านตัวเองไปแล้วสามครั้งใหญ่ ๆ นับตั้งแต่รัฐประหารปี 2534 จนนำมาสู่เหตุการณ์พฤษภาทมิฬในอีกปีต่อมา โตมาอีกหน่อย พวกเขาก็เผชิญกับวิกฤตต้มยำกุ้งที่เปลี่ยนนักลงทุนหน้าใหม่กำเงินล้านกลายเป็นคนจนในพริบตาเดียว ว่ากันว่าความรุ่งโรจน์เดียวที่คนกลุ่มนี้พอจะสัมผัสได้ คือช่วงเวลาที่เศรษฐกิจรุ่งเรืองราวๆ ปี 2546 ภายหลังไทยปลดหนี้ IMF ได้จนเกิดกระแสความเชื่อมั่นและคนเริ่มกล้าใช้เงิน เพียงแค่ว่าตอนนั้นหลายคนยังเด็กและอยู่ห่างไกลจากการลงทุนหรือเก็งกำไรใดๆ เท่ากับว่าคนกลุ่มนี้เพิ่งมาสัมผัสความหมายของเสรีภาพและความเท่าเทียมในยุคที่อินเทอร์เน็ตเริ่มเฟื่องฟูเมื่อเกือบสองทศวรรษนี้เอง ในขณะที่คนคน Gen Z โตมาพร้อมการรู้เห็นว่าประเทศกำลังเข้าที่เข้าทาง

   ชาวมิลเลนเนียลหลายคน สามารถเข้าถึงการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยได้มากขึ้นก็ด้วยการกู้เงินเรียน หนี้จากการกู้เงินเพื่อไปเรียนคือหนี้ก้อนใหญ่ที่สุดในชีวิตของพวกเขา เรื่องจะซื้อบ้านเพื่อมาอยู่เองตัวคนเดียวอย่างที่รุ่นพ่อรุ่นแม่พวกเขาทำนั้นจึงแทบเป็นไปไม่ได้เลย 

 

   เราจะเห็นได้ว่าคนรุ่นมิลเลนเนียลเกิดขึ้นท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง พวกเขาคือคนที่เกิดในครอบครัวของพ่อแม่รุ่นบูมเมอร์ โตมาในยุคอินเทอร์เน็ต รับรู้ข้อมูลข่าวสารและมีทัศนคติคนละอย่างกับพ่อแม่ตัวเอง 

   ไม่ใช่เรื่องแปลก ถ้าคนสอง Generation จะเข้าใจไม่ตรงกันในหลาย ๆ เรื่อง หลาย ๆ ประเด็น นั่นก็เป็นเพราะประสบการณ์และสภาพสังคมที่เราโตมานั้นไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเรื่องเทคโนโลยี เศรษฐกิจ การเมือง หรือการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ ตัวอย่างเช่น วิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งในปี 2540 ที่มีการลอยตัวค่าเงินบาทอย่างที่เรายกคัวอย่างไป ทำให้เบบี้บูมเมอร์ที่กำลังตั้งตัวหรือมีฐานะอยู่บ้างนั้นล้มละลายและประสบวิกฤตทางการเงินกันเป็นแถบๆ แน่นอนว่าผู้ประสบภัยแต่ละคนนั้นมองวิกฤตนี้ต่างกัน ส่งผลไปถึงการเลี้ยงดูบุตร ซึ่งมักจะเป็นชาวมิลเลนเนียล ผู้ซึ่งระหว่างการเติบโตเป็นผู้ใหญ่นั้นต้องผ่านความผันผวนหลายครั้ง ส่วนหนึ่งในหลากหลายเหตุผลที่เห็นจะมีส่วนมากที่สุดก็คือ เด็กสมัยนี้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้มากกว่า ทำให้เห็นความเป็นไปได้ในโลกนี้มากกว่า จึงตั้งมาตรฐานและความคาดหวังไว้สูงกว่า รวมทั้งการตีความคำว่าความสำเร็จก็แตกต่างไปจากคนรุ่นก่อนๆ มาก ทำให้ชาวมิลเลนเนียลมักจะรู้สึกว่า สิ่งที่ตัวเองเป็นอยู่มักจะดีไม่พอ เพราะโลกข้างนอกมีคนมีความสำเร็จมากกว่าพวกเขาอีกมากมาย

   มีงานศึกษาวิจัยในสหราชอาณาจักรกล่าวว่า ชาวมิลเลนเนียล เกิดในช่วงระหว่างปี 1981-1995 จะมีค่าเฉลี่ยในการทำงานอยู่ที่ 2 ปี 9 เดือน และจนถึงเวลานี้ คนเจนนี้อยู่ในวัยทำงานมากที่สุดในโลก หากมองย้อนกลับไปอย่างที่เราบอกไปในตอนต้นนั้นว่าเขาเติบโตมาพร้อมกับช่วงเวลาที่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งส่งผลต่อมุมมองและแนวคิดของคนในเจเนอเรชันนี้ต่อการทำงาน ขณะเดียวกันในแง่ของสังคมและนวัตกรรม ยุคสมัยของพวกเขาคือการเปลี่ยนผ่านจากแอนะล็อกสู่ดิจิทัล ขณะที่สังคมเต็มไปด้วยข่าวก่อการร้าย และเปอร์เซ็นต์การหย่าร้างที่เพิ่มมากขึ้น ด้วยสภาพแวดล้อมดังกล่าว ชาวมิลเลนเนียลคือเจเนอเรชันที่คิดถึงความสมดุลในชีวิต ให้ความสำคัญกับ Work-Life balance และทำให้พวกเขาไม่ค่อยคิดที่จะทำงานที่ไหนนาน แต่ถ้าองค์กรหรือบริษัทไหนให้อิสระในการทำงานสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ พวกเขาดูจะมีความสบายใจที่ได้ร่วมงานมากกว่า

 

หลายคนอ่านมาถึงตรงนี้ก็คงจะไม่เห็นว่าวัยรุ่นยุค Y2K จะอับโชคตรงไหนเลย ดูเหมือนว่าสังคมจะขัดเกลาให้เป็นคนเก่งด้วยซ้ำไป

 

   แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าวิกฤตเหล่านี้ทำให้พวกเขาเติบโต “ยากกว่า” คนรุ่นก่อนมาก ลองนึกภาพตามว่า วิกฤตเศรษฐกิจแบบนี้แม้เป็นคนต้นทุนสูงอยู่แล้วยังล้มเลย จะนับประสาอะไรกับกับคนไร้ต้นทุน ไม่ว่าจะมีหนี้ด้วยความจำเป็น ต้องกู้เงินมาเรียน เพื่อที่จะให้ตัวเองมีมีลู่ทางทางสังคม แต่ที่แย่กว่านั้นก็คือ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม และกระทั่งเศรษฐกิจ ยิ่งทำให้เงื่อนไขต่างๆ ที่จะทำให้พวกเขาเติบโตไปอย่างมีประสิทธิภาพนั้นยากขึ้นไปอีก นับจากวิกกฤตต้มยำกุ้งที่ตรงกับวัยเรียน ยังต้องเผชิญ Hamburger crisis ในช่วงปี 2008 ที่เพิ่งจะเริ่มได้ใช้ชีวิตในโลกการทำงาน ยังไม่นับวัฒนธรรมโซเชียลมีเดียที่ผลักดันให้เราสร้างตัวตนอันซับซ้อนขึ้นมา รวมไปถึงวิกฤตสิ่งแวดล้อม เช่นภัยธรรมชาติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากน้ำมือของคนรุ่นก่อนๆ

   เรื่องนี้จะโทษเพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็คงจะไม่ถูกซะทีเดียว คนทุกช่วงวัยล้วนต้องเจอบาดแผลในแต่ละยุคอยู่แล้ว แม้ว่าบาดแผลทางใจในวัยเด็กจะมีผลเมื่อเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่….แต่ก็ไม่ใช่ว่าผู้ใหญ่ที่เคยเจอประสบการณ์เลวร้ายในวัยเด็กจะต้องกลายเป็นบุคคลที่มีปัญหาเสมอไป 

Tag

Share

Tag

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS