การตั้งคำถามน้อยลงพอเราโตขึ้น คนเราฉลาดขึ้นหรืออะไร?

A A
May 8, 2022
May 8, 2022
A A
  • คำถามมีพลังจะเปลี่ยนแปลงโลก มนุษย์สามารถสร้างนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ได้จากการเริ่มตั้งคำถาม
  • เด็ก คือ สิ่งมีชีวิตที่ขี้สงสัยที่สุดในโลกมนุษย์เกิดมาพร้อมกับความสงสัย และเป็นนักตั้งคำถามมาตั้งแต่เกิด หากเรานับรวมเอาคำถามทั้งหมดที่เด็ก ๆ เคยตั้งคำถามตั้งแต่พวกเขาอายุ 2 – 5 ปี จะมีคำถามมากถึง 40,000 คำถาม
  • การเรียนในโรงเรียน ยิ่งเวลาผ่านไปมากเท่าไร เด็ก ๆ จะเริ่มตั้งคำถามน้อยลงเท่านั้น เพราะต้องให้เวลากับการท่องจำบทเรียน เตรียมสอบ การจำคำตอบที่ถูกเพราะมันมีผลดีต่อเกรดและทำให้พวกเขาทิ้งความสงสัยและหยุดตั้งคำถามเพราะโรงเรียนก็มักจะให้รางวัลกับนักเรียนที่จำได้ดี แต่ไม่เคยมีรางวัลสำหรับนักเรียนที่ตั้งคำถามที่ดี

คำถามที่ดี จะมีพลังสร้างแรงบันดาลใจในการหาคำตอบที่ดีได้ แล้วต่อยอดไปเป็นเรื่องดี ๆ ได้อีกมากมาย

แล้วถ้ามันสำคัญกับเราขนาดนั้น ทำไมเราถึงจะไม่ลองพยายามตั้งคำถามที่ดีกันในโรงเรียน ที่บ้าน หรือที่ทำงานกันล่ะ?

เชื่อไหมว่า คำถาม มีพลัง?

คำถาม สามารถทำให้มนุษย์เราคิดค้นนวัตกรรม จนต่อยอดบินออกไปนอกโลกได้

คำถาม สามารถสร้างงาน สร้างอาชีพ ทำให้คนหนึ่งคนมีกิน มีใช้ อย่างสุขสบาย

คำถาม ทำให้คนที่นอนอยู่ใต้ต้นไม้ แล้วมีแอปเปิ้ลหล่นใส่หัว กลายเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ ผู้คิดค้นทฤษฎีแรงโน้มถ่วงได้

คำถามที่ดี จะมีพลังสร้างแรงบันดาลใจในการหาคำตอบที่ดีได้ แล้วต่อยอดไปเป็นเรื่องดี ๆ ได้อีกมากมาย

แล้วถ้ามันสำคัญกับเราขนาดนั้น ทำไมเราถึงจะไม่ลองพยายามตั้งคำถามที่ดีกันในโรงเรียน ที่บ้าน หรือที่ทำงานกันล่ะ?

“ชีวิตที่ไม่เคยตั้งคำถาม ช่างปราศจากคุณค่า”

โสกราตีส ปรมาจารย์ของการตั้งคำถาม

โสกราตีส นักปรัชญาคนสำคัญคนหนึ่งของกรีก แล้วยังเป็นอาจารย์ที่มีลูกศิษย์ลูกหา และผู้ติดตามมากมาย เขาชอบสนทนากับนักปรัชญาคนอื่นด้วยวิธีการตั้งคำถาม หรือการซักถามที่ใช้หลักของเหตุและผล หรือที่เรียกกันว่า “ตรรกะ” อยู่เสมอ โดยเขาจะเริ่มต้นบทสนทนาด้วยเรื่องธรรมดา เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่สำคัญอะไร จากนั้น เขาถึงจะป้อนคำถามที่ซ่อนความหมายที่ลึกซึ้งเอาไว้ เพื่อให้คู่สนทนาได้ฉุกคิด และพยายามหาคำตอบ เป้าหมายของโสกราตีสก็คือ การไปสู่จุดมุ่งหมายของการสนทนาว่า ทำอย่างไรจึงจะได้ผลดี ถูกต้อง และน่าเชื่อถือ ซึ่งโสกราตีสจะใช้วิธีแบบนี้ในการแสวงหาความจริง หรือคำตอบของสิ่งต่าง ๆ 

 

เวลาที่โสกราตีสสอนหนังสือ เขาจะใช้วิธีตั้งคำถาม มากกว่าการพยายามถ่ายทอดความจริง เช่น ความดีคืออะไร ความเลวคืออะไร ประชาธิปไตยคืออะไร ความยุติธรรมคืออะไร พอนักเรียนตอนกลับเขาก็จะพยายามตั้งคำถามกลับไปอีก เป็นการโต้ตอบกันไปมา ซึ่งจะทำให้นักเรียนได้รับความรู้จากการสนทนาแบบโต้ตอบนั้น

ประโยคเด็ดก่อนที่โสกราตีสเคยพูดไว้ ก่อนที่ตัวเค้าจะจากไปเพราะการตั้งคำถามมากเกินไปหน่อยก็คือ 

“ชีวิตที่ไม่เคยตั้งคำถาม ช่างปราศจากคุณค่า”

 

คำถามที่ดี คือ คำถามทำไม? และอย่างไร?

มาถึงตอนนี้คุณครู หรือผู้ปกครองหลายคนก็พอจะรู้อยู่แล้วว่า การเรียนการสอนที่ใช้คำถามเป็นตัวตั้ง เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนกระหายที่จะอยากรู้ แล้วพยายามที่จะค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อได้คำตอบมานั้น เป็นวิธีที่ดีและกำลังเป็นที่นิยมเอามาก ๆ แต่ก็ยังคงมีผู้ปกครองหรือคุณครูอีกหลายคนเช่นกัน ที่ไม่รู้ว่า คำถามแบบไหนกันนะ ที่เรียกว่าเป็น “คำถามที่ดี”

คำถามที่ดี ไม่ใช่คำถามที่ยาก
คำถามที่ดี ไม่จำเป็นต้องมีศัพท์เทคนิคสวยหรู
และคำถามที่ดี ก็ไม่จำเป็นต้องพยายามลองภูมิใคร

แต่นิยามของคำถามที่ดี น่าจะต้องเป็นคำถามที่สามารถทำให้เราได้ใช้ความสามารถในการพยายามค้นหาคำตอบ และเปิดโอกาสให้ผู้ตอบคำถามได้แสดงความคิดเห็นได้ ได้วิเคราะห์ สังเคราะห์ แล้วก็ต่อยอดประเด็นไปได้อีก นั่นก็คือ คำถามประเภท Why ที่ถามว่าทำไม และคำถามประเภท How ที่ถามว่าอย่างไร นั่นเอง

และแม้ว่าคำถามจะเป็นตัวจุดประกายที่ดี แต่ถ้าเราลองสังเกตุกันให้มากพอ เราก็จะพบว่า ยิ่งเราโตขึ้นเท่าไหร่ เรากลับยิ่งตั้งคำถามต่าง ๆ น้อยลง และเผลอ ๆ อาจยอมจำนนให้กับสถานการณ์ตรงหน้า โดยคิดว่า “มันก็เป็นของมันอย่างนั้นมาตั้งนานแล้ว” หรือ “เค้าก็ทำแบบนั้นกันมาไม่เห็นมีใครจะเคยพูดอะไร” อะไรนะที่ทำให้เราเลิกตั้งคำถาม แล้วถ้าเด็ก ๆ ของเราเป็นแบบนั้น มันจะส่งผลต่อการเรียนรู้ของพวกเขายังไงบ้าง

 

เด็ก คือ สิ่งมีชีวิตที่ขี้สงสัยที่สุดในโลก

มีงานวิจัยจาก Harvard University โดยนักจิตวิทยา Paul Harris บอกว่า มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความสงสัย และเป็นนักตั้งคำถามมาตั้งแต่เกิด หากเรานับรวมเอาคำถามทั้งหมดที่เด็ก ๆ เคยตั้งคำถามตั้งแต่พวกเขาอายุ 2 – 5 ปี จะมีคำถามมากถึง 40,000 คำถาม

การศึกษาในประเทศอังกฤษ พบว่า ในแต่ละวันเหล่าบรรดาแม่ ๆ จะต้องคอยตอบคำถามให้กับลูกผู้ซึ่งเป็นเจ้าหนูจำไมเกือบ 300 คำถาม และยังบอกอีกว่า เด็กผู้หญิงอายุ 4 ขวบ ก็เป็นสิ่งมีชีวิตที่ขี้สงสัยมากที่สุดอีกด้วย โดยในแต่ละวันจะมีคำถามได้มากที่สุดถึง 390 คำถาม จนดูราวกับว่า อาชีพแม่จะเป็นอีกอาชีพที่ต้องทำงานหนักมากจากเรื่องนี้

เท่านั้น… ยังไม่พอ

Brandy Frazier นักวิจัยจาก University of Michigan พบว่า เด็ก ๆ ไม่ใช่แค่ถาม แต่ยังใส่ใจกับคำตอบที่ได้รับด้วย และถ้ายังไม่พอใจกับคำตอบที่ได้รับ เด็ก ๆ ก็จะถามต่อไปว่า “ทำไม?” “ทำไม?” และ “ทำไม?”

 

ถ้าทุกคนยังจำกันได้สมัยเด็ก ๆ เราเองก็เป็นหนึ่งในคนที่ชอบสงสัย แล้วหลายคนก็ไม่เคยที่จะหยุดถาม ซึ่งคำถามของเด็ก ๆ ก็จะเป็นเรื่องธรรมดา ๆ ที่อยู่รอบตัวของเรา อย่างเช่น

โรงเรียนก็มักจะให้รางวัลกับนักเรียนที่จำได้ดี แต่ไม่เคยมีรางวัลสำหรับนักเรียนที่ตั้งคำถามที่ดี

การตั้งคำถาม คือ การจัดระเบียบความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เราไม่รู้ 

Steve Jobs พูดไว้ในบทสัมภาษณ์เมื่อปี 1995 ว่า เค้าให้ความสำคัญของการตั้งคำถาม ตลอดเวลาหลายปีที่เค้าทำธุรกิจ สิ่งหนึ่งที่เค้าพบก็คือ เค้าจะถาม ทำไม? ตลอดเวลา ทำไมเราถึงทำแบบนี้? แล้วเค้าก็จะได้รับคำตอบกลับมาว่า นี่เป็นวิธีที่เราทำกันมา สิ่งที่ Steve Jobs พบก็คือ ไม่มีใครรู้จริง ๆ ว่า ทำไมต้องทำแบบนี้ ไม่มีใครที่จะคิดในเชิงลึกเกี่ยวกับงานที่ตัวเองทำ

ประเด็นของเรื่องมันก็อยู่ที่ตรงนี้ แม้ว่าคนดังระดับโลกอย่าง Steve Jobs หรือนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่อย่างโสกราตีสจะให้ความสำคัญกับการตั้งคำถามเอามาก ๆ แต่จะเห็นได้ว่า ยิ่งเราโตขึ้น เรายิ่งตั้งคำถามน้อยลงเท่านั้น

งานวิจัยพบว่า การเรียนในโรงเรียน ยิ่งเวลาผ่านไปมากเท่าไร ก็จะทำให้ความตั้งใจลดน้อยลง ทำให้นักเรียนสนใจในบทเรียนน้อยลง เด็ก ๆ ชั้นประถมจะตั้งใจและสนใจเรียนมาก แต่พอเวลาผ่านไป เด็ก ๆ เลื่อนชั้นขึ้นไปอยู่ในชั้นมัธยม ความสนใจในการเรียนก็แทบจะหมดลงเลย

ความสนใจในการเรียนนี้ อาจจะเกี่ยวข้องกับการตั้งคำถาม เพราะยิ่งเวลาผ่านไปเด็ก ๆ ชั้นโต ๆ ก็จะถามน้อยลง แต่ไปให้ความสนใจและความสำคัญกับการท่องจำบทเรียน เตรียมสอบ การจำคำตอบที่ถูกต้องแทนการทำความเข้าใจ

การมีความจำได้ดี มีผลดีต่อเกรดของเด็ก ๆ แต่น่าเสียดายที่มันทำให้เราทิ้งความสงสัยและหยุดตั้งคำถาม

ถ้าเราให้ความสำคัญกับมาตรฐาน การทดสอบ หรือประสิทธิภาพมากจนเกินไป มันก็จะไม่เหลือที่ว่างให้กับการเรียนรู้ในเชิงลึก ความรู้ที่มันมากกว่าในบทเรียนเพื่อท่องจำแล้วเอาไปสอบ

โรงเรียนก็มักจะให้รางวัลกับนักเรียนที่จำได้ดี แต่ไม่เคยมีรางวัลสำหรับนักเรียนที่ตั้งคำถามที่ดี เรื่องนี้ ถ้าเราจะกล่าวโทษใครสักคน เราก็ต้องน่าจะต้องตั้งคำถามกับตัวเองว่าเราให้ความสำคัญกับความรู้ และรางวัลที่เด็ก ๆ จะได้รับจากการตอบคำถามที่ถูกต้อง หรือเราให้ความสำคัญกับการตั้งคำถามอย่างสร้างสรรค์มากกว่ากัน

ในที่ทำงานเองก็เช่นกัน หลาย ๆ องค์กรให้ความสำคัญกับผลงานของพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญในการทำงาน ตำแหน่ง หน้าที่ความรับผิดชอบ โดยไม่เปิดช่องให้กับพนักงานที่ชอบตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับระเบียบวิธีการทำงาน หรือขั้นตอนการทำงาน แม้ว่ามันอาจจะกลายเป็นคำถามที่สามารถจุดประกายไอเดียใหม่ ๆ และมีความเป็นไปได้ที่จะยกระดับความคิดของคนในองค์กร และเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

มนุษย์เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่พิเศษ เราสามารถตั้งคำถามได้ เมื่อเราถาม มันจะทำให้เรารู้ว่า อะไรคือสิ่งที่เราไม่รู้ ซึ่งถือเป็นการเปิดโอกาสให้ตัวเองได้ปิดช่องว่างของความไม่รู้นั้น ซึ่งดูเหมือนจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้เราได้ค้นพบตัวเองว่า อะไรคือสิ่งที่เราต้องการที่สุดจริง ๆ ในชีวิตนี้

 

อ้างอิง
https://www.nicetofit.com/

 

 

Share

Authors

Authors

RELATED POSTS