ทนอยู่ หรือ หย่าร้าง เมื่อทุกการตัดสินใจส่งผลต่อ “ลูก”

A A
Jun 10, 2022
Jun 10, 2022
A A

ทนอยู่ หรือ หย่าร้าง เมื่อทุกการตัดสินใจส่งผลต่อ “ลูก”

 

  • ผลการศึกษาพบว่าเด็กที่อยู่ท่ามกลางความขัดแย้งรุนแรงนั้นอาจจะแย่กว่าการเติบโตอยู่กับพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวบางครอบครัว เด็กที่เติบโตในครอบครัวที่มีความขัดแย้งสูงอาจประสบปัญหาในด้านความนับถือในตนเอง การสร้างและรักษาความสัมพันธ์ การจัดการอารมณ์ และการเชื่อใจคนอื่น
  • ความท้าทายของการหย่าร้าง คือ การประคับประคองในการเลี้ยงดูเด็ก ๆ เพื่อให้เขาเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะแน่นอนว่าการหย่าร้างย่อมส่งผลกระทบต่อเด็ก ๆ เช่นกัน
  • การลงทุนทางอารมณ์มีส่วนสำคัญในการสร้างสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นในครอบครัว การสื่อสารเชิงบวก ความอบอุ่นของพ่อแม่ อาจช่วยให้เด็กปรับตัวกับปัญหาต่าง ๆ ได้ดีขึ้นแม้กระทั่งครอบครัวที่ต้องหย่าร้างกันก็จะทำให้เขารู้สึกว่าได้รับความรัก ปลอดภัย และยังช่วยลดความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพจิตอีกด้วย

 

       เมื่อการแต่งงานไม่ใช่ตอนจบที่ Happy Ending เหมือนในเทพนิยายที่เคยได้ฟังตอนเด็ก ๆ เพราะการแต่งงานอาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของประตูบานใหม่ในชีวิตคู่เท่านั้น หลายคู่ปลายทางอาจต้องจบลงด้วยการเลิกราและเมื่อครอบครัวไม่ได้มีแค่คนสองคน “ลูก” เข้ามาเป็นปัจจัยหนึ่งในการตัดสินใจทำให้บางคู่อาจมีคำถามว่า “เราควรอยู่ด้วยกันเพื่อลูกไหม”  แต่เมื่อหากอยู่ด้วยกันแล้วความไม่เข้าใจกัน การทะเลาะเบาะแว้งกันจากชีวิตคู่ก็อาจส่งผลกระทบหลายอย่างต่อการเติบโตของเด็กทั้งความโกรธ ความขุ่นเคือง และความเจ็บปวด โดยสภาพแวดล้อมแบบนี้อาจส่งผลกระทบด้านลบต่อเด็ก ๆ เมื่อพวกเขาเติบโตไป

งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าเด็กทุกวัยตั้งแต่วัยทารกจนถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้นได้รับผลกระทบจากวิธีที่พ่อแม่เลือกที่จะจัดการกับปัญหาชีวิตคู่

การเติบโตมาในครอบครัวที่ขัดแย้ง และมีแต่ความเครียดอาจส่งผลต่อความสำเร็จในชีวิต ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่าเด็กที่อยู่ท่ามกลางความขัดแย้งรุนแรงนั้นอาจจะแย่กว่าการเติบโตอยู่กับพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวบางครอบครัวซะอีก นอกจากนี้ เด็กที่เติบโตในครอบครัวที่มีความขัดแย้งสูงอาจประสบปัญหาในด้านความนับถือในตนเอง การสร้างและรักษาความสัมพันธ์ การจัดการอารมณ์ และการเชื่อใจคนอื่น

 

มีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าเด็กทุกวัยตั้งแต่วัยทารกจนถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้นได้รับผลกระทบจากวิธีที่พ่อแม่เลือกที่จะจัดการกับปัญหาชีวิตคู่ โดยผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเด็กเมื่อพวกเขาเติบโตท่ามกลางความขัดแย้งคือ

  • เกิดความไม่มั่นคงภายในจิตใจ การทะเลาะกัน คือ บ่อนทำลายความรู้สึกมั่นคงภายในใจของเด็ก ๆ เกี่ยวกับครอบครัวที่ต้องคอยกังวลถึงการทะเลาะกันจากปากเสียงที่ไม่อาจคาดเดาของทั้งพ่อและแม่
  • ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างพ่อ แม่ และลูก สถานการณ์ที่มีความขัดแย้งสูงสร้างความเครียดให้กับผู้ปกครองเช่นกัน ส่งผลให้พวกเขาไม่ได้ใช้เวลากับลูกเท่าที่ควร นอกจากนี้ คุณภาพของความสัมพันธ์อาจได้รับผลกระทบเนื่องจากอาจเป็นเรื่องยากสำหรับพ่อแม่ที่จะแสดงความอบอุ่นต่อลูกร่วมกันเนื่องจากปัญหาที่มี
  • สภาพแวดล้อมที่ตึงเครียดส่งผลต่อร่างกายและจิตใจ ความเครียดส่งผลต่อพัฒนาการในการเติบโตตามช่วงวัยของทั้งร่างกายและจิตใจ

ผลการศึกษาในปี 2013 ที่ตีพิมพ์ใน Child Development พบว่าความเครียดที่เกิดจากบ้านที่มีความขัดแย้งสูงทำให้ประสิทธิภาพในการคิดของเด็กลดลง นักวิจัยพบว่าเมื่อพ่อแม่ทะเลาะกันบ่อย ๆ เด็ก ๆ จะควบคุมความสนใจและอารมณ์ได้ยากขึ้น ความสามารถในการแก้ปัญหาก็ถูกลดทอนลงเช่นกันในขณะเดียวกัน การศึกษาอื่น ๆ พบว่าการใช้ชีวิตในครอบครัวที่มีความขัดแย้งสูงจะเพิ่มโอกาสให้ออกจากโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายและได้ผลการเรียนที่ต่ำ

 

การหย่าร้างกันก็อาจเป็นทางออกหนึ่งที่หลายคู่ตัดสินใจ

เนื่องจากทุกคนมีความสุขมากขึ้นในระยะยาว ทำให้พ่อและแม่อาจมีความสัมพันธ์ที่ดีกับลูก ๆ เพิ่มขึ้นในฐานะพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว เพราะหากพ่อแม่บางครอบครัวที่อยู่ในสภาพการแต่งงานที่อยู่ด้วยกันแต่ต้องทะเลาะกันทุกวันเด็กอาจเสี่ยงต่อการถูกทอดทิ้งเมื่อพ่อแม่หมกมุ่นอยู่กับความเครียดทางอารมณ์และปัญหาของตนเอง 

แน่นอนว่าการหย่าร้างย่อมส่งผลกระทบต่อเด็ก ๆ เช่นกัน แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้ปกครองสามารถหาทางเพื่อลดผลกระทบของการหย่าร้างที่มีต่อเด็กได้หรือไม่

แต่ในขณะเดียวกันความท้าทายของการหย่าร้าง คือ การร่วมกันประคับประคองในการเลี้ยงดูเด็ก ๆ เพื่อให้เขาเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ แน่นอนว่าการหย่าร้างย่อมส่งผลกระทบต่อเด็ก ๆ เช่นกัน แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้ปกครองสามารถหาทางเพื่อลดผลกระทบของการหย่าร้างที่มีต่อเด็กได้หรือไม่ รวมถึงวิธีการเลี้ยงดูที่ช่วยให้เด็กปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการหย่าร้างได้ การวิจัยพบว่าเด็กมีปัญหามากที่สุดในช่วงปีแรกหรือสองปีหลังจากการหย่าร้าง เด็กมักประสบกับความทุกข์ ความโกรธ ความวิตกกังวล และความหวาดระแวง

 

ผลกระทบจากการหย่าร้าง

การหย่าร้างสร้างความปั่นป่วนทางอารมณ์ให้กับทุกคนในครอบครัว สำหรับเด็กพวกเขาค่อนข้างกลัว สับสน และหงุดหงิดกับสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น

  • เด็กเล็ก ๆ มักจะไม่เข้าใจว่าทำไมพวกเขาจึงต้องไประหว่างบ้านสองหลัง พวกเขาอาจกังวลว่าถ้าพ่อแม่เลิกรักกันได้สักวันหนึ่ง พ่อแม่อาจจะเลิกรักพวกเขา
  • เด็กประถมอาจกังวลว่าการหย่าร้างเป็นความผิดของพวกเขา กลัวว่าอาจจะเป็นเพราะเขาเองที่ทำตัวไม่ดีหรือทำอะไรผิดไปจนทำให้พ่อแม่ต้องเลิกกัน
  • วัยรุ่นอาจค่อนข้างไม่พอใจกับการหย่าร้างและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น พวกเขาอาจตำหนิพ่อหรือแม่ที่ทำให้ชีวิตครอบครัวต้องจบลง

 

การหย่าร้างส่งผลให้เด็กขาดการติดต่อกับพ่อแม่คนใดคนหนึ่ง และส่วนใหญ่มักจะเป็นพ่อ ส่งผลให้ความผูกพันระหว่างพ่อกับลูกลดลง จากรายงานที่ตีพิมพ์ในปี 2014 นักวิจัยพบว่าเด็กจำนวนมากรู้สึกใกล้ชิดกับพ่อน้อยลงหลังการหย่าร้าง นอกจากนี้การหย่าร้างยังส่งผลต่อความสัมพันธ์ของเด็กกับผู้ปกครองซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นแม่ที่เป็นผู้ดูแลหลักมีระดับความเครียดที่สูงขึ้นเมื่อต้องดูแลลูกเพียงลำพัง สำหรับเด็กบางคน การแยกจากพ่อแม่ไม่ใช่ส่วนที่ยากที่สุด ในทางกลับกัน ความเครียดที่ตามมาต่างหากที่เป็นเรื่องที่ยากที่สุดเช่น การเปลี่ยนโรงเรียน การย้ายบ้านใหม่ การเปลี่ยนเพื่อนใหม่หรือการอยู่กับพ่อหรือแม่ที่กำลังสับสนทางอารมณ์ เด็กอาจปรับตัวกับการหย่าร้างได้ภายในไม่กี่เดือน แต่จากการศึกษาพบว่าอัตราภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวลนั้นสูงขึ้นในเด็กที่มาจากพ่อแม่ที่หย่าร้างกันและอาจส่งผลต่อพฤติกรรมที่หุนหันพลันแล่นขึ้น การเรียนที่แย่ลง แต่ก็ไม่ใช่ว่าเด็กทุกคนที่จะเกิดปัญหากับการหย่าร้าง บางคนไม่มีปัญหาด้านการเรียนและยังประสบความสำเร็จในชีวิต แต่อย่างไรก็ตามการหย่าร้างก็อาจส่งผลต่อบาดแผลทางอารมณ์อย่างลึกซึ้งและยาวนาน ซึ่งอาจจะทำให้มุมมองต่อโลกและความสัมพ้นธ์ของพวกเขาเปลี่ยนไปตลอดชีวิต

ทั้งหมดนี้ไม่ว่าความสัมพันธ์ภายในครอบครัวจะเป็นแบบไหน การลงทุนทางอารมณ์มีส่วนสำคัญในการสร้างสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นในครอบครัว การสื่อสารเชิงบวก ความอบอุ่นของพ่อแม่ อาจช่วยให้เด็กปรับตัวกับปัญหาต่าง ๆ ได้ดีขึ้นแม้กระทั่งครอบครัวที่ต้องหย่าร้างกันก็จะทำให้เขารู้สึกว่าได้รับความรัก ปลอดภัย และยังช่วยลดความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพจิต และทำให้เด็ก ๆ ได้พัฒนาความนับถือตนเองที่สูงขึ้นและผลการเรียนที่ดีขึ้นอีกด้วย

 

 

อ้างอิง
https://childandfamilyblog.com/divorce-children-emotional-security/
https://www.verywellfamily.com/psychological-effects-of-divorce-on-kids-4140170
https://www.verywellfamily.com/should-you-stay-together-for-kids-1270800
https://www.verywellfamily.com/how-parents-fighting-affects-children-s-mental-health-4158375

 

Tag

Share

Tag

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS